๓๑ กรกฎาคม

#วันนี้ในอดีต

เหตุการณ์สำคัญในวันที่ ๓๑ กรกฎาคม

● พ.ศ. ๒๕๐๔ (ค.ศ. ๑๙๖๑)
ก่อตั้ง #สมาคมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (#อาสา : Association of South-East Asia : #ASA) ตั้งขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๐๔ ที่กรุงเทพฯ สมาชิกประกอบด้วย #ราชอาณาจักรไทย, #สหพันธรัฐมลายา และ #สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือในภูมิภาคและความมั่นคง นอกเหนือจากการเป็นพันธมิตรทางทหารคือ S.E.A.T.O. แต่ประสบความล้มเหลว เป็นผลมาจากกรณีพิพาทระหว่างมลายากับฟิลิปปินส์ในการอ้างกรรมสิทธิ์เหนือซาบาห์ของฟิลิปปินส์ ฟิลิปปินส์หันไปสนับสนุนอินโดนีเซียในการดำเนินนโยบายเผชิญหน้ากับมาเลเซีย เพื่อขัดขวางการก่อตั้งมาเลเซีย มีความพยายามฟื้นฟูอาสาขึ้นอีกใน พ.ศ. ๒๕๐๙ แต่ไม่ประสบผล ในที่สุดถูกแทนที่ด้วย “#อาเซียน“ (#ASEAN) ใน พ.ศ. ๒๕๑๐

● พ.ศ. ๒๔๙๗ (ค.ศ. ๑๙๕๔)
#คณะนักปีนเขาชาวอิตาลีประสบความสำเร็จเป็นคณะแรก ในภารกิจเดินทางถึง “#ยอดเขาเคทู“ (#K2 : #Kechu : #Ketu : کے ٹو‎) บนเทือกเขาหิมาลัย

● พ.ศ. ๒๕๑๔ (ค.ศ. ๑๙๗๑)
#โครงการอะพอลโล๑๕ : องค์การนาซาใช้ “#รถลูนาร์โรเวอร์“ (Lunar Rover) เป็นครั้งแรก

● พ.ศ. ๒๕๑๙ (ค.ศ. 1976)
องค์การนาซาเผยแพร่ภาพ “#ใบหน้าบนดาวอังคาร“ (#MartianFace / Face of Mars) ที่บันทึกโดย “#ยานไวกิง๑“ (#Viking1)

● พ.ศ. ๒๕๓๕ (ค.ศ. ๑๙๙๒)
เครื่องบินแอร์บัส เอ ๓๑๐-๓๐๐ ของ “#การบินไทย“ ชนกับเทือกเขาหิมาลัย ด้านเหนือของกรุงกาฐมาณฑุ ประเทศเนปาล ทำให้มีผู้เสียชีวิต ๑๑๓ คน.

๓๐ กรกฎาคม

#วันนี้ในอดีต

เหตุการณ์สำคัญในวันที่ ๓๐ กรกฎาคม

● พ.ศ. ๒๓๖๘ (ค.ศ. ๑๘๒๕)
ผู้บัญชาการเรือรบอังกฤษ #ค้นพบเกาะมัลเดน (Malden Island) (ปัจจุบันเป็นหนึ่งในหมู่เกาะไลน์ของประเทศคิริบาส 🇰🇮 #สาธารณรัฐคิริบาส : Republic of Kiribati : Ribaberiki Kiribati)

● พ.ศ. ๒๔๘๘ (ค.ศ. ๑๙๔๕)
#สงครามโลกครั้งที่สอง : เรือดำน้ำญี่ปุ่นยิงตอร์ปิโด ๒ ลูก ถล่ม “#เรือรบอินเดียแนโพลิส“ (USS Indianapolis : CA-35) ของสหรัฐอเมริกา ขณะมุ่งหน้าไปยังฟิลิปปินส์ ทำให้ลูกเรือ ๘๘๓ คน เสียชีวิต เป็น #การสูญเสียลูกเรือคราวเดียวกันครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของกองทัพเรือสหรัฐอเมริกา

● พ.ศ. ๒๕๐๙ (ค.ศ. ๑๙๖๖)
#ทีมชาติอังกฤษชนะเลิศการแข่งขันฟุตบอลโลกเป็นครั้งแรก (#ฟุตบอลโลก ครั้งที่ ๘) โดยชนะ #ทีมชาติเยอรมนี ๔ ต่อ ๒ ประตู.

๒๙ กรกฎาคม

#วันนี้ในอดีต

เหตุการณ์สำคัญในวันที่ ๒๙ กรกฎาคม

● พ.ศ. ๒๑๓๓ (ค.ศ. ๑๕๙๐)
#สมเด็จพระนเรศวรมหาราชเสด็จขึ้นครองราชย์ ที่เมืองพิษณุโลก

● พ.ศ. ๒๓๗๙ (ค.ศ. ๑๘๓๖)
พิธีเปิด “#ประตูชัยฝรั่งเศส“ (Arc de triomphe de l’Étoile)

● พ.ศ. ๒๔๓๖ (ค.ศ. ๑๘๙๓)
นายพลเรือฮือมานต์“ เข้ายึดเกาะสีชัง #ปิดปากน้ำจันทบุรี

● พ.ศ. ๒๔๕๐ (ค.ศ. ๑๙๐๗)
#จัดค่ายลูกเสือครั้งแรกของโลก (Scout Camp) บนเกาะบราวน์ซี มณฑลดอร์ซิต ประเทศอังกฤษ

● พ.ศ. ๒๔๙๐ (ค.ศ. ๑๙๔๗)
หลังการยกระดับหน่วยความจำ “#อีนิแอก“ (#ENIAC) #คอมพิวเตอร์ดิจิทัลเครื่องแรก ที่ประกอบด้วยอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมดเปิดใช้งานขึ้นมาใหม่และทำงานต่อเนื่องจนถึงวันที่ ๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๙๘

● พ.ศ. ๒๕๐๐ (ค.ศ. ๑๙๕๗)
ก่อตั้ง “#ทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ“ (International Atomic Energy Agency : #IAEA) เพื่อส่งเสริมการใช้พลังงานนิวเคลียร์ในทางสันติ

● พ.ศ. ๒๕๐๑ (ค.ศ. ๑๙๕๘)
#ก่อตั้งองค์การนาซาอย่างเป็นทางการ (#NASANational Aeronautics and Space Administration)

● พ.ศ. ๒๕๒๔ (ค.ศ. ๑๙๘๑)
พระราชพิธีอภิเษกสมรสระหว่าง “#เจ้าฟ้าชายชาร์ล“ (Charles Philip Arthur George : HRH the Prince Charles, The Prince of Wales : 1948) มกุฎราชกุมารแห่งสหราชอาณาจักร กับ “เลดี้ไดอานา สเปนเซอร์“ (Diana Frances Spencer, Princess of Wales : 1961-1997)

● พ.ศ. ๒๕๔๒ (ค.ศ. ๑๙๙๙)
คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันอังคารที่ ๑๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๒ เห็นชอบให้วันที่ ๒๙ กรกฎาคมของทุกปี เป็น “#วันภาษาไทยแห่งชาติ“ เพื่อระลึกถึงเหตุการณ์ในวันที่ ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๐๕ ซึ่ง #พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙ เสด็จพระราชดำเนินไปทรงอภิปรายเรื่อง “#ปัญหาการใช้คำไทย“ ร่วมกับผู้ทรงคุณวุฒิที่คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

● พ.ศ. ๒๕๔๘ (ค.ศ. ๒๐๐๕)
นักดาราศาสตร์ประกาศ #การค้นพบดาวเคราะห์แคระอีริส [136199 อีริส (Eris) หรือ 2003 UB313 เป็นดาวเคราะห์แคระหนึ่งใน #วัตถุพ้นดาวเนปจูน (Trans-Neptunian ObjectTNO) เป็น #ดาวเคราะห์แคระดวงใหญ่เป็นลำดับที่สองในระบบสุริยะ ที่ถูกค้นพบในปัจจุบัน มีขนาดเล็กกว่าดาวพลูโตเล็กน้อย]

● พ.ศ. ๒๕๔๙ (ค.ศ. ๒๐๐๖)
#เปิดทดลองใช้ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ โดยมีสายการบินภายในประเทศ ๖ สายการบินเข้าร่วม.

๒๘ กรกฎาคม

#วันนี้ในอดีต

เหตุการณ์สำคัญในวันที่ ๒๘ กรกฎาคม

● พ.ศ. ๒๓๓๗ (ค.ศ. ๑๗๙๔)
แมกซิมิเลียน โรเบสปิแอร์“ (Maximilien François Marie Isidore de Robespierre / มักซีมีเลียง ฟร็องซัว มารี อีซีดอร์ เดอ รอแบ็สปีแยร์ : 1758-1794) ผู้นำใน #สมัยแห่งความน่าสะพรึงกลัว ของฝรั่งเศส (Reign of Terror / The Terror : La Terreur) ถูกประหารชีวิตด้วย “กิโยติน

● พ.ศ. ๒๓๖๔ (ค.ศ. ๑๘๒๑)
#เปรูประกาศเอกราชจากสเปน (#สาธารณรัฐเปรู 🇵🇪 República del Perú)

● พ.ศ. ๒๔๕๗ (ค.ศ. ๑๙๑๔)
#สงครามโลกครั้งที่หนึ่งอุบัติขึ้น เมื่อออสเตรีย-ฮังการี ประกาศสงครามกับเซอร์เบีย

● พ.ศ.๒๔๙๕ (ค.ศ.๑๙๕๒)
#สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี (ต่อมาได้รับเฉลิมพระอภิไธยเป็น สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ) มีพระประสูติการสมเด็จพระราชกุมารพระองค์เดียวในรัชกาล #พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯบรมนาถบพิตร ทรงพระนามว่า “สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ #เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ“ ซึ่งในกาลต่อมาคือ “#สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร“ และ “#สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร“ ในปัจจุบัน

● พ.ศ. ๒๕๑๙ (ค.ศ. ๑๙๗๖)
#เกิดแผ่นดินไหวในเมืองต่งซาน ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ขนาด ๗.๘ – ๘.๒ ทำให้มีผู้เสียชีวิต ๒๔๒,๗๖๙ คน บาดเจ็บ ๑๖๔,๘๕๑ คน

● พ.ศ. ๒๕๓๓ (ค.ศ. ๑๙๙๐)
อัลแบร์โต ฟูจิมูริ“ (Alberto Kenya Fujimori Inomoto : ชื่อเดิม “เค็นยะ ฟุจิโมะริ“ : 藤森 謙也 : 1938) เป็น #ประธานาธิบดีสาธารณรัฐเปรู และเป็น #ชาวเอเชียคนแรกผู้ดำรงตำแหน่งประมุขแห่งรัฐของชาติที่ไม่ใช่เอเชีย

● พ.ศ. ๒๕๓๙ (ค.ศ. ๑๙๙๖)
ในระหว่างการแข่งขันเรือเร็วประจำปีที่จัดขึ้นในแม่น้ำโคลัมเบีย ได้มีการค้นพบ “#มนุษย์เคนเนวิก“ (#KennewickMan) ซากมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์โดยบังเอิญที่เมืองเคนเนวิก รัฐวอชิงตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา.

๒๗ กรกฎาคม

#วันนี้ในอดีต

เหตุการณ์สำคัญในวันที่ ๒๗ กรกฎาคม

● พ.ศ. ๒๔๐๘ (ค.ศ. ๑๘๖๕)
ชาวเวลส์ ๑๕๓ คน เดินทางถึงหุบเขาชูบูต (#Chubut) เพื่อตั้งถิ่นฐานในดินแดนแพทาโกเนียของอาร์เจนตินา (#Patagonia)

● พ.ศ. ๒๔๐๙ (ค.ศ. ๑๘๖๖)
#สายเคเบิลใต้มหาสมุทรแอตแลนติกสร้างเสร็จสมบูรณ์ ทำให้สามารถสื่อสารด้วยโทรเลขข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกได้เป็นครั้งแรก

● พ.ศ. ๒๔๔๙ (ค.ศ. ๑๙๐๖)
#ตั้งมณฑลปัตตานี

● พ.ศ. ๒๔๕๖ (ค.ศ. ๑๙๑๓)
#พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ พระราชทานนามสกุล “#อะหมัดจุฬา” ให้กับผู้สืบสายสกุลจาก “#เจ้าพระยาบวรราชนายก“ (เฉกอะหมัด) #จุฬาราชมนตรีคนแรก

พ.ศ. ๒๔๖๔ (ค.ศ. ๑๙๒๑)
นักวิจัยมหาวิทยาลัยโทรอนโต นำโดย “เฟรเดอริก แบนติง“ (Sir Frederick Grant Banting : 1891-1941) นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ชาวแคนาดา ประกาศการ #ค้นพบฮอร์โมนอินซูลิน (#Insulin) และได้รับ รางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์ (Nobel Prize in Physiology or Medicine) เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๖ ร่วมกับ ศาสตราจารย์ “จอห์น เจมส์ ริกการ์ด แมคลอยด์“ (John James Rickard Macleod : 1876-1935) นักเคมีและนักสรีรวิทยาชาวอังกฤษ

● พ.ศ. ๒๔๘๓ (ค.ศ. ๑๙๔๐)
บั๊กส์ บันนี่“ (#BugsBunny) ของ #LooneyToons ปรากฏตัวครั้งแรกในการ์ตูนแอนิเมชันชุด “A Wild Hare“ #78thBugsBunny

● พ.ศ. ๒๔๙๖ (ค.ศ. ๑๙๕๓)
#สงครามเกาหลียุติลง สหรัฐอเมริกา จีน เกาหลีเหนือ และเกาหลีใต้ ลงนามในข้อตกลงสงบศึก

● พ.ศ. ๒๕๓๓ (ค.ศ. ๑๙๙๐)
วันก่อตั้ง #มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.) เป็น #มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐแห่งแรกของประเทศไทย ตั้งอยู่ในจังหวัดนครราชสีมา

● พ.ศ. ๒๕๓๓ (ค.ศ. ๑๙๙๐)
#เบลารุสประกาศเอกราชจากสหภาพโซเวียต (#สาธารณรัฐเบลารุส : Рэспубліка Беларусь 🇧🇾 Республика Беларусь)

● พ.ศ. ๒๕๓๕ (ค.ศ. ๑๙๙๒)
#จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเชื่อมต่อระบบอินเทอร์เน็ตเต็มรูปแบบเป็นหน่วยงานแรกของประเทศไทย

● พ.ศ. ๒๕๓๙ (ค.ศ. ๑๙๙๖)
#เหตุระเบิดในกีฬาโอลิมปิก : เกิดระเบิดระหว่างการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกในเซนเทนเนียลโอลิมปิกปาร์กเมืองแอตแลนตา รัฐจอร์เจีย ประเทศสหรัฐอเมริกา ทำให้มีผู้เสียชีวิต ๒ คน บาดเจ็บ ๑๑๑ คน

● พ.ศ. ๒๕๕๐ (ค.ศ. ๒๐๐๗)
“#พระพุทธมหานวมินทร์ศากยมุนีศรีวิเศษชัยชาญ“ สร้างแล้วเสร็จ ประดิษฐาน ณ #วัดม่วง ตำบลหัวตะพาน อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง นับเป็น #พระพุทธรูปที่ใหญ่ที่สุดในโลก

● พ.ศ. ๒๕๕๕ (ค.ศ. ๒๐๑๒)
#วันเปิดการแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อนปี๒๐๑๒ ณ กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร.

๒๖ กรกฎาคม

#วันนี้ในอดีต

เหตุการณ์สำคัญในวันที่ ๒๖ กรกฎาคม

● พ.ศ. ๒๔๓๐ (ค.ศ. ๑๘๘๗)
แอล.แอล. ซาเมนฮอฟ“ (Ludvic Lazarus Zamenhof (Ludwik Lejzer, Ludwik Łazarz) : 1859-1917) จักษุแพทย์ชาวโปแลนด์ ได้เผยแพร่ #ภาษาเอสเปรันโต (#Esperanto) เป็นภาษาประดิษฐ์ในกลุ่มภาษาช่วยในการสื่อสารระดับสากลที่ใช้กันมากที่สุดในโลก

● พ.ศ. ๒๔๕๑ (ค.ศ. ๑๙๐๘)
สหรัฐอเมริกาก่อตั้งหน่วยงานที่ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น “#สำนักงานสอบสวนกลางแห่งสหรัฐอเมริกา“ (Federation Bureau of Investigation : #FBI)

● พ.ศ. ๒๔๙๖ (ค.ศ. ๑๙๕๓)
ฟิเดล คาสโตร“ (Fidel Alejandro Castro Ruz : 1926-2016) นำการโจมตีค่ายทหารมอนคาดา เป็น #จุดเริ่มต้นของการปฏิวัติคิวบา

● พ.ศ. ๒๕๐๖ (ค.ศ. ๑๙๖๓)
“#ดาวเทียมซินคอม๒“ (#Syncom2) เป็น #ดาวเทียมพ้องคาบโลกดวงแรก [#ดาวเทียมพ้องคาบโลก (geosynchronous satellite) เป็นดาวเทียมที่โคจรอยู่ในวงโคจรพ้องคาบโลก มีคาบการโคจรเท่ากับคาบการหมุนรอบตัวเองของโลก กล่าวคือ เมื่อเวลาผ่านไปหนึ่งวันดาราคติ (๒๓ ชั่วโมง ๕๖ นาที ๔ วินาที) ดาวเทียมดวงนั้นจะกลับมาอยู่ที่ตำแหน่งเดิมเมื่อมองจากพื้นโลกจุดเดิม ในกรณีที่เป็นดาวเทียมที่โคจรอยู่ในวงโคจรค้างฟ้า เรียกว่า “#ดาวเทียมค้างฟ้า“ หรือ “#ดาวเทียมประจำที่“ (geostationary satellite)].

๒๕ กรกฎาคม

#วันนี้ในอดีต

เหตุการณ์สำคัญในวันที่ ๒๕ กรกฎาคม

● พ.ศ. ๖๐๗ (ค.ศ. ๖๔)
#เพลิงไหม้กรุงโรม นานถึง ๖ วัน ๖ คืน เชื่อว่า #สมเด็จพระจักรพรรดิเนโร (NERO CLAVDIVS CAESAR AVGVSTVS GERMANICVS : 37A.D.) เป็นผู้บงการวางเพลิง

● พ.ศ. ๒๔๕๒ (ค.ศ. ๑๙๐๙)
หลุยส์ เบลรีโอ“ (Louis Charles Joseph Blériot : 1872-1936) นักบินชาวฝรั่งเศส เป็น #บุคคลแรกที่ทำการบินข้ามช่องแคบอังกฤษ

● พ.ศ. ๒๔๘๖ (ค.ศ. ๑๙๔๓)
#สงครามโลกครั้งที่สอง : “เบนิโต มุสโสลินี“ (Benito Amilcare Andrea Mussolini : 1883-1945) ถูกบังคับให้ลาออกจากตำแหน่งผู้นำอิตาลี

● พ.ศ. ๒๔๙๕ (ค.ศ. ๑๙๕๒)
#เปอร์โตริโกกลายเป็นเครือรัฐปกครองตนเองของสหรัฐอเมริกา (#เครือรัฐเปอร์โตริโก : Estado Libre Asociado de Puerto Rico 🇵🇷)

● พ.ศ. ๒๕๑๖ (ค.ศ. ๑๙๗๓)
สหภาพโซเวียตส่ง “#มาร์ส๕“ (МAPC-5) ขึ้นสู่อวกาศ

● พ.ศ. ๒๕๒๑ (ค.ศ. ๑๙๗๘)
กำเนิด “หลุยส์ บราวน์“ (Louise Joy Brown) #เด็กหลอดแก้วคนแรกของโลก (Test-Tube Baby)

● พ.ศ. ๒๕๓๒ (ค.ศ. ๑๙๘๙)
แรมโบ้-พงษ์ศิริ พ.ร่วมฤดี“ (ไพบูลย์ ลัดหนองขี) ชนะคะแนน “ไอ้เลือดเหล็ก-ไพโรจน์น้อย ส.สยามชัย“ ที่เวทีลุมพินี ใน “ศึกวันทรงชัย“ เป็น #มวยคู่แรกในประวัติศาสตร์มวยไทยที่เก็บค่าผ่านประตูได้เกินหนึ่งล้านบาท

● พ.ศ. ๒๕๔๓ (ค.ศ. ๒๐๐๐)
เครื่องบิน “#คองคอร์ด“ (#CONCORDE) ของสายการบิน #แอร์ฟรานซ์ (Air France) เที่ยวบิน ๔๕๙๐ เกิดอุบัติเหตุตก หลังขึ้นจากท่าอากาศยานใกล้กรุงปารีส มีผู้เสียชีวิต ๑๑๓ คน

● พ.ศ. ๒๕๔๖ (ค.ศ. ๒๐๐๔)
แลนซ์ อาร์มสตรอง“ (Lance Armstrong / Lance Edward Gunderson : 1971) ชนะเลิศการแข่งขัน “#ตูร์เดอฟร็องซ์“ (Tour de France) เป็นสมัยที่ ๖ ติดต่อกัน

● พ.ศ. ๒๕๕๐ (ค.ศ. ๒๐๐๗)
นางประติภา ปาฏีล“ (प्रतिभा देवीसिंह पाटिल / ปฺรติภา เทวีสิงฺห ปาฏิล : Pratibha Devisingh Patil : 1934) เข้ารับตำแหน่ง #ประธานาธิบดีอินเดีย (คนที่ ๑๒) นับเป็น #ประธานาธิบดีสาธารณรัฐอินเดียคนแรกที่เป็นสตรี .

๒๔ กรกฎาคม

#วันนี้ในอดีต

เหตุการณ์สำคัญในวันที่ ๒๔ กรกฎาคม

● พ.ศ. ๒๔๐๐ (ค.ศ. ๑๘๕๗)
#พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ มีพระบรมราชโองการให้ “#พระยามนตรีสุริยวงศ์“ (ชุ่ม บุนนาค) เป็นราชทูต นำคณะออกเดินทางอัญเชิญพระราชสาสน์และเครื่องมงคลราชบรรณาการไปถวาย “#สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย“ แห่งสหราชอาณาจักร ครั้งนั้น “#หม่อมราโชทัย“ (หม่อมราชวงศ์กระต่าย อิศรางกูร) ล่ามหลวงในคณะราชทูต ได้เขียนบันทึกการเดินทางที่รู้จักกันในชื่อว่า “#นิราศลอนดอน

● พ.ศ. ๒๔๕๔ (ค.ศ. ๑๙๑๑)
ไฮแรม บิงแฮม“ (Hiram Bingham III : 1875-1956) นักสำรวจชาวสหรัฐอเมริกา ค้นพบ “#มาชูปิกชู“ (Machu Picchu)…“#นครสาบสูญของชาวอินคา“ บนเทือกเขาแอนดีสในประเทศเปรู ภายหลัง “บิงแฮม“ ได้รับเลือกตั้งเป็นผู้ว่าการรัฐคอนเน็คติคัต และสมาชิกวุฒิสภาสหรัฐอเมริกา ตามลำดับ

● พ.ศ. ๒๔๖๖ (ค.ศ. ๑๙๒๓)
#สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง : ประเทศกรีซ ประเทศบัลแกเรีย และชาติที่ต่อสู้ในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ลงนามใน “#สนธิสัญญาโลซาน“ (Treaty of Lausanne) ณ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เพื่อ #กำหนดเขตแดนของประเทศตุรกี

● พ.ศ. ๒๕๐๘ (ค.ศ. ๑๙๖๕)
อาภัสรา หงสกุล“ (๒๔๙๐) ได้รับเลือกเป็น “#นางงามจักรวาล“ (Miss Universe) คนที่ ๑๔ ในการประกวดที่รัฐฟลอริดา ประเทศสหรัฐอเมริกา นับเป็น #คนไทยคนแรกที่เป็นนางงามจักรวาล และเป็น #ชาวเอเชียคนที่สองที่เป็นนางงามจักรวาล (ถัดจากนางงามญี่ปุ่น)

● พ.ศ. ๒๕๑๒ (ค.ศ. ๑๙๖๙)
นักบินอวกาศที่ลงสัมผัสพื้นผิวดวงจันทร์เป็นคู่แรก กลับสู่โลกอย่างปลอดภัยด้วย “#ยานอะพอลโล๑๑“ (Apollo XI)

● พ.ศ. ๒๕๓๑ (ค.ศ. ๑๙๘๘)
“#พรรคชาติไทย“ ได้จำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในการเลือกตั้งทั่วไปมากที่สุด และได้เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลผสม โดย “พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ“ หัวหน้าพรรค ขึ้นดำรงตำแหน่ง #นายกรัฐมนตรีไทยคนที่๑๗

● พ.ศ. ๒๕๔๘ (ค.ศ. ๒๐๐๕)
แลนซ์ อาร์มสตรอง“ (Lance Armstrong / Lance Edward Gunderson : 1971) ชนะเลิศการแข่งขันจักรยานทางไกล “ทูร์เดอฟรองซ์“ (Tour de France) เป็นครั้งที่ ๗ ติดต่อกัน.

๒๓ กรกฎาคม

#วันนี้ในอดีต

เหตุการณ์สำคัญในวันที่ ๒๓ กรกฎาคม

● พ.ศ. ๒๔๕๗ (ค.ศ. ๑๙๑๔)
#พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ มีพระบรมราชโองการให้ตราพระราชกฤษฎีกาตั้ง #วรรณคดีสโมสร เพื่ออุดหนุนวิชาแต่งหนังสือภาษาไทยให้ดีขึ้น

● พ.ศ. ๒๔๖๙ (ค.ศ. ๑๙๒๖)
#บริษัทฟอกซ์ฟิล์มซื้อลิขสิทธิ์ระบบเสียงมูวีโทน เพื่อนำไปใช้บันทึกเสียงลงบนแผ่นฟิล์ม

● พ.ศ. ๒๔๙๕ (ค.ศ. ๑๙๕๒)
#การก่อรัฐประหารในประเทศอียิปต์ บังคับให้ “#พระเจ้าฟารูกที่หนึ่งแห่งอียิปต์“ (King Faruq I of Egypt : فاروق الأول / Fārūq al-Awwal : 1920-1965) สละราชสมบัติ

● พ.ศ. ๒๕๐๕ (ค.ศ. ๑๙๖๒)
#ดาวเทียมเทลสตาร์ส่งสัญญาณถ่ายทอดสดข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกเป็นครั้งแรก (Telstar Satellite)

● พ.ศ. ๒๕๒๗ (ค.ศ. ๑๙๘๔)
วาเนสซา แอล. วิลเลียมส์“ (Vanessa Lynn Williams : 1963) เป็น #นางงามอเมริกาคนแรกที่ออกจากตำแหน่ง หลังจากไปถ่ายภาพเปลือยให้นิตยสาร “#Penthouse

● พ.ศ. ๒๕๒๘ (ค.ศ. ๑๙๘๕)
เปิดการจราจรบน #สะพานพระนั่งเกล้า จังหวัดนนทบุรี

● พ.ศ. ๒๕๔๒ (ค.ศ. ๑๙๙๙)
เหตุการณ์จี้เครื่องบินเที่ยวบิน “เอเอ็นเอ ๖๑“ (#ANA61) ที่โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น

● พ.ศ. ๒๕๕๖ (ค.ศ. ๒๐๑๓)
เกิดเหตุโศกนาฏกรรมรถเทรลเลอร์ ๒๒ ล้อพุ่งชนรถโดยสารสายกรุงเทพ-อุดรธานี บริเวณถนนมิตรภาพ จังหวัดสระบุรี ก่อนเกิดเพลิงไหม้รถโดยสารซ้ำ ทำให้มีผู้เสียชีวิต ๑๙ ศพ บาดเจ็บ ๒๓ คน.

๒๒ กรกฎาคม

#วันนี้ในอดีต

เหตุการณ์สำคัญในวันที่ ๒๒ กรกฎาคม

● พ.ศ. ๒๔๐๗ (ค.ศ. ๑๘๖๔)
#สงครามกลางเมืองสหรัฐอเมริกา : กองกำลังสมาพันธรัฐประสบความล้มเหลวในการโจมตีทหารสหภาพใน #ยุทธภูมิแอตแลนตา (The Battle of Atlanta)

● พ.ศ. ๒๔๖๐ (ค.ศ. ๑๙๑๗)
#พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ตัดสินพระทัย #นำประเทศสยามเข้าร่วมการพระราชสงครามยุโรป (#สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง)

● พ.ศ. ๒๕๒๐ (ค.ศ. ๑๙๗๗)
“#เติ้งเสี่ยวผิง“ กลับเข้าสู่อำนาจทางการเมืองของสาธารณรัฐประชาชนจีนอีกครั้ง

● พ.ศ. ๒๕๓๙ (ค.ศ. ๑๙๙๖)
สมรักษ์ คำสิงห์“ ได้ #เหรียญทองโอลิมปิกเหรียญแรกของไทย ที่เมืองแอตแลนตา ประเทศสหรัฐอเมริกา

● พ.ศ. ๒๕๔๖ (ค.ศ. ๒๐๐๓)
~ ทหารสหรัฐอเมริกาบุกโจมตีอาคารหลังหนึ่งในเมืองโมสูลของประเทศอิรัก เป็นผลให้บุตรชาย ๒ คน ของ “ซัดดัม ฮุสเซน“ (คือ อูเดย์และคูเซย์) เสียชีวิต
~ “#บิ๊กดีทูบี“ หรือ “ปาณรวัฐ (อภิเชษฐ์) กิตติกรเจริญ“ ประสบอุบัติเหตุรถยนต์พลิกคว่ำตกลงไปในคูน้ำเน่าริมถนนศรีนครินทร์ ในเขตจังหวัดสมุทรปราการ แล้วมีอาการนอนหมดสติเป็นระยะเวลา ๔ ปี เนื่องจากเชื้อรากัดกินสมอง จึงเสียชีวิต (เมื่อวันที่ ๙ ธันวาคม ๒๕๕๐)

● พ.ศ. ๒๕๕๒ (ค.ศ. ๒๐๐๙)
#เกิดสุริยุปราคาเต็มดวง ในประเทศอินเดีย เนปาล บังกลาเทศ ภูฏาน ตอนเหนือสุดของพม่า เข้าสู่ประเทศจีนตอนกลาง ส่วนประเทศไทยจะเห็นเป็นสุริยุปราคาบางส่วน เมื่อเวลาประมาณ ๗ ถึง ๙ นาฬิกาตามเวลาในประเทศไทย นับเป็น #สุริยุปราคาที่ยาวนานที่สุดในคริสต์ศตวรรษที่๒๑ พร้อมกับข่าวลือว่าจะเกิดสึนามิและภัยพิบัติต่างๆ.