บะหมี่

​“#บะหมี่จีน“…ทำจากแป้งสาลีชนิดอเนกประสงค์ที่มีโปรตีนประมาณ 10-12% ในขณะที่ “#บะหมี่ญี่ปุ่น“…ทำจากแป้งสาลีโปรตีนต่ำ.

#ไม่อ้วนเอาเท่าไร!

นิสัยน่ารัก

“…นิสัยน่ารักนี้เป็นสิ่งที่สําคัญสำหรับทุกคน เพราะว่างานที่จะทำ หรืองานที่กำลังทำ ทำอยู่คนเดียวไม่ได้ จะต้องร่วมกันทำ  ถ้ามีความน่ารักคือมีอัธยาศัยดี มีความโอบอ้อมอารีกัน ทําให้งานนั้นง่ายขึ้นมาก เพราะว่าผู้ที่ร่วมงานก็ย่อมฟังผู้ที่มีอัธยาศัยอ่อนโยน และผู้ที่มีอัธยาศัยที่น่าคบ…”.

พระราชดํารัส…#พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯบรมนาถบพิตร พระราชทานแก่คณะกรรมการบริหารทุนพระราชทาน คณะครูและนักเรียนโรงเรียนราชวินิต  ณ พระตําหนักจิตรลดารโหฐาน วันอังคารที่ ๑๘ มีนาคม ๒๕๒๓

พระบรมราโชวาท

“…ถ้าทำงานด้วยความตั้งใจที่จะให้เกิดผลอันยิ่งใหญ่ คือความเป็นปึกแผ่นของประเทศชาติ ด้วยความสุจริตและด้วยความรู้ความสามารถด้วยจริงใจ ไม่นึกถึงเงินทองหรือนึกถึงผลประโยชน์ใดๆ ก็เป็นการทำหน้าที่โดยตรงและได้ทำหน้าที่โดยเต็มที่…”

#พระบรมราโชวาท…#พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯบรมนาถบพิตร พระราชทานแก่ศึกษาธิการจังหวัดทั่วประเทศ  ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต เมื่อวันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๑๑.

เส้นศูนย์สูตร

​#เส้นศูนย์สูตร ของโลกมีความยาวประมาณ 40,075 กิโลเมตร ลากผ่าน 13 ประเทศ และเป็นเส้นที่แบ่งโลกออกเป็นสองซีกเท่าๆ กัน.

#Equater

หมาไม่เห่า

​#บาเซนจี…เป็นสุนัขที่มีลักษณะพิเศษ คือ #ไม่มีกลิ่นตัว และ #ไม่เห่า  จัดเป็นสุนัขชนิดเดียวในโลกที่ไม่เห่า

สุนัขพันธุ์บาเซนจีที่คนไทยคุ้นเคย คือ…#คุณทองแดง สุวรรณชาด…สุนัขทรงเลี้ยงในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯบรมนาถบพิตร.

เรือโดยสารที่ใหญ่ที่สุดในโลก

​”MS Allure of the Seas” [เอ็มเอส อัลลัวร์ออฟเดอะซีส์]…เรือสำราญของบริษัทรอยัลแคริบเบียนอินเตอร์เนชั่นแนล นับเป็น…#เรือโดยสารที่ใหญ่ที่สุดในโลก (2016 AD).

ไว้อาลัย…บิดาแห่งพินอิน

​#ไว้อาล้ยบิดาแห่งพินอิน

Zhou Youguang“ ผู้ให้กำเนิดระบบ “พินอิน” อันเป็นระบบสะกดและออกเสียงคำในภาษาจีนด้วยอักษรละติน ซึ่งใช้อย่างแพร่หลายไปทั่วโลก ได้เสียชีวิตลงแล้ว สิริอายุ ๑๑๑ ปี.
#พินอิน / #ฮั่นยฺหวี่พินอิน (จีนตัวย่อ: 汉语拼音; จีนตัวเต็ม: 漢語拼音; พินอิน: Hànyǔ Pīnyīn; จู้อิน : ㄏㄢˋ ㄩˇ ㄆㄧㄣ ㄧㄣ แปลว่า #สะกดเสียงภาษาจีน) คือระบบในการถอดเสียงภาษาจีนมาตรฐานด้วยตัวอักษรละติน ความหมายของพินอินคือ “#การรวมเสียงเข้าด้วยกัน” (โดยนัยคือ #การเขียนแบบสัทศาสตร์ การสะกด การถอดเสียง หรือการทับศัพท์)

พินอินเริ่มต้นใน พ.ศ.๒๕๐๑ และเริ่มใช้กันใน พ.ศ.๒๕๒๒ โดยรัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีนกำหนดให้ใช้แทนที่ระบบการถอดเสียงแบบเก่า เช่น ระบบเวดและไจลส์ และระบบจู้อินเป็นต้น  นอกจากนี้ ยังมีการออกแบบระบบอื่นๆ สำหรับนำไปใช้กับภาษาพูดของจีนในถิ่นต่างๆ และภาษาของชนกลุ่มน้อยที่ไม่ใช้ #ภาษาฮั่น ในสาธารณรัฐประชาชนจีนด้วย

นับแต่นั้นมา พินอินได้เป็นที่ยอมรับจากสถาบันนานาชาติหลายแห่ง รวมทั้งรัฐบาลสิงคโปร์ หอสมุดรัฐสภาอเมริกัน และสมาคมหอสมุดอเมริกัน โดยถือว่าเป็นระบบการถอดเสียงที่เหมาะสมสำหรับภาษาจีนกลาง ครั้น พ.ศ.๒๕๒๒ #องค์การมาตรฐานนานาชาติ (#ISO) ได้ยอมรับ “พินอิน“ เป็นระบบมาตรฐาน (ISO 7098) ในการถ่ายทอดเสียงภาษาจีนปัจจุบันด้วยอักษรโรมัน (the standard romanization for modern Chinese)

สิ่งสำคัญที่ต้องระลึกไว้ก็คือ #พินอินเป็นการทับศัพท์ด้วยอักษรโรมัน (#Romanization) มิใช่…#การถอดเสียงแบบภาษาอังกฤษ (#Anglicization) นั่นคือ การกำหนดให้ใช้ตัวอักษรตัวหนึ่ง สำหรับแทนเสียงหนึ่งๆ ในภาษาจีนไว้อย่างตายตัว เช่น b และ d ในระบบพินอิน เป็นเสียง “ป” และ “ต” ตามลำดับ ซึ่งแตกต่างจากระบบการออกเสียงส่วนใหญ่ ไม่ว่าอังกฤษ ฝรั่งเศส หรือภาษาอื่นในยุโรป ขณะที่อักษร j หรือ q มีเสียงไม่ตรงกับในภาษาอังกฤษเลย กล่าวโดยสรุปคือ พินอินมุ่งที่จะใช้อักษรโรมันเพื่อแทนเสียงใดเสียงหนึ่งโดยเฉพาะ เพื่อความสะดวกในการเขียน มิได้ยืมเสียงจากระบบของอักษรโรมันมาใช้ การใช้ระบบนี้นอกจากทำให้ชาวต่างชาติเขียนอ่านภาษาจีนได้สะดวกแล้ว ยังสามารถใช้กับคอมพิวเตอร์ได้สะดวกยิ่งขึ้นด้วย

ดังนั้น การถอดเสียงภาษาจีนที่เขียนด้วยอักษรโรมันในระบบพินอินเป็นอักษรไทย โปรดสังเกตว่า บางหน่วยเสียงในภาษาจีนไม่มีหน่วยเสียงที่ตรงกันในภาษาไทย จึงต้องอนุโลมใช้อักษรที่ใกล้เคียง ในที่นี้จึงมีอักษรไทยบางตัว ที่ต้องใช้แทนหน่วยเสียงในภาษาจีนมากกว่าหนึ่งหน่วยเสียง ทั้งนี้เพื่อเป็น “เกณฑ์อย่างคร่าวๆ” สำหรับการเขียนคำทับศัพท์ภาษาจีน.

#RIP #ZhouYouguang #pīnyīn

ม็อธผมทอง

​นักชีววิทยาชาวแคนาดาตั้งชื่อผีเสื้อกลางคืน (ม็อธ/Moth) สายพันธุ์ที่เพิ่งค้นพบใหม่ว่า “Neopalpa Donaldtrumpi” ตามชื่อประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาคนที่ 45 ที่เพิ่งสาบานตนเข้ารับตำแหน่งนามว่า “โดนัลด์ ทรัมพ์

ม็อธสายพันธุ์นี้มีขนาดเล็กมาก เป็นหนึ่งในตระกูลผีเสื้อกลางคืน “Twirler Moth” ที่มีอยู่ถึงหนึ่งหมื่นสายพันธุ์ทั่วโลก นิสัยเด่นคือมักบินเป็นวงกลมเมื่อถูกรบกวน

ถิ่นที่อยู่ของ “Neopalpa Donaldtrumpi” เริ่มตั้งแต่รัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา ลงไปจนถึงจังหวัดบาฮาในประเทศเม็กซิโก  กล่าวคือม็อธสายพันธุ์นี้มีถิ่นที่อยู่อาศัยคาบเกี่ยวระหว่างสองประเทศ หากประธานาธิปดีโดนัลด์ ทรัมพ์ จะสร้างกำแพงกั้นชายแดนจริงๆ ตามที่เคยพูดไว้ กำแพงที่ว่าจะกั้นกลางถิ่นที่อยู่ของม็อธสายพันธุ์นี้ไปด้วย

จุดเด่นของม็อธสายพันธุ์นี้คือ ลักษณะที่แลดูคล้าย “ผมทอง” ซึ่งโดยแท้จริงเป็นกลุ่มขนบนหัวสีเหลืองอ่อน คล้ายคลึงกับทรงผมเอกลักษณ์ของประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาคนล่าสุด

ผู้ค้นพบ “#ม็อธผมทอง“ คือนักชีววิทยาชาวแคนาดาชื่อ “Vazrick Nazari“ ได้ชี้แจงว่าการตั้งชื่อตามชื่อบุคคลสำคัญจะช่วยเพิ่มความสนใจ ตลอดจนอาจสร้างความตระหนักให้ผู้คนหันกลับมามองและช่วยกันอนุรักษ์ม็อธสายพันธุ์นี้ให้ดำรงอยู่กับถิ่นเดิมไปได้ตราบนาน.

สวัสดี

​#สวัสดี

“#คุณชายถนัดศรี“…หม่อมราชวงศ์ถนัดศรี สวัสดิวัตน์ เล่าไว้ในรายการวิทยุ “#ครอบจักรวาล“ เมื่อปี ๒๕๒๓  ความว่า…

เมื่อแรกมีคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ใหม่ๆ  เหล่านิสิตนิสิตามักทักทายกันด้วยถ้อยคำทักทายในภาษาอังกฤษ เช่น Good morning…Good afternoon…Good evening…Goodnight…เช่นนี้

เมื่อ อำมาตย์เอก #พระยาอุปกิตศิลปสาร (นิ่ม กาญจนาชีวะ เปรียญ) หรือ อ.น.ก./อนึก คำชูชีพ (ผู้อุทิศร่างเป็น #อาจารย์ใหญ่คนแรกของประเทศไทย) ซึ่งนอกจากรับราชการในกรมราชบัณฑิตแล้ว ยังเป็นอาจารย์พิเศษในคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ด้วย “#เจ้าคุณอาจารย์“ ได้ยินเช่นนั้นเกิดปริวิตกว่า คนไทยผู้มีการศึกษาจะพากันพูดภาษาต่างประเทศกันเสียหมด กลายเป็นสื่อสารข้ามชั้นไม่เข้าใจ อีกทั้งไม่สอดคล้องกับขนบธรรมเนียมไทย ที่ไม่ทักทายกันตามช่วงเวลาอย่างชาวตะวันตกที่ใช้นาฬิกามาก่อนไทยเรา เพราะอาศัยสังเกตเวลาจากแนวตะวันอย่างไทยเราไม่ได้  ค่ำแล้วตะวันยังส่องอยู่เลย  หากแต่คนไทยมักทักทายถามไถ่ดันถึงสารทุกข์สุกดิบ เช่น “สบายดีไหม?“ หรือ “กินข้าวหรือยัง?“ ซึ่งอาจจะวุ่นวายเรื่องคำตอบหรือละลาบละล้วงเรื่องส่วนตัวเกินไป ดูไม่งามตามสมัย

“เจ้าคุณอาจารย์“ ตริตรองอยู่หลายวัน จึงได้คำทักทายอย่างงดงามเหมาะแก่ทุกกาลเทศะ มอบแก่นิสิตคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำออกใช้ให้เผยแพร่กันในหมู่นิสิตจนทั่วมหาวิทยาลัย ด้วยการทักทายกันทุกคราที่พบเจอกันด้วยคำว่า “สวัสดี“  ความแปลกใหม่ดังว่าแพร่หลายออกไป โดยเฉพาะเมื่อบรรดานิสิตสำเร็จการศึกษาออกไปรับราชการเป็นส่วนใหญ่ ได้นำคำทักทายที่ท่าน “เจ้าคุณอาจารย์“ ประสิทธิ์ประสาทไว้ให้ จนแพร่หลายยิ่งขึ้นไปอีก  ประมาณว่าอยู่ในช่วงพุทธศักราช ๒๔๗๖

อนึ่ง  “เจ้าคุณอาจารย์“ ได้นำคำว่า “สวสฺติ“ ในภาษาสันสกฤต ซึ่งตรงกับในภาษาบาลีว่า “โสตถิ“ ซึ่งมีความหมายว่า “ความดี, ความงาม, ความเจริญรุ่งเรือง; ความปลอดภัย.“ อันนับว่าเป็นสิริมงคลอย่างยิ่ง แต่แก้เสียงท้ายจาก “อิ“ เป็น “อี“ ให้เสียงยาวขึ้นเป็น “สวัสดี“ [สะ…หฺวัด…ดี] ให้ถูกลิ้นรื่นหูคนไทยมากขึ้น ออกเสียงง่ายขึ้น จะได้ไม่เป็นอุปสรรคในการสร้างความนิยม

ครั้นเมื่อวันที่ ๒๒ มกราคม ๒๔๘๖  จอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวคำว่า “สวัสดี“ อย่างเป็นทางการเป็นครั้งแรกในการปราศรัยทางสถานีวิทยุกระจายเสียง และภายหลังได้มีประกาศให้ใช้คำว่า “สวัสดี“ นี้เป็นคำทักทายอย่างเป็นทางการสืบไป

นอกจากนี้ ในครั้งนั้นยังได้คิดปรุงศัพท์ให้ทักทายได้คล้ายชาวตะวันตกเสียอีกว่า

      Good morning…อรุณสวัสดิ์

      Good afternoon…ทิวาสวัสดิ์

      Good evening…สายัณห์สวัสดิ์

      Goodnight…ราตรีสวัสดิ์

หากแต่ไม่ได้รับความนิยมมากเท่ากับคำว่า “สวัสดี“ ที่มีมาก่อน

คนไทยจึงใช้คำว่า “สวัสดี“ เป็นคำทักทายก้นอย่างเป็นทางการนับแต่นั้นมา.