#เฮลิคอปเตอร์ลำแรกของโลก พัฒนาขึ้นเมื่อ พ.ศ.2482 โดยชาวอเมริกันเชื้อสายรัสเซียชื่อ “อิกอร์ ไซคอสกี้“ (Igor Sikorsky) เรียกชื่ออากาศยานชนิดใหม่ว่า “VS-300“.

รางวัลปัทมภูษัณ

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๓๐ มีนาคม ๒๕๖๐  #สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี  เสด็จไปทรงรับรางวัลปัทมภูษัณ (Padma Bhushan) ประจำปี ๒๕๖๐ จากประธานาธิบดีสาธารณรัฐอินเดีย  ณ ราษฏรปติภาวัน (ทำเนียบประธานาธิบดี) กรุงนิวเดลี สาธารณรัฐอินเดีย


ซึ่งรัฐบาลสาธารณรัฐอินเดียขอพระราชทานทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย ในฐานะที่ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจในด้านวรรณกรรมและการศึกษา อันเป็นคุณประโยชน์อย่างยิ่งแก่ประเทศและประชาชน


รางวัล “#ปัทมะ“ (#Padma) เป็นรางวัลเกียรติยศฝ่ายพลเรือนที่รัฐบาลสาธารณรัฐอินเดียมอบแก่ผู้กระทำคุณประโยชน์ต่างๆ มีสามประเภท คือ ปัทมวิภูษัณ (Padma Vibhushan), ปัทมภูษัณ (Padma Bhushan) และปัทมศรี (Padma Shri)  ในครั้งนี้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เป็นชาวต่างประเทศเพียงผู้เดียวที่ได้รับการพิจารณาให้ได้รับรางวัลดังกล่าว.

#รางวัลปัทมะ

#รางวัลปัทมวิภูษัณ #รางวัลปัทมภูษัณ #รางวัลปัทมศรี

จำนวนราษฎร ๒๕๕๙

ประกาศสำนักทะเบียนกลาง

เรื่อง  #จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร

ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๙  รวมทั้งสิ้น ๖๕,๙๓๑,๕๕๐ คน เป็นชาย ๓๑,๙๒๓,๗๘๖ (๔๓๔,๐๒๒) คน เป็นหญิง ๓๓,๑๗๕,๑๑๙ (๔๐๐,๖๒๓) คน

* จำนวนในวงเล็บคือจำนวนราษฎรที่ไม่ได้สัญชาติ

ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา (ฉบับประกาศและงานทั่วไป) เล่ม ๑๓๔ ตอนพิเศษ ๙๒ ง หน้า ๒๖-๒๘ ลงวันที่ ๓๐ มีนาคม ๒๕๖๐.

http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/E/092/26.PDF

มัณฑนา โมรากุล

​“มัณฑนา โมรากุล“ (ปัจจุบันคือ มัณฑนา เกียรติวงศ์)  เกิดเมื่อวันที่ ๓๐ มีนาคม ๒๔๖๔ ปัจจุบันอายุ ๙๕ ปี #ศิลปินแห่งชาติ๒๕๕๒ #นักร้องหญิงคนแรกของวงดนตรีกรมโฆษณาการ และ #นักร้องรุ่นแรกของวงสุนทราภรณ์

มัณฑนา โมรากุล“ เกิดที่ #วังสวนสุพรรณ ที่พำนักของ #เจ้าคุณพระประยูรวงศ์ อำเภอดุสิต จังหวัดพระนคร (เดิมเป็นที่ประทับในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีวิไลยลักษณ์ กรมขุนสุพรรณภาควดี) เป็นบุตรีคนที่ ๔ ในจำนวน ๖ คนของ #หลวงสิริราชทรัพย์ (ชัย โมรากุล) (๒๔๓๙-๒๕๐๔) ข้าราชการกรมบัญชีกลางเชื้อสายจีน กับนางผัน โมรากุล (สกุลเดิม เครือสุวรรณ) ซึ่งเป็นครูละครในวังสวนสุพรรณ

ชื่อของมัณฑนามีการเปลี่ยนแปลงหลายครั้ง ครั้งแรกเมื่อเกิด เป็นเวลาที่บิดาได้เลื่อนบรรดาศักดิ์จากขุนขึ้นเป็นหลวง เจ้าคุณพระประยูรวงศ์มีเมตตาตั้งชื่อให้ว่า “เจริญ“  ในช่วงหนึ่งได้มีโอกาสเล่นละครร่วมกับ “#คณะบรรทมสินธุ์“ ของ #พระยาอนิรุทธเทวา (หม่อมหลวงฟื้น พึ่งบุญ) ท่านจึงให้ชื่อสำหรับใช้เล่นละครว่า “แสงจำเริญ“ ต่อมาได้ไปฝึกการขับร้องเพลงกับ ครูสกนธ์ มิตรานนท์ (พ.ศ.๒๔๘๒) จึงเปลี่ยนให้ชื่อเป็น “จุรี“ และครั้งหลังสุด จอมพลแปลก พิบูลสงคราม ได้เปลี่ยนชื่อให้เป็น “มัณฑนา“ (พ.ศ.๒๔๘๕) และใช้สืบมาจนถึงปัจจุบัน

ได้ฝึกร้องเพลงครั้งแรกกับมิสแมคแคน ที่ในโบสถ์พระคริสต์ จังหวัดนครศรีธรรมราช และเริ่มหัดร้องเพลงไทยเดิมกับครูเจอ บุรานนท์ (มารดาของ “ป้าทอง“ สุลาลีวัลย์ สุวรรณทัต) ที่ในวังสวนสุพรรณ ภายหลังเกิดแรงบันดาลใจจากการขับร้องเพลงไทยสากลของ “จำรัส สุวคนธ์“ ประกอบกับมีความชื่นชอบในการขับร้องเพลงไทยสากลอยู่แล้ว จึงได้ฝึกหัดขับร้องเพลงไทยสากลอย่างจริงจัง จาก ครูสกนธ์ มิตรานนท์, ครูเวส สุนทรจามร และ ครูสริ ยงยุทธ รวมถึงฝึกฝนด้วยตนเอง

ได้รับการศึกษาที่โรงเรียนเสาวภา แต่จบเพียงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ เพราะฐานะทางบ้านไม่อำนวย จึงได้แต่หัดร้องเพลงกับ ครูสกนธ์ มิตรานนท์ และครูพิมพ์ พวงนาค โดยเล่นละครวิทยุกับ #คณะจารุกนก อยู่ระยะหนึ่ง จนมีโอกาสได้บันทึกเสียงเพลงไทยสากลเพลงแรกตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๘๒ กับ ห้าง ต. เง็กชวน คือเพลง “#น้ำเหนือบ่า“ แต่งโดย ครูพิมพ์ พวงนาค

ต่อมาได้มีโอกาสเข้าไปขับร้องเพลงในงานวันประสูติใน พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในรัชกาลที่ ๘  ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต เมื่อวันที่ ๒๔ กรกฎาคม ๒๔๘๓  จึงได้รับการชักชวนจาก “พันตรีวิลาส โอสถานนท์“ อธิบดีกรมโฆษณาการ (ในขณะนั้น) ให้ไปเป็นนักร้องของวงดนตรีโฆษณาการในวันถัดมา ขณะนั้นมีอายุเพียง ๑๖ ปี จึงยังบรรจุเป็นข้าราชการไม่ได้ ต้องบรรจุในตำแหน่งพนักงานวิสามัญ (ลูกจ้าง) ก่อน จนมีอายุครบตามกำหนดจึงได้เลื่อนเป็นนักร้อง นับเป็นนักร้องหญิงคนแรกของวงดนตรีกรมโฆษณาการ (คือกรมประชาสัมพันธ์ในเวลาต่อมา)

ช่วงที่รับราชการในกรมโฆษณาการ “มัณฑนา โมรากุล“ ได้ขับร้องเพลงปลุกใจและเพลงพระราชนิพนธ์ รวมถึงเพลงไทยสากลไว้เป็นจำนวนมากกว่า ๒๐๐ เพลง  เป็นนักร้องหญิงคนแรกของไทยที่นำการใช้ลูกคอแบบตะวันตกมาใช้ร้องเพลงไทยสากล เพื่อช่วยการร้องให้เกิดเสียงสูง เรียกว่า “#เสียงสมอง” นอกจากนี้ ยังได้รับหน้าที่โฆษกหญิงยุคต้นของกรมโฆษณาการด้วย ทำงานกับวงดนตรีกรมโฆษณาการและวงสุนทราภรณ์ ๑๐ ปี จึงลาออกใน พ.ศ.๒๔๙๔ เพื่อสมรสกับ นายบุญยงค์ เกียรติวงศ์ มีบุตรธิดารวม ๔ คน

ภายหลังลาออกจากราชการแล้ว ได้ร่วมกับสามีทำกิจการ #โรงภาพยนตร์ศรีพรานนก และสร้างภาพยนตร์ในระยะหนึ่ง ได้มีโอกาสร่วมขับร้องเพลงในรายการโทรทัศน์เป็นครั้งคราว จนถึง พ.ศ.๒๕๑๕ จึงเลิกขับร้องเพลงอย่างถาวรด้วยเหตุผลทางสุขภาพ และใช้ชีวิตอย่างสงบกับบุตรธิดา ที่บ้านย่านพุทธมณฑลสาย ๒ แต่ยังได้ปรากฏตัวตามงานคอนเสิร์ตการกุศลบ้าง ได้แก่

~ คอนเสิร์ต “ดาวประดับฟ้า มัณฑนา โมรากุล“ จัดขึ้น ณ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ ๒๑ พฤษภาคม ๒๕๓๘ ในโอกาสอายุครบ ๗๒ ปี

~ คอนเสิร์ต “นิมิตใหม่ ใช่เพียงฝัน ๘๐ ปีมัณฑนา โมรากุล“ จัดโดยกรมศิลปากรร่วมกับกรมประชาสัมพันธ์ ณ โรงละครแห่งชาติ เมื่อวันที่ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๖

~ คอนเสิร์ตการกุศล “ย้อนเวลากับมัณฑนา โมรากุล“ เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๒๕ มีนาคม ๒๕๕๐ ณ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร  ในโอกาสอายุครบ ๘๔ ปี

~ คอนเสิร์ต “ดาวประดับฟ้า มัณฑนา โมรากุล ศิลปินแห่งชาติ“ จัดขึ้น ณ หอประชุมกรมประชาสัมพันธ์ เมื่อวันที่ ๑๘ เมษายน ๒๕๕๓ ในโอกาสได้รับการเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (เพลงไทยสากล – ขับร้อง) ประจำปี ๒๕๕๒ และมีอายุครบ ๘๗ ปี

มัณฑนา โมรากุล“ ได้รับเชิดชูเกียรติจากกระทรวงวัฒนธรรม ให้เป็น “ศิลปินแห่งชาติ“ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีไทยสากล-ขับร้อง) ประจำปี ๒๕๕๒ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๗ มกราคม ๒๕๕๓

#ผลงานขับร้องที่มีชื่อเสียง : (อาทิ)

~ #ดวงใจกับความรัก (เพลงพระราชนิพนธ์)

~ #เทวาพาคู่ฝัน (เพลงพระราชนิพนธ์)

~ น้ำเหนือบ่า

~ จันทร์แจ่มฟ้า

~ สกุณาพาคู่

~ ใจชาย

~ สุดอาลัย

~ วัฒนธรรม

~ สวมหมวก

~ พลเมืองดี

~ สวนครัว

~ ปลุกไทย

~ หนองคาย

~ ไทยไม่ทำลายไทย

~ ทางสร้างชาติ

~ ทรัพย์ในดิน

~ วังบัวบาน

~ ดาวที่อับแสง

~ #จุฬาตรีคูณ

~ #ปรัชญาขี้เมา

~ รักคะนองคองก้า (คู่กับ วินัย จุลบุษปะ)

~ กล่อม

~ กล่อมดรุณ

~ สนต้องลม

~ #วังน้ำวน

~ ผู้แพ้รัก

~ ดวงใจที่ไร้รัก

~ อาลัยลา

~ ลมโชย

~ #นักเรียนพยาบาล

~ #ปองใจรัก (คู่กับ ครูเอื้อ สุนทรสนาน)

~ สิ้นรักสิ้นสุข

~ #เมื่อไรจะให้พบ

~ สวยรวย

~ เพลินชมดง

~ สายลมครวญ

~ เงาแห่งความหลัง (คู่ วินัย จุลละบุษปะ)

~ หนูเอย

~ ราตรี

~ ผีเสื้อยามเช้า

~ วิญญาณรัก

~ ศาสนารัก

~ ปางหลัง

~ ชั่วชีวิต

~ เทพบุตรในฝัน

~ ดอกไม้กับแมลง

~ น้ำค้างกลางหาว

~ ผาเงอบ (ปัจจุบันเขียน ผาเงิบ)

~ จันทน์กะพ้อร่วง

~ ธรณีกรรแสง

~ #บัวกลางบึง

#ผลงานประพันธ์คำร้อง :

~ #วาสนากระต่าย (ครูเอื้อ สุนทรสนาน ขับร้อง เป็นหนึ่งในเพลงทรงโปรดในสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี)

~ #ใจหนอใจ (จันทนา โอบายวาทย์ ขับร้อง)

~ #รักมีกรรม (วินัย จุลละบุษปะ ขับร้อง)

~ #เสียงดุเหว่า (มาริษา อมาตยกุล ขับร้อง)

~ #ราตรีสุดท้าย (รวงทอง ทองลั่นทม ขับร้อง)

~ #แสนห่วง (บุษยา รังสี ขับร้อง)

~ #สุดคะนึง (มัณฑนา โมรากุล ขับร้อง)

เวลาออมแสง

#เวลาออมแสง (daylight saving time : #DST) หรือ #เวลาฤดูร้อน (summer time) เป็นข้อตกลงในการปรับนาฬิกาไปข้างหน้า เพื่อให้มีแสงอาทิตย์ในช่วงเวลาบ่ายมากขึ้นและมีแสงอาทิตย์ในช่วงเวลาเช้ามีน้อยลง โดยปกติแล้วจะปรับไปข้างหน้าหนึ่งชั่วโมง ก่อนจะเข้าฤดูใบไม้ผลิ และปรับกลับหลังในฤดูใบไม้ร่วง เวลาออมแสงในยุคสมัยใหม่ถูกเสนอขึ้นครั้งแรกโดย “วิลเลียม วิลเลตต์“ (William Willett) นักก่อสร้างชาวอังกฤษ หลายประเทศได้เริ่มใช้เวลาลักษณะนี้นับตั้งแต่นั้น โดยมีรายละเอียดแตกต่างไปตามสถานที่และมีการเปลี่ยนแปลงเป็นครั้งคราว

การเลื่อนนาฬิกาของเวลาออมแสงก่อให้เกิดความท้าทายต่างๆ เวลาลักษณะนี้ทำให้การรักษาเวลายุ่งยากขึ้น ก่อความวุ่นวายให้การนัดหมาย การเดินทาง การบัญชี การลงบันทึก อุปกรณ์การแพทย์ และเครื่องจักรอุตสาหกรรม ระบบที่ใช้คอมพิวเตอร์จำนวนมากสามารถปรับนาฬิกาของตัวได้อัตโนมัติ แต่การปรับนี้ก็อาจทำได้จำกัดและมีความผิดพลาด โดยเฉพาะเมื่อกฎของเวลาออมแสงเปลี่ยน

ระบบเวลาออมแสงมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้มีช่วงแสงสว่างที่ “เหมาะสม” ตามความต้องการของท้องถิ่น โดยปรับนาฬิกาให้เข้ากับการขึ้นลงของดวงอาทิตย์ ซึ่งเปลี่ยนไปตามฤดูกาลและตามความเอียงของแกนโลก

ในสหรัฐอเมริกา นับตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๕๐ เริ่มทำการปรับเวลาออมแสงแตกต่างจากประเทศอื่นโดยการ เริ่มต้น ๓ สัปดาห์ก่อนเวลาออมแสงปกติ และสิ้นสุด ๑ สัปดาห์หลังเวลาออมแสงปกติ ในสมัยประธานาธิบดีจอร์จ ดับยู บุช (George W. Bush) เมื่อวันที่ ๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๘

ในประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่เคยมี DST ได้แก่ ประเทศมาเลเซียและประเทศฟิลิปปินส์.
#daylightsavingtime #summertime


คำอธิบายภาพ : แม้จะไม่ได้ใช้โดยประชากรส่วนใหญ่ของโลก แต่เวลาออมแสงก็เป็นเรื่องที่พบได้ปกติในบริเวณซีกโลกเหนือ

 ● บริเวณที่มีการใช้เวลาออมแสง (สีฟ้า)

 ● บริเวณที่ใช้เวลาออมแสงในอดีต (สีส้ม)

 ● บริเวณที่ไม่เคยมีการใช้เวลาออมแสง (สีแดง)

วันที่ระลึกพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาเจษฎาราชเจ้า

​๓๑ มีนาคม…วันที่ระลึกพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาเจษฎาราชเจ้า

#พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ใน #พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ และเป็นพระองค์แรกอันประสูติแต่ #เจ้าจอมมารดาเรียม (ภายหลังได้รับสถาปนาเป็น #สมเด็จพระศรีสุลาไลย) เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันจันทร์ แรม ๑๐ ค่ำ เดือน ๔ ปีมะแม เวลาค่ำสี่ทุ่มครึ่ง ตรงกับวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๓๓๐  เสวยราชสมบัติเมื่อวันอาทิตย์ เดือน ๙ ขึ้น ๗ ค่ำ ปีวอก ซึ่งตรงกับวันที่ ๒๑ กรกฎาคม ๒๓๖๗ (กระทำพระราชพิธีบรมราชาภิเษกเมื่อวันที่ ๑ สิงหาคม ๒๓๖๗) ดำรงสิริราชสมบัติได้ ๒๖ ปี ๒๕๕ วัน

มีเจ้าจอมมารดาและเจ้าจอมในรัชกาลรวม ๕ คน มีพระราชโอรสธิดาทั้งสิ้น ๕๑ พระองค์ เสด็จสวรรคตเมื่อวันพุธ เดือน ๕ ขึ้น ๑ ค่ำ ปีกุน โทศก จุลศักราช ๑๒๑๒ เวลา ๗ ทุ่ม ๕ บาท ตรงกับวันที่ ๒ เมษายน ๒๓๙๔  สิริพระชนมพรรษา ๖๔ พรรษา

#พระผู้ทรงคุณแห่งแผ่นดิน— ◎ ทัดทานกระแสบ่าไหลของอารยธรรมตะวันตกเกรียงไกร ธำรงความเป็นไทยให้ยั่งยืนในกระแสอันเชี่ยวกราก หยั่งรากอารยะยืนยงมั่นคงสืบมา สั่งสมเงินตราไถ่แผ่นดิน หลอมรวมชีวินทุกเชื้อชน ต้นแผ่นดินถิ่นไทยได้มั่งคั่งและร่มเย็น ๚ะ๛

The Big Bend

ตึกระฟ้านามว่า “เดอะ บิ๊กเบนด์“ ที่ถนนสายที่ 57 บนเกาะแมนฮัตตัน ในนครนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา จะกลายเป็น…#ตึกที่ยาวที่สุดในโลก ไม่ใช่สูงที่สุดในโลก เพราะสร้างเป็นรูป “ยู“ คว่ำ นับความต่อเนื่องของตัวอาคารได้ 4 พันฟุต (101.6 เมตร)

A New York design studio has created an incredible U-shaped skyscraper, hailed as the longest building in the world.

The Big Bend‘, which would sit on ‘Billionaire’s Row’ on 57th Street in Manhattan, was created to get around New York’s strict zoning laws.

The innovative idea was dreamed up by design studio Oiio and is still in the early concept stages.

They explained: New York City’s zoning laws have created a peculiar set of tricks through which developers try to maximise their property’s height in order to infuse it with the prestige of a high rise structure. But what if we substituted height with length? What if our buildings were long instead of tall?

At an incredible 4,000ft, it would be the longest building in the world, leaving Dubai’s Burj Khalifa in second place at a mere 2,722ft.

In order to get around the U-shaped building, The Big Bend’s elevator system is even designed to travel horizontally and in loops.

They added: We can now provide our structures with the measurements that will make them stand out without worrying about the limits of the sky.

#BigBend #longestbuilding

โรงเรียนวัฒโนทัยพายัพ

​◎ สุสิกฺขิตา อติจริยา ◎…“เรียนดี มีมารยาทงาม

๒๕ มีนาคม ๒๕๖๐ วาระครบ ๑๑๑ ปีแห่งการสถาปนา…#โรงเรียนวัฒโนทัยพายัพ
~ โรงเรียนสตรีประจำมณฑลพายัพ ยุพราชวิทยาลัย“ (๒๔๔๙)

~ โรงเรียนสตรีประจำมณฑลพายัพ วัฒโนทัยพายัพ“ (๒๔๗๑)

~ โรงเรียนสตรีวัฒโนทัยพายัพ (๒๔๗๖)

~ โรงเรียนวัฒโนทัยพายัพ (๒๕๑๗)

#โรงเรียนสตรีแห่งแรกในจังหวัดเชียงใหม่

คำไวพจน์ : พระอาทิตย์

​#คำไวพจน์ (#คำพ้องความหมาย) ของคำว่า “พระอาทิตย์

~ ตะวัน

~ ไถง

~ ทยุมณี

~ ทินกร

~ ทิพากร

~ ทิวากร

~ ประภากร

~ พรมัน

~ ภาณุ

~ ภาณุมาศ

~ ภาสกร

~ รพิ

~ ระพี

~ รวิ

~ รวี

~ สุริยง

~ สุริยน

~ สุริยะ

~ สุริยัน

~ สุริยา

~ อหัสกร

~ อังศุมาลี

~ อาภากร

~ อุษณรศมัย

ท้าวสุรนารี

​๒๓ มีนาคม ถึง ๓ เมษายน ๒๕๖๐ งาน…“#วันฉลองชัยชนะท้าวสุรนารี“ จังหวัดนครราชสีมา

#พระยาอุปกิตศิลปสาร (นิ่ม กาญจนาชีวะ เปรียญ) นิพนธ์ฉันท์สรรเสริญเกียรติคุณ “ท้าวสุรนารี“ ไว้ในหนังสือ “#นารีเรืองนาม“ หน้า ๒๑-๒๒  ความว่า…
#ท้าวสุรนารี

(วสันตดิลกฉันท์)
“◎  อ้าเพศก็เพศนุชอนงค์           อรองค์ก็บอบบาง

ควรแต่ผดุงอรสอาง                     ศุภลักษณ์ประโลมใจ

◎  ยามเข็ญก็เข็นสริรช่วย            คณะชายผจญภัย

โอ้ควรจะเอื้อนพจนไข                  คุณะเลิศมโหฬาร

◎  อ้าหัตถ์ก็หัตถ์สุขุมพรร-          ณ พิไลอลังการ

ควรแต่จะถือมธุรมาล-                 ยประมูลมโนรม

◎  ยามทุกข์ก็ถือวิวิธอา-              วุธร่วมสมาคม

โอ้ควรจะเอื้อนพจนชม                 คุณชั่วนิรันดร์กาล

◎  อ้าเสียงก็เสียงนุชอนงค์           เสนาะโสตกระแสหวาน

ควรแต่จะซ้องสรประสาน             ดุริยางค์พยุงใจ

◎  ยามแค้นก็แค่นกมลซ้อง           สรโห่กระหึ่มไพร

โอ้ควรจะชมนุชไฉน                     นะจะหนำมโนปอง

◎  อ้าจิตรก็จิตรนุชเสงี่ยม            มนะอ่อน ณ ชนผอง

ควรแต่จะเอื้อกมลครอง               ฆรชื่นประชาชน

◎  ยามยุทธนาบมิขยาด               มนะกล้าผจญรณ

โอ้ควรจะนับคุณะอนน-               ตอเนกรำพัน

◎  อ้าจงอนงค์คุณกำ-                  จรจบณไกวัล

เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระวรธรร-  มิกราชสยามินทร์

◎  เพื่อเป็นนิทัศนอุทา-                 หรณัคร์มโนถวิล

โอ้สุญนภางคปถพิน                      คุณจงมลาย  เทอญ”

                                (๑๔ สิงหาคม ๒๔๖๒)
#ย่าโม
หมายเหตุ :

อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี (โม) ฝีมือปั้นของ “#อาจารย์ฝรั่งศาสตราจารย์ศิลป พีระศรี #ผู้วางรากฐานมหาวิทยาลัยศิลปากร และ #บิดาแห่งศิลปะร่วมสมัยในประเทศไทย  ตั้งแต่เมื่อพุทธศักราช ๒๔๗๗.