๓๐ มิถุนายน

#วันนี้ในอดีต

เหตุการณ์สำคัญในวันที่ ๓๐ มิถุนายน

● พ.ศ. ๒๔๓๗ (ค.ศ. ๑๘๙๔)
“#สะพานทาวเวอร์บริดจ์“ (Tower Bridge) ในกรุงลอนดอน เปิดใช้งานข้ามแม่น้ำเทมส์เป็นครั้งแรก

● พ.ศ. ๒๔๔๘ (ค.ศ. ๑๙๐๕)
อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์“ (Albert Einstein : 1879-1955) เผยแพร่บทความ “On the Electrodynamics of Moving Bodies“ ซึ่งนำเสนอ #ทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษ (Special Relativity)

● พ.ศ. ๒๔๕๑ (ค.ศ. ๑๙๐๘)
#เกิดเหตุการณ์ระเบิดที่ตุงกุสคาในไซบีเรีย

● พ.ศ. ๒๔๗๙ (ค.ศ. ๑๙๓๖)
นวนิยายเรื่อง “Gone with the Wind“ ของ “#นักเขียนรางวัลพูลิตเซอร์“ “มาร์กาเร็ต มิตเชลล์“ (Margaret Munnerlyn Mitchell : 1900-1949) ออกวางจำหน่ายเป็นครั้งแรก

● พ.ศ. ๒๕๐๓ (ค.ศ. ๑๙๖๐)
#ประเทศคองโกได้รับเอกราชจากประเทศเบลเยียม

● พ.ศ. ๒๕๑๔ (ค.ศ. ๑๙๗๑)
นักบินอวกาศบน “ยานโซยุซ๑๑“ (#Союз : #Soyuz = สหภาพ = Union) ของรัสเซียเสียชีวิต ๓ นาย เนื่องจากอากาศรั่วไหลออกนอกยาน

● พ.ศ. ๒๕๑๖ (ค.ศ. ๑๙๗๓)
#เกิดสุริยุปราคาเต็มดวง นาน ๗ นาที ๔ วินาที มองเห็นได้ในทวีปอเมริกาใต้และมหาสมุทรแอตแลนติก มีสุริยุปราคาเต็มดวงเพียง ๗ ครั้งเท่านั้นในคริสต์สหัสวรรษที่ ๒ ที่ยาวนานกว่า ๗ นาที

● พ.ศ. ๒๕๒๓ (ค.ศ. ๑๙๘๐)
#ขบวนการพูโลลอบวางระเบิด ๖ จุดในย่านชุมชนของกรุงเทพฯ และมีจดหมายขู่จะระเบิดให้ครบ ๔๐๐ จุด

● พ.ศ. ๒๕๓๓ (ค.ศ. ๑๙๙๐)
#เยอรมนีตะวันตกและเยอรมนีตะวันออกรวมเศรษฐกิจเข้าด้วยกัน

● พ.ศ. ๒๕๔๕ (ค.ศ. ๒๐๐๒)
#ทีมชาติบราซิลชนะเลิศการแข่งขันฟุตบอลโลก ครั้งที่ ๑๗

● พ.ศ. ๒๕๔๘ (ค.ศ. ๒๐๐๕)
สเปนเป็นประเทศที่สามที่อนุญาตให้ #การสมรสในเพศเดียวกันถูกต้องตามกฎหมาย

● พ.ศ. ๒๕๔๙ (ค.ศ. ๒๐๐๖)
พงษ์ศักดิ์เล็ก ศิษย์คนองศักดิ์“ (พงศกร “กร“ วันจงคำ : ๒๕๒๐) ทำลายสถิติโลก #การป้องกันตำแหน่งแชมป์โลกรุ่นฟลายเวตสภามวยโลกมากที่สุด ลง เมื่อป้องกัน #แชมป์โลกรุ่นฟลายเวต #WBC ครั้งที่ ๑๕ ชนะน็อก “อีเวอราโด โมราเลส“ ยกที่ ๔ ทำลายสถิติเดิมที่ “มิเกล คันโต“ ทำไว้ ๑๔ ครั้ง และต่อมาใน พ.ศ.๒๕๕๘ ได้รับมอบเข็มขัดเกียรติยศให้เป็น “#แชมป์โลกรุ่นฟลายเวตตลอดกาล“.

๒๙ มิถุนายน

#วันนี้ในอดีต

เหตุการณ์สำคัญในวันที่ ๒๙ มิถุนายน

● พ.ศ. ๒๑๕๖ (ค.ศ. ๑๖๑๓)
เกิดเพลิงไหม้เผาทำลาย “#โรงละครโกฺลบ“ ของ “วิลเลียม เชกสเปียร์

● พ.ศ. ๒๓๙๓ (ค.ศ. ๑๘๕๐)
#มีการค้นพบถ่านหินในเกาะแวนคูเวอร์ ประเทศแคนาดา

● พ.ศ. ๒๔๒๓ (ค.ศ. ๑๘๘๐)
#เกาะตาฮิตีเสียอธิปไตยให้กับประเทศฝรั่งเศส

● พ.ศ. ๒๔๓๖ (ค.ศ. ๑๘๙๓)
มีการประชุมรัฐสภาอังกฤษเกี่ยวกับเรื่อง “#ฝรั่งเศสกับสยาม

● พ.ศ. ๒๔๔๕ (ค.ศ. ๑๙๐๒)
ประกาศใช้ “#พระราชบัญญัติธนบัตรสยาม รัตนโกสินทรศก ๑๒๑

● พ.ศ. ๒๔๘๑ (ค.ศ. ๑๙๓๘)
เรือดำน้ำ ๔ ลำ ซึ่งสั่งต่อที่ประเทศญี่ปุ่น ได้แก่ “#เรือหลวงสินสมุทร“, “#เรือหลวงพลายชุมพล“, “#เรือหลวงมัจฉาณุ“ และ “#เรือหลวงวิรุณ“ เดินทางมาถึงประเทศสยาม

● พ.ศ. ๒๔๙๔ (ค.ศ. ๑๙๕๑)
#กบฏแมนฮัตตัน : ทหารเรือจำนวนหนึ่งก่อกบฏ ขณะมีพิธีส่งมอบ “#เรือขุดแมนฮัตตัน“ จากสหรัฐอเมริกา ฝ่ายกบฏจับตัว “จอมพล ป. พิบูลสงคราม“ เป็นตัวประกันไปไว้ที่ “#เรือหลวงศรีอยุธยา“ ฝ่ายรัฐบาลซึ่งสนับสนุนโดยทหารและตำรวจได้ปราบปรามอย่างรุนแรงนาน ๒ วัน ๓ คืน

● พ.ศ. ๒๕๑๗ (ค.ศ. ๑๙๗๔)
#วิทยาลัยวิชาการศึกษา ยกฐานะขึ้นเป็น #มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว)

● พ.ศ. ๒๕๑๙ (ค.ศ. ๑๙๗๖)
#ประเทศเซเชลส์ได้รับเอกราชจากสหราชอาณาจักร

● พ.ศ. ๒๕๒๙ (ค.ศ. ๑๙๘๖)
#ทีมชาติอาร์เจนตินาชนะเลิศฟุตบอลโลก ครั้งที่ ๑๓

● พ.ศ. ๒๕๓๘ (ค.ศ. ๑๙๙๕)
~ “#กระสวยอวกาศแอตแลนติส“ (Atlantis space shuttle) เชื่อมต่อกับ “#สถานีอวกาศมีร์“ (#Мирโลก/สันติภาพ : #Mir Space Station) ของรัสเซียเป็นครั้งแรก
~ “#พรรคมอญใหม่“ ลงนามหยุดยิงกับรัฐบาลทหารพม่า
~ “#ห้างสรรพสินค้าแซมพุง“ ของเกาหลีใต้ถล่มลงมาตั้งแต่ชั้น ๕.

๒๘ มิถุนายน

#วันนี้ในอดีต

เหตุการณ์สำคัญในวันที่ ๒๘ มิถุนายน

● พ.ศ. ๒๔๓๗ (ค.ศ. ๑๘๙๔)
#สหรัฐอเมริกาประกาศให้วันแรงงานเป็นวันหยุด (๑ พฤษภาคม)

● พ.ศ. ๒๔๕๗ (ค.ศ. ๑๙๑๔)
อาร์กดยุกฟรันซ์ แฟร์ดีนันด์“ (Franz Ferdinand Carl Ludwig Joseph Maria : 1863-1914) รัชทายาทแห่งจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี ถูกลอบปลงพระชนม์โดย “กัฟรีโล ปรินซีป“ นักชาตินิยมชาวเซิร์บ ในเหตุการณ์การลอบปลงพระชนม์ที่ซาราเยโว เป็น #ชนวนให้เกิดสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง

● พ.ศ. ๒๔๖๒ (ค.ศ. ๑๙๑๙)
#สงครามโลกครั้งที่หนึ่งยุติ หลังการลงนามใน “#สนธิสัญญาแวร์ซาย“ (Treaty of Versailles)

● พ.ศ. ๒๔๗๕ (ค.ศ. ๑๙๓๒)
#การปฏิวัติสยาม : “#คณะราษฎร“ ประชุมกันครั้งแรก ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม และมีมติแต่งตั้ง “#พระยามโนปกรณ์นิติธาดา“ (ก้อน หุตะสิงห์ : ๒๔๒๗ – ๒๔๙๑) ให้ดำรงตำแหน่ง “#ประธานกรรมการราษฎร“ นับเป็น #นายกรัฐมนตรีคนแรกของประเทศไทย

● พ.ศ. ๒๔๘๓ (ค.ศ. ๑๙๔๐)
#ประเทศโรมาเนียยกดินแดนเบสซาราเบียให้แก่สหภาพโซเวียต (ประเทศมอลโดวา ในปัจจุบัน)

● พ.ศ. ๒๔๙๓ (ค.ศ. ๑๙๕๐)
#เกาหลีเหนือเข้ายึดครองกรุงโซลของเกาหลีใต้

● พ.ศ. ๒๕๐๒ (ค.ศ. ๑๙๕๙)
#พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานเพลงพระราชนิพนธ์ “#มาร์ชราชนาวิกโยธิน“ เป็น #เพลงประจำหน่วยทหารนาวิกโยธิน ต่อมา #หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน (นนย.) จึงกำหนดให้วันที่ ๒๘ มิถุนายนของทุกปีเป็น #วันทหารนาวิกโยธิน

● พ.ศ. ๒๕๐๙ (ค.ศ. ๑๙๖๖)
#จัดตั้งอุทยานแห่งชาติเขาสามร้อยยอด

● พ.ศ. ๒๕๓๙ (ค.ศ. ๑๙๙๖)
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานนาม “#สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร“ (Siridhorn International Institute of Technology : #SIIT) แก่ #มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

● พ.ศ. ๒๕๔๐ (ค.ศ. ๑๙๙๗)
ไมค์ ไทสัน“ ถูกปรับแพ้ในยกที่ ๓ ระหว่างการชกกับ “อีแวนเดอร์ โฮลิฟิลด์“ หลังจากกัดใบหูของโฮลิฟิลด์จนขาด

● พ.ศ. ๒๕๔๗ (ค.ศ. ๒๐๐๔)
#สงครามอิรัก : มีการส่งมอบอำนาจการปกครองให้รัฐบาลชั่วคราวของประเทศอิรัก หลังจากตกอยู่ในการยึดครองของประเทศสหรัฐอเมริกา

● พ.ศ. ๒๕๔๙ (ค.ศ. ๒๐๐๖)
#ประเทศมอนเตเนโกรเข้าเป็นสมาชิกสหประชาชาติ ลำดับที่ ๑๙๒.

๒๗ มิถุนายน

#วันนี้ในอดีต

เหตุการณ์สำคัญในวันที่ ๒๗ มิถุนายน

● พ.ศ. ๒๓๓๒ (ค.ศ. ๑๗๘๙)
ขุนนางบางส่วนในฝรั่งเศสร่วมมือกับ #สภาแห่งชาติ เปลี่ยนชื่อเป็น “#สภาร่างรัฐธรรมนูญแห่งชาติ

● พ.ศ. ๒๔๐๔ (ค.ศ. ๑๘๖๑)
#พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้คณะราชทูตสยามเดินทางไปเจริญทางพระราชไมตรียังราชสำนัก #สมเด็จพระจักรพรรดินโปเลียนที่สาม แห่งจักรวรรดิฝรั่งเศส

● พ.ศ. ๒๔๗๕ (ค.ศ. ๑๙๓๒)
#การปฏิวัติสยาม : #พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ ทรงลงพระปรมาภิไธยในรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว เรียกว่า “#พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช ๒๔๗๕

● พ.ศ. ๒๔๗๗ (ค.ศ. ๑๙๓๔)
#วันก่อตั้งมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง (มธก.) ปัจจุบันคือ #มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.)

● พ.ศ. ๒๔๙๓ (ค.ศ. ๑๙๕๐)
#สหรัฐอเมริกาส่งกองทัพเข้าร่วมในสงครามเกาหลี

● พ.ศ. ๒๕๑๐ (ค.ศ. ๑๙๖๗)
#เครื่องรับจ่ายเงินอัตโนมัติเครื่องแรกของโลก (#เอทีเอ็ม : #ATM) ติดตั้งในเมืองเอนฟิลด์ ทางเหนือของกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ

● พ.ศ. ๒๕๑๒ (ค.ศ. ๑๙๖๙)
#เหตุการณ์จลาจลสโตนวอลล์ : เริ่มขึ้นในนครนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา นับเป็น #จุดเริ่มต้นของการเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิกลุ่มคนรักร่วมเพศ

● พ.ศ. ๒๕๑๗ (ค.ศ. ๑๙๗๔)
ริชาร์ด เอ็ม. นิกสัน“ (Richard Milhous Nixon : 1913-1994) #ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา (คนที่ ๓๗) เดินทางเยือนสหภาพโซเวียตอย่างเป็นทางการ

● พ.ศ. ๒๕๑๙ (ค.ศ. ๑๙๗๖)
~ #เหตุการณ์หกตุลา : พระกิตติวุฑฺโฒ ให้สัมภาษณ์ หนังสือพิมพ์จตุรัสว่า “การฆ่าคนเพื่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ถือเป็นบุญกุศลเหมือนฆ่าปลาแกงตักบาตรพระ
~ สมาชิก “#แนวร่วมประชาชนเพื่อการปลดปล่อยปาเลสไตน์“ จี้เครื่องบินโดยสารของสายการบินแอร์ฟรานซ์ให้ไปลงที่ประเทศยูกันดา แต่ทางการอิสราเอลเข้าช่วยเหลือผู้โดยสารได้สำเร็จ

● พ.ศ. ๒๕๒๒ (ค.ศ. ๑๙๗๙)
#มูฮัมหมัดอาลีประกาศแขวนนวม

● พ.ศ. ๒๕๒๙ (ค.ศ. ๑๙๘๖)
#คดีพิพาทนิการากัวกับสหรัฐอเมริกา : ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศพิพากษาคัดค้านสหรัฐอเมริกา

● พ.ศ. ๒๕๓๑ (ค.ศ. ๑๙๘๘)
ชัง ช็อน-กู“ (장정구 : Jung-Koo Chang : 1962) ทำลายสถิติ #ป้องกันแชมป์โลกมวยสากลสูงสุดของทวีปเอเชีย โดยป้องกันแชมป์โลกรุ่นไลต์ฟลายเวท #WBC ครั้งที่ ๑๕ ได้ ทำลายสถิติเดิมของ “โยโกะ กูชิเกน“ ที่ทำไว้ ๑๔ ครั้ง และเป็นสถิติโลกในรุ่น ๑๐๘ ปอนด์ด้วย ก่อนจะถูกทำลายลงโดย “ยูห์ เมียงวู

● พ.ศ. ๒๕๓๔ (ค.ศ. ๑๙๙๑)
#กองทัพยูโกสลาเวียบุกจู่โจมประเทศสโลวีเนีย ที่เพิ่งประกาศเอกราชได้เพียงสองวัน

● พ.ศ. ๒๕๔๒ (ค.ศ. ๑๙๙๙)
#เกิดเหตุลอบวางระเบิดแท่นขุดเจาะน้ำมัน ของบริษัทเชลล์ในประเทศไนจีเรีย โดย “กลุ่มเพื่อความพอเพียงในแม่น้ำไนเจอร์“ ออกมาอ้างความรับผิดชอบ.

๒๖ มิถุนายน

#วันนี้ในอดีต

เหตุการณ์สำคัญในวันที่ ๒๖ มิถุนายน

● พ.ศ. ๒๓๙๘ (ค.ศ. ๑๘๕๕)
ตั้งชื่อ “#บางนางรมย์“ เป็น “#ประจวบคีรีขันธ์“ และ “#เกาะกง“ เป็น “#ปัจจันตคีรีเขต

● พ.ศ. ๒๔๘๘ (ค.ศ. ๑๙๔๕)
ประเทศสมาชิกลงนามใน #กฎบัตรสหประชาชาติ (Charter of the United Nations) ณ นครซานฟรานซิสโก รัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา

● พ.ศ. ๒๔๙๑ (ค.ศ. ๑๙๔๘)
สหรัฐอเมริกา อังกฤษ และฝรั่งเศส เริ่มลำเลียงสิ่งของทางอากาศเข้าสู่เบอร์ลินตะวันตก หลังจากสหภาพโซเวียตปิดกั้นทางเข้าออกทั้งภาคพื้นดินและพื้นน้ำ

● พ.ศ. ๒๕๐๓ (ค.ศ. ๑๙๖๐)
#มาดากัสการ์ประกาศเอกราช (#Madagascar)

● พ.ศ. ๒๕๐๖ (ค.ศ. ๑๙๖๓)
จอห์น เอฟ. เคนเนดี“ (John Fitzgerald Kennedy : #JFK : 1917-1963) #ประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา (คนที่ ๓๕) กล่าวสุนทรพจน์ที่มีชื่อเสียงว่า “#ผมเป็นพลเมืองเบอร์ลิน“ : “Ich bin ein Berliner

● พ.ศ. ๒๕๒๐ (ค.ศ. ๑๙๗๗)
#เอลวิสเพรสลีย์แสดงคอนเสิร์ตครั้งสุดท้าย (Elvis Aaron Presley : 1935-1977)

● พ.ศ. ๒๕๔๕ (ค.ศ. ๒๐๐๒)
ภราดร ศรีชาพันธุ์“ นักเทนนิสมือวางอันดับหนึ่งของไทย และมือวางอันดับ ๖๗ ของโลก (ในขณะนั้น) เอาชนะ “อังเดร อากัสซี“ มือวางอันดับ ๓ ของรายการ ในรอบสองของ #เทนนิสวิมเบิลดัน

● พ.ศ. ๒๕๕๙ (ค.ศ. ๒๐๑๖)
#ทีมชาติชิลีชนะเลิศการแข่งขันฟุตบอลรายการโคปาอเมริกา เซนเตนาริโอ.

๒๕ มิถุนายน

#วันนี้ในอดีต

เหตุการณ์สำคัญในวันที่ ๒๕ มิถุนายน

● พ.ศ. ๒๔๙๓ (ค.ศ. ๑๙๕๐)
~ หนังสือพิมพ์ #สยามรัฐ วางจำหน่ายเป็นปฐมฤกษ์
~ #สงครามเกาหลี : ระหว่างสหประชาชาติกับเกาหลีเหนือเริ่มต้นขึ้น

● พ.ศ. ๒๕๑๘ (ค.ศ. ๑๙๗๕)
#สาธารณรัฐโมซัมบิกประกาศเอกราช 🇲🇿 (Republic of Mozambique)

พ.ศ. ๒๕๒๕ (ค.ศ. ๑๙๘๒)
#ประเทศกรีซยกเลิกการโกนหัวในการเกณฑ์ทหาร

● พ.ศ. ๒๕๓๔ (ค.ศ. ๑๙๙๑)
#โครเอเชียและสโลวีเนียแยกตัวเป็นเอกราชจากยูโกสลาเวีย

● พ.ศ. ๒๕๓๖ (ค.ศ. ๑๙๙๓)
เดวิด เลตเตอร์แมน“ ออกอากาศตอนสุดท้ายของ “Late Night with David Letterman

● พ.ศ. ๒๕๓๖ (ค.ศ. ๑๙๙๓)
คิม แคมป์เบลล์“ (Avril Phaedra Douglas “Kim“ Campbell : 1947) ได้รับเลือกให้เป็น #นายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของแคนาดา

● พ.ศ. ๒๕๔๑ (ค.ศ. ๑๙๙๘)
#บริษัทไมโครซอฟท์วางจำหน่ายวินโดวส์๙๘ (#Windows98).

๒๔ มิถุนายน

#วันนี้ในอดีต

เหตุการณ์สำคัญในวันที่ ๒๔ มิถุนายน

● พ.ศ. ๒๑๑๔ (ค.ศ. ๑๕๗๑)
#สถาปนาเมืองมะนิลา (Manila/Maynila) ในประเทศฟิลิปปินส์

● พ.ศ. ๒๒๖๗ (ค.ศ. ๑๗๒๔)
รัสเซียและตุรกีร่วมลงนามใน “#สนธิสัญญาแห่งคอนสแตนติโนเปิล“ (The Treaty of Constantinople : Константинопольский договор : Russo-Ottoman Treaty : Treaty of the Partition of Persia / Iran Mukasemenamesi)

● พ.ศ. ๒๓๖๔ (ค.ศ. ๑๘๒๑)
#ยุทธการการาโบโบเริ่มต้นขึ้น (Battle of Carabobo) เป็นสงครามครั้งสำคัญเพื่อปลดปล่อยเวเนซุเอลาจากการปกครองของสเปน

● พ.ศ. ๒๔๗๕ (ค.ศ. ๑๙๓๒)
#การปฏิวัติสยาม : “#คณะราษฎร“ ก่อการปฏิวัติยึดอำนาจการปกครองแผ่นดินจาก #พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ โดยจับกุมพระบรมวงศานุวงศ์พระองค์สำคัญเป็นตัวประกัน เพื่อบังคับให้พระราชทานรัฐธรรมนูญและ #เปลี่ยนระบอบการปกครองจากสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นประชาธิปไตย ด้วยพระมหากรุณาธิคุณมิต้องพระราชประสงค์จะให้มีการเสียเลือดเนื้อเพื่อต่อต้านกัน จึงมีพระบรมราชานุมัติให้เป็นไปตามประสงค์ของคณะผู้ก่อการ

● พ.ศ. ๒๔๘๒ (ค.ศ. ๑๙๓๙)
รัฐบาล จอมพล ป. พิบูลสงคราม ประกาศใช้ “#รัฐนิยมฉบับที่๑“ อันมีสาระเกี่ยวกับ #การเปลี่ยนชื่อประเทศจากสยามเป็นไทย

● พ.ศ. ๒๔๘๒ (ค.ศ. ๑๙๓๙)
#เริ่มการก่อสร้างอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย บนถนนราชดำเนินกลาง

● พ.ศ. ๒๔๘๕ (ค.ศ. ๑๙๔๒)
#พิธีเปิดอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ที่บริเวณต้น “#ทางหลวงประชาธิปัตย์“ จังหวัดพระนคร (ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น “#ถนนพหลโยธิน“)

● พ.ศ. ๒๔๙๐ (ค.ศ. ๑๙๔๗)
เคนเนท อาร์โนลด์“ สังเกตเห็นจานบิน ๙ ลำ บินเหนือท้องฟ้ารัฐวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา เป็นรายงานการเห็น “#ยูเอฟโอ“ (#UFO : unidentified flying object) ที่โด่งดังครั้งแรก

● พ.ศ. ๒๔๙๑ (ค.ศ. ๑๙๔๘)
#เริ่มการปิดล้อมเบอร์ลิน เมื่อสหภาพโซเวียตปิดกั้นเส้นทางที่เชื่อมระหว่างเยอรมนีตะวันตกกับเบอร์ลินตะวันตก

● พ.ศ. ๒๔๙๘ (ค.ศ. ๑๙๕๕)
พิธีเปิดและแพร่สัญญาณ “#สถานีโทรทัศน์ช่อง๔ บางขุนพรหม“ ซึ่งเป็น #สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งแรกของไทย (ปัจจุบันคือ “สถานีโทรทัศน์ช่อง ๙ เอ็มคอตเอชดี“ : #MCOTHD)

● พ.ศ. ๒๕๑๒ (ค.ศ. ๑๙๖๙)
#พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙ เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเปิด #โรงพิมพ์ธนบัตร ณ ธนาคารแห่งประเทศไทย บริเวณพื้นที่เดิมของ “#วังบางขุนพรหม“.

เมี่ยงคำ

#เมี่ยงคำ
มรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของไทย
เป็นอาหารว่างของไทยชนิดหนึ่ง
ที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง
เนื่องจากประกอบด้วย #สมุนไพร หลายชนิด
ที่มีคุณสมบัติในการบำรุงรักษาธาตุทั้งสี่
เพื่อให้สมดุลกัน

เมื่อพุทธศักราช ๒๕๕๗
#กรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.)
ได้ขึ้นทะเบียนให้ “เมี่ยงคำ
เป็น…#มรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้
(The Intangible Cultural Heritage)
ตาม…#อนุสัญญาว่าด้วยการสงวนรักษามรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ พ.ศ. ๒๕๔๖
CONVENTION FOR THE SAFEGUARDING
OF THE INTANGIBLE CULTURAL HERITAGE : 2003

ดาวน์โหลดอนุสัญญา
ภาษาอังกฤษ : https://drive.google.com/file/d/1pPAIRe656843Ihl16Ik3FtCuogVFI8jS/view?usp=drivesdk
ภาษาไทย : https://drive.google.com/file/d/1rzCD2wO0_YM3LzMv2aXNtyPYNVbX0tzM/view?usp=drivesdk

วันทหารช่าง

๒๓ มิถุนายน ๒๔๑๘ – ๒๕๖๑
วาระครบ ๑๔๓ ปี แห่งการสถาปนา
…“#กองเอนยิเนีย
จุดเริ่มต้น…
กิจการ “#ทหารช่าง“ อย่างเป็นสากล
ในราชอาณาจักรไทย

“#เหล่าทหารช่าง
ภารกิจหลักของกองทัพ
หนึ่งใน “#จตุรงค์เสมา
แต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี.

FIRST IN – LAST OUT
#ยามศึกเรารบยามสงบเราพร้อม

#วันทหารช่าง

๒๓ มิถุนายน

#วันนี้ในอดีต

เหตุการณ์สำคัญในวันที่ ๒๓ มิถุนายน

● พ.ศ. ๒๓๓๗ (ค.ศ. ๑๗๙๔)
#สมเด็จพระจักรพรรดินีนาถแคทเธอรีนที่สองแห่งรัสเซีย (Catherine II of Russia : 1729-1796 / มีพระราชสมัญญาว่า “#แคทเธอรีนมหาราชินี“ : Екатерина II Великая : Katharina die Große) มีพระบรมราชานุญาตให้ชาวยิวตั้งรกรากอยู่ในเมืองเคียฟได้

● พ.ศ. ๒๔๓๐ (ค.ศ. ๑๘๘๗)
แคนาดากำหนดให้ “#อุทยานแห่งชาติแบนฟ์“ (Banff National Park) เป็นอุทยานแห่งชาติแห่งแรกของประเทศ

● พ.ศ. ๒๔๓๑ (ค.ศ. ๑๘๘๘)
เฟเดริก ดักกลาส“ (Frederick Douglass : 1818-1895) เป็น #ชาวสหรัฐอเมริกาเชื้อสายแอฟริกาคนแรกที่ได้รับสิทธิลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดี (African American)

● พ.ศ. ๒๔๓๖ (ค.ศ. ๑๘๙๓)
#สยามเรียกทหารอาสาสมัคร จำนวน ๑ พันคน

● พ.ศ. ๒๔๓๗ (ค.ศ. ๑๘๙๔)
International Olympic Committee : #IOC : #คณะกรรมการโอลิมปิกสากลก่อตั้งขึ้นที่มหาวิทยาลัยปารีส (ชื่อเดิมคือมหาวิทยาลัยซอร์บอน“) ในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส

● พ.ศ. ๒๔๙๐ (ค.ศ. ๑๙๔๗)
รัฐสภาสหรัฐอเมริกาผ่านความเห็นชอบ “ข้อตกลงทาฟต์-ฮาร์ทลีย์“ (Taft-Hartley Act) ให้เป็น #กฎหมายควบคุมแรงงาน ซึ่งเคยถูกยับยั้งด้วยวีโต้ (veto) โดยประธานาธิบดี แฮร์รี เอส ทรูแมน

● พ.ศ. ๒๕๒๘ (ค.ศ. ๑๙๘๕)
เครื่องบินไอพ่นแบบ ๔ เครื่องยนต์ ถูกลอบวางระเบิดเหนือมหาสมุทรแอตแลนติก โดยมีผู้ก่อการร้ายชาวซิกข์ในแคชเมียร์ออกมาอ้างความรับผิดชอบ

● พ.ศ. ๒๕๒๙ (ค.ศ. ๑๙๘๖)
#เหตุการณ์ชุมนุมประท้วงคัดค้านโรงงานถลุงแร่ที่จังหวัดภูเก็ต : ผู้ชุมนุมประท้วงก่อเหตุเผาโรงงาน “#ไทยแลนด์แทนทาลัม“ (Thailand Tantalum Factory) อันนำไปสู่การก่อจลาจลทั่วจังหวัดภูเก็ต จนรัฐบาลต้องประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน เหตุการณ์ในครั้งนั้น #ทำให้ภูเก็ตเปลี่ยนผ่านจากอุตสาหกรรมเหมืองแร่ไปสู่อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวอย่างสิ้นเชิง.