แสงสุดท้ายของลิโด

#แสงสุดท้ายของลิโด
(โคลงสี่สุภาพ)

◎ จวนจะลับอับสิ้น…..แสงฉาย
จวนจะลาม่านกราย…ปิดกั้น
จวนจะจบแสงพราย…ริบหรี่ ลงนา
จวนจะลากระชั้น……..อีกเสี้ยวนาที

◎ ลาทีลาจากแล้ว…….อำลา
ลาก่อนแล้วเพื่อนยา….จากลี้
ลาลับดับแสงลา……….ปิดม่าน ลงเฮย
ลา “ลิโด“ เพียงนี้……..สุดท้ายมืดพลัน ๚ะ๛

ตึก หน้าพระลาน
๓๑ พฤษภาคม ๒๕๖๑ / ๒๓:๐๒ น.

#วันสุดท้ายของการฉายภาพยนตร์ของลิโด

ลิโดรอบสุดท้าย

#ลิโดรอบสุดท้าย

◎ เมื่อก่อนพลบพบสุดท้ายใกล้เจียนจบ
เต็มจนครบหมดทุกรอบจบความหวัง
วันสุดท้ายก่อนจากลาอาวรณ์ยัง
เป็นความหลัง “ลิโด“ ลาสุดอาลัย ๚ะ๛

ตึก หน้าพระลาน
๓๑ พฤษภาคม ๒๕๖๑ / ๑๘:๕๘ น.

ภาพเมื่อเวลา ๑๗:๓๐ น.
ณ โรงภาพยนตร์ #ลิโด มัลติเพล็กซ์
#วันสุดท้ายของการฉายภาพยนตร์ของลิโด

นักร้องสมัครเล่นยอดเยี่ยมแห่งเอเชียคนแรกของไทย

Congratulations! 🎆🎉

เมื่อวันพุธที่ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๒๑
บนเวทีประกวดขับร้องเพลงชิงแชมป์เอเชีย
ที่ประเทศฮ่องกง
สาวน้อยวัย ๑๘ ปี…ตัวแทนประเทศไทย
นางสาวนันทิดา แก้วบัวสาย
นักร้องสมัครเล่นยอดเยี่ยม
ของสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง ๓
เป็นคนไทยคนแรกกับรางวัล…
#นักร้องสมัครเล่นยอดเยี่ยมแห่งเอเชีย 🎤

เพลงที่ใช้ในการประกวดคือ
…เพลง “ I Who Have Nothing
https://youtu.be/y8Vk-myxw14

เวลาผ่านไป…ไวเหมือนโกหก
ครบสี่สิบปีแห่งความสำเร็จเบื้องต้น
ของ “ตู่ นันทิดา

๓๑ พฤษภาคม

#วันนี้ในอดีต

เหตุการณ์สำคัญในวันที่ ๓๑ พฤษภาคม

● พ.ศ. ๒๔๒๓ (ค.ศ. ๑๘๘๐)
#สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี (ในรัชกาลที่ ๕) เสด็จสวรรคต พร้อมด้วย สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ #เจ้าฟ้ากรรณาภรณ์เพชรรัตน์ พระธิดา และพระโอรสในพระครรภ์ ด้วยอุบัติเหตุเรือพระประเทียบล่ม ระหว่างโดยเสด็จพระราชดำเนิน #พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แปรพระราชฐานไปประทับแรม ณ พระราชวังบางปะอิน

● พ.ศ. ๒๔๓๒ (ค.ศ. ๑๘๘๙)
#อุทกภัยที่จอนส์ทาวน์ : เกิดอุทกภัยคร่าชีวิตประชาชนกว่า ๒.๒ พันคน ในเมืองจอนส์ทาวน์ รัฐเพนซิลเวเนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา

● พ.ศ. ๒๔๕๙ (ค.ศ. ๑๙๑๖)
#สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง : กองทัพเรือเยอรมนีและอังกฤษปะทะกันที่จัตแลนด์ อันเป็น #ยุทธนาวีที่ใหญ่ที่สุดในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง รู้จักกันในชื่อ “#ยุทธนาวีที่จัตแลนด์“ (Battle of Jutland)

● พ.ศ. ๒๔๘๕ (ค.ศ. ๑๙๔๒)
#สงครามโลกครั้งที่สอง : “#ลุฟต์วัฟเฟอ“ (The Luftwaffe) ของประเทศเยอรมนี ปฏิบัติการทิ้งระเบิดเมืองโคเวนทรี ประเทศอังกฤษ

● พ.ศ. ๒๕๑๕ (ค.ศ. ๑๙๗๒)
#อาแจกซ์ชนะเลิศการแข่งขันฟุตบอลถ้วยยูโรเปียนคัพ (European Cup »» #ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก : UEFA Champions League : #UCL ในปัจจุบัน) นับเป็นการครองถ้วยนี้เป็นสมัยที่ ๒ ในประวัติศาสตร์สโมสร

● พ.ศ. ๒๕๒๐ (ค.ศ. ๑๙๗๗)
#ระบบแนวท่อส่งน้ำมันข้ามอะแลสกาสร้างเสร็จสมบูรณ์

● พ.ศ. ๒๕๒๘ (ค.ศ. ๑๙๘๕)
#พายุทอร์นาโด จำนวน ๔๑ ลูก พัดเข้ารัฐโอไฮโอ รัฐเพนซิลเวเนีย รัฐนิวยอร์ก และรัฐออนแทรีโอ ประเทศสหรัฐอเมริกา ทำให้มีผู้เสียชีวิต ๗๖ คน

● พ.ศ. ๒๕๔๐ (ค.ศ. ๑๙๙๗)
ระหว่าง #การประชุมระดับรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ ชาติสมาชิกอาเซียน ๗ ประเทศ มีมติรับ ประเทศเมียนมา ประเทศกัมพูชา และ ประเทศลาว เข้าเป็นสมาชิก “#อาเซียน“ (#ASEAN)

● พ.ศ. ๒๕๔๕ (ค.ศ. ๒๐๐๒)
นัดเปิดสนาม #ฟุตบอลโลก๒๐๐๒ ซึ่งมีประเทศญี่ปุ่นและประเทศเกาหลีใต้เป็นเจ้าภาพร่วม นับเป็น #การจัดฟุตบอลโลกที่มีเจ้าภาพร่วมกันเป็นครั้งแรก.

ลิโดอำลา

#ลิโดอำลา

◎ จำจากไปใจหายวาบน้ำอาบแก้ม
ภาพจำแต้มจางลงคงคิดถึง
ไม่พ้นจากวันใดไม่คำนึง
ลืมไม่ลงว่าวันหนึ่งเราเคยมี

◎ ผ่านหลากรุ่นครุ่นคิดคนติดหนัง
ผ่านความหลังยังบันเทิงเสียงอึงมี่
ผ่านหลากรุ่นนับนานห้าสิบปี
ผ่านวันนี้คงไม่มี “ลิโด“ แล้ว

◎ จากโรงเดี่ยวเป็นสามโรงมัลติเพล็กซ์
จากวัยเด็กเริ่มชราพาใจแป้ว
จากลากันครั้งนี้หมดสิ้นแวว
จากเพื่อนแก้วเพื่อนลิโดโอ้อาลัย ๚ะ๛

ตึก หน้าพระลาน
๓๑ พฤษภาคม ๒๕๖๑ / ๐๒:๑๖ น.

#เราโตมาด้วยกันนะ
#เพื่อนจากเราไปก่อน

ภาพประกอบ :
ผู้บริหารและพนักงานโรงภาพยนตร์ “#ลิโด“ ถ่ายภาพร่วมกันเป็นที่ระลึก เมื่อเช้าวันที่ ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๖๑
#วันสุดท้ายของการฉายภาพยนตร์ของลิโด

ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่รุ่นแรก (Theatre of 2509) นับตั้งแต่ก่อตั้งโรงภาพยนตร์ใน #เครือเอเพ็กซ์ ที่ย่าน #สยามสแควร์ โดยสร้าง “#โรงภาพยนตร์สยาม“ เป็นแห่งแรก ได้มาถ่ายภาพร่วมกันด้วย
จากขวาไปซ้ายของภาพ :
สมาน วชิรศิริโรจน์, อุบล คล้ายทอง, พวงทอง ศิริวรรณ, นันทา ตันสัจจา, สุชาติ วุฒิวิชัย และ จุไรรัตน์ ศิลปอุไร.

กุหลาบมอญ

#กุหลาบมอญ

◎ ดอกดวงเด่นเห็นถนัดขนัดกลีบ
ชื่นชูชีพชีวันพรรณไม้หอม
สารพัดสรรพคุณชวนอดออม
ประโยชน์หลากมากพร้อมสารพัน

◎ ไม้ตะเลงแต่บูรพ์บรรพ์พรรณไม้หอม
ทรงถนอมนำมาปลูกไว้เชยขวัญ
ยี่สุ่นเทศจึงเรียกแปลงออกชื่อพลัน
กุหลาบมอญแต่บัดนั้นกันสืบมา

◎ อยู่บ้านเรามานานจนสนิท
เพลินชมพิศจิตภิรมย์รื่นนาสา
เป็นไม้ดีมีคุณเกินสมญา
พรรณพฤกษาน่าถนอมกล่อมเกลี้ยงเอย ๚ะ๛

ตึก หน้าพระลาน
๓๐ พฤษภาคม ๒๕๖๑ / ๑๖:๑๖ น.

※※※※※※※※※※
กุหลาบมอญ“ หรือ “#ยี่สุ่น
ชื่อสามัญ : Damask rose, Pink damask rose, Summer damask rose, Rose
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Rosa damascena Mill
จัดอยู่ในวงศ์กุหลาบ (ROSACEAE)
เป็นไม้พุ่มสูง ๑ ถึง ๒ เมตร
แตกกิ่งก้านตั้งแต่โคนต้น
เปลือกต้นเรียบ
มีหนามแหลมตามกิ่งและตามลำต้น
ปกติมีหนามมากและมีความยาวไม่เท่ากัน
มีลักษณะตรงถึงโค้งเล็กน้อย
หนามอ่อนเป็นสีน้ำตาลแกมสีแดง
ส่วนหนามแก่เป็นสีเทา

ใบประกอบแบบขนนก ปลายใบคี่
ออกเรียงสลับกัน
ใบย่อยเป็นรูปไข่ ประมาณ ๓ ถึง ๕ ใบ
ปลายใบแหลม โคนใบมน ขอบใบหยักฟันเลื่อย
แผ่นใบด้านล่างมีขนไม่มีต่อม
หูใบส่วนใหญ่ขอบเรียบ ปลายยื่นยาว
ส่วนก้านใบมีขนสีน้ำตาลแดง
ออกดอกที่ปลายกิ่งเป็นดอกช่อ
แบบกระจะหรือช่อแบบกระจุกแตกแขนง
มีประมาณ ๓ ถึง ๑๐ ดอก หรือมากกว่านี้
ออกดอกบริเวณปลายยอด
ดอกย่อยเป็นสีชมพูและมีกลิ่นหอม
มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางกว้าง ๘ เซนติเมตร

กลีบดอกมีกลิ่นหอม
ค่อนข้างกลมเรียงซ้อนกันเป็นชั้นๆ
ปลายกลีบดอกมน เป็นหยักตื้นๆ หรือเป็นคลื่น
โดยปกติมีกลีบดอก ๒๐ ถึง ๓๐ กลีบ
กลีบดอกมีตั้งแต่สีแดงจนถึงสีขาว
แต่ส่วนใหญ่จะเป็นสีชมพูกุหลาบถึงแดง
ดอกมีเกสรเพศผู้จำนวนมาก ๑๐๐ ถึง ๑๒๐ ก้าน
ส่วนเกสรเพศเมียมีจำนวนมากเช่นกัน
ก้านเกสรมีขน
ส่วนกลีบเลี้ยงดอกเป็นสีเขียว
มีลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยม
เป็นติ่งแหลมกว้าง ม้วนโค้งตอนดอกบาน มีต่อม
ส่วนฐานรองดอกมีลักษณะเป็นรูปถ้วย
ด้านนอกมีต่อมขนอยู่เป็นจำนวนมาก
และด้านในมีขน
ส่วนก้านช่อดอกยาว ๗ เซนติเมตร
และมีหนามเล็กๆ

ผลเป็นรูปทรงกลม บ้างว่ารูปไข่
ยาว ๒.๕ เซนติเมตร มีสีแดงอ่อนถึงเข้ม
ผลเป็นผลสดและเป็นผลกลุ่ม
ในผลมีเมล็ดสีออกน้ำตาลประมาณ ๑ ถึง ๓ เมล็ด ลักษณะของเมล็ดเป็นรูปสามเหลี่ยมกลม
ยาวประมาณ ๐.๓ ถึง ๐.๕ เซนติเมตร

กุหลาบมอญ“ เป็นไม้ดอกกลางแจ้ง
เจริญเติบโตได้ดีในที่โล่งกลางแจ้ง
กับในดินร่วนซุยที่มีธาตุอาหารเพียงพอ
และระบายน้ำได้ดี
ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดและการปักชำกิ่ง
วิธีการตอนกิ่งเป็นวิธีที่นิยมที่สุด
เนื่องจากออกรากได้ง่าย

กุหลาบมอญ
เป็นไม้ดอกที่มีดอกสวยงาม
และมีกลิ่นหอมแรงมาก
ดอกบานได้หลายวัน
ออกดอกได้ตลอดทั้งปี
ปลูกได้ง่าย และดูแลรักษาไม่ยาก

#สรรพคุณของกุหลาบมอญ
● ในตำรายาไทยใช้กลีบดอกมีรสสุขม เช่น “กุหลาบมอญ“ เข้า “ยาหอม“ เป็นยาบำรุงหัวใจ
● ดอกแห้งช่วยแก้อาการอ่อนเพลีย และเป็นยาระบายอ่อนๆ
● น้ำดอกไม้เทศที่มีส่วนผสมของกุหลาบมอญ ช่วยแก้อาการอ่อนเพลียและกระวนกระวาย
● กลีบดอกช่วยขับน้ำดี

#ข้อมูลทางเภสัชวิทยา ของ “กุหลาบมอญ
● มีฤทธิ์ในการคลายกล้ามเนื้อเรียบ
● มีฤทธิ์กดการทำงานของกล้ามเนื้อลาย
● น้ำมันกุหลาบมอญเป็นสารที่มีความปลอดภัยในการใช้ทดลอง (LD50)

#ประโยชน์ของกุหลาบมอญ
● นำดอกมาร้อยเป็นอุบะมาลัย กลีบมาร้อยเป็นพวง
● นำกลีบดอกมาชุบแป้งทอด กินเป็นผักแนมกับน้ำพริก หรือทำเป็น “ยำดอกกุหลาบ”
● ใช้แต่งหน้าขนมตะโก้ หรือโรยบนท่อนอ้อยควั่น เพิ่มความสวยงาม
● กลีบดอกตากแห้งใช้ทำเป็น “ชากุหลาบ“ หากมีรสฝาดก็ให้เติมมะนาวหรือเกลือ
● กลีบดอกสดใช้น้ำมันหอมระเหยแต่งกลิ่นเครื่องสำอาง แต่งกลิ่นยา แต่งกลิ่นอาหาร และน้ำเชื่อมของขนมไทย หรือทำดอกไม้ประดิษฐ์และ “บุหงา“
● น้ำกุหลาบใช้เป็นส่วนผสมของน้ำดอกไม้เทศ
● ปลูกเป็นไม้ประดับ

เหตุที่เรียกว่า “กุหลาบมอญ
เพราะเดิมเป็นไม้พันธุ์พื้นเมืองหงสาวดี
เป็นที่โปรดปรานของ
สมเด็จพระนเรศวรราชาธิราชเป็นเจ้า
เมื่อครั้งประทับที่กรุงหงสาวดี
เมื่อเสด็จนิวัตอโยธยา
จึงโปรดให้นำกลับมาปลูกในเมืองไทย

เครดิตภาพ :
ดอกกุหลาบมอญ“ ที่ “วังไกลกังวล“ หัวหิน
#Jomsurawong @soomkiaw

๓๐ พฤษภาคม

#วันนี้ในอดีต

เหตุการณ์สำคัญในวันที่ ๓๐ พฤษภาคม

● พ.ศ. ๑๙๗๔ (ค.ศ. ๑๔๓๑)
#สงครามร้อยปี : #โยนออฟอาร์คถูกประหารชีวิตด้วยการเผาทั้งเป็น ที่เมืองรูอ็อง ประเทศฝรั่งเศส

● พ.ศ. ๒๑๑๗ (ค.ศ. ๑๕๗๔)
พระเจ้าเฮนริก วาเลซี“ แห่งเครือจักรภพโปแลนด์-ลิทัวเนีย ขึ้นทรงราชย์เป็น “#พระเจ้าอ็องรีที่สาม“ แห่งฝรั่งเศส (Henry III of France : 1551-1589)

● พ.ศ. ๒๔๕๑ (ค.ศ. ๑๙๐๘)
ก่อตั้ง “#สมาคมบูดีโอโตโม“ ในประเทศอินโดนีเซีย

● พ.ศ. ๒๔๕๔ (ค.ศ. ๑๙๑๑)
#การแข่งรถอินเดียแนโพลิส๕๐๐จัดขึ้นเป็นครั้งแรก ที่สนามแข่งรถอินเดียแนโพลิสมอเตอร์สปีดเวย์ ในเมืองสปีดเวย์ รัฐอินเดียนา ประเทศสหรัฐอเมริกา

● พ.ศ. ๒๔๕๕ (ค.ศ. ๑๙๑๒)
“#สมเด็จพระจักรพรรดิมุสึฮิโตะ“ (睦仁天皇 / Mutsuhito-tennō : 1853-1912) หรือที่ออกพระนามตามรัชสมัยว่า “#สมเด็จพระจักรพรรดิเมจิ“ (明治天皇 / Meiji-tennō) พระจักรพรรดิญี่ปุ่นพระองค์ที่ ๑๒๒ เสด็จไปร่วมพิธีสำเร็จการศึกษาของโรงเรียนเตรียมทหารในสังกัดกองทัพบก ทรงตรวจแถวนักเรียนที่เพิ่งจบ และพระราชทานปริญญาบัตรเป็นครั้งสุดท้ายในรัชสมัย

● พ.ศ. ๒๔๕๗ (ค.ศ. ๑๙๑๔)
#พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเปิด #โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ นับเป็น #โรงพยาบาลแห่งแรกของสภากาชาดไทย

● พ.ศ. ๒๔๗๘ (ค.ศ. ๑๙๓๕)
เบบ รูธ“ (George Herman “Babe“ Ruth Jr. : 1895 -1948) นักกีฬาเบสบอลอาชีพชาวสหรัฐอเมริกา ลงแข่งขันเบสบอลเป็นครั้งสุดท้ายกับทีม “Boston Braves

● พ.ศ. ๒๔๘๔ (ค.ศ. ๑๙๔๑)
#สงครามโลกครั้งที่สอง : #กองทัพเยอรมนีบุกเข้ายึดครองเมืองครีต

● พ.ศ. ๒๔๘๖ (ค.ศ. ๑๙๔๒)
สงครามโลกครั้งที่สอง : #กองทัพอังกฤษโจมตีเมืองโคโลญ ประเทศเยอรมนี โดยการทิ้งระเบิด ๑ พันลูก เป็นเวลา ๑ ชั่วโมงครึ่ง

● พ.ศ. ๒๕๒๕ (ค.ศ. ๑๙๘๒)
#สเปนเข้าร่วมเป็นสมาชิกนาโต (#NATO) ในลำดับที่ ๑๖

● พ.ศ. ๒๕๔๑ (ค.ศ. ๑๙๙๘)
#เกิดแผ่นดินไหวครั้งรุนแรงในอัฟกานิสถาน ทางตอนเหนือของประเทศ ความรุนแรงระดับ ๖.๖ คร่าชีวิตผู้คนไปกว่า ๕ พันคน

● พ.ศ. ๒๕๔๒ (ค.ศ. ๑๙๙๙)
กองกำลัง #ELN บุกยึดโบสถ์เมืองอาร์ดิน ประเทศโคลัมเบีย เพื่อจับตัวประกัน ๑๖๐ คน ไปเรียกค่าไถ่ ในวันต่อมาได้ปล่อยตัวประกัน ๘๐ คน

● พ.ศ. ๒๕๔๘ (ค.ศ. ๒๐๐๕)
#สนามอัลลิอันซ์อารีนาเปิดใช้งานเป็นวันแรก ในเมืองมิวนิก ประเทศเยอรมนี

● พ.ศ. ๒๕๕๐ (ค.ศ. ๒๐๐๗)
#คดียุบพรรค : #ศาลรัฐธรรมนูญ มีมติยกคำร้องยุบพรรคประชาธิปัตย์ และมีมติให้ยุบพรรคไทยรักไทย, พรรคประชาธิปไตยก้าวหน้า, พรรคพัฒนาชาติไทย และพรรคพลังแผ่นดิน.

๒๙ พฤษภาคม

#วันนี้ในอดีต

เหตุการณ์สำคัญในวันที่ ๒๙ พฤษภาคม

● พ.ศ. ๑๙๙๖ (ค.ศ. ๑๔๕๓)
#การล่มสลายของคอนสแตนติโนเปิล : จากการรุกรานของ “#กองทัพจักรวรรดิออตโตมัน“ (Ottoman Empire) นำทัพโดย “#สุลต่านเมห์เหม็ดที่สอง“ (Mehmed II : محمد الثانى / “Fatih Sultan Mehmet“ : 1432-1481) นำไปสู่…#การสิ้นสุดของจักรวรรดิไบแซนไทน์ (End of Byzantine Empire / Βασιλεία των Ρωμαίων)

● พ.ศ. ๒๒๐๓ (ค.ศ. ๑๖๖๐)
#การฟื้นฟูระบอบกษัตริย์ในประเทศอังกฤษ : ในรัชสมัยพระเจ้าชาร์ลที่ ๒ หลังจากที่เกิดความขัดแย้งระหว่างกษัตริย์กับรัฐสภา จนนำไปสู่ #สงครามกลางเมืองในประเทศอังกฤษ

● พ.ศ. ๒๒๗๐ (ค.ศ. ๑๗๒๗)
“#ปีเตอร์ที่สอง“ (Peter II Alexeyevich : Пётр II Алексеевич : Pyotr II Alekseyevich : 1715-1730) ดำรงตำแหน่งเป็น #พระเจ้าซาร์แห่งจักรวรรดิรัสเซีย (#царь)

● พ.ศ. ๒๓๙๑ (ค.ศ. ๑๘๔๘)
#วิสคอนซินได้รับการประกาศให้เป็นรัฐที่๓๐ของสหรัฐอเมริกาอย่างเป็นทางการ (Wisconsin)

● พ.ศ. ๒๔๐๗ (ค.ศ. ๑๘๖๔)
“#จักรพรรดิแมกซิมิเลียน“ แห่งเม็กซิโก (Emperador Maximiliano I de México : Maximilian I, Emperor of Mexico : Kaiser von Mexiko) (พระนามเดิม : แฟร์ดีนันด์ แม็กซีมีเลียน โยเซฟ / Ferdinand Maximilian Joseph von Habsburg-Lorraine : 1832-1867) เดินทางถึงเม็กซิโกเป็นครั้งแรก

● พ.ศ. ๒๔๖๒ (ค.ศ. ๑๙๑๙)
#การสังเกตการณ์สุริยุปราคา โดย “เซอร์อาร์เทอร์ เอ็ดดิงตัน“ (Sir Arthur Stanley Eddington, OM FRS : 1882-1944) ยืนยันความถูกต้องของเนื้อหาบางส่วนใน “#ทฤษฎีสัมพัทธภาพ“ ของ “อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์“ (Albert Einstein : 1879-1955)

● พ.ศ. ๒๔๙๖ (ค.ศ. ๑๙๕๓)
เซอร์เอดมันด์ ฮิลลารี“ (Sir Edmund Percival Hillary : 1919-2008) ชาวนิวซีแลนด์ และ “เทนซิง นอร์เก“ (ทิเบต : བསྟན་འཛིན་ནོར་རྒྱས།, เนปาล : तेन्जिङ नोर्गे शेर्पा, Tenzing Norgay : 1914-1986) ชาวเชอร์ปา (เนปาล) เป็น #บุคคลแรกที่พิชิตยอดเขาเอเวอเรสต์ และตรงกับวันเกิดครบ ๓๙ ปี ของ “นอร์เก“ ด้วย

● พ.ศ. ๒๕๐๙ (ค.ศ. ๑๙๖๖)
ประเทศไทยและประเทศสหรัฐอเมริกา ร่วมลงนามใน #สนธิสัญญาทางไมตรีและความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ (มีผลบังคับใช้ ๘ มิ.ย. ๒๕๑๑)

● พ.ศ. ๒๕๒๘ (ค.ศ. ๑๙๘๕)
#โศกนาฏกรรมเฮย์เซล (Heysel Tragedy) : แฟนฟุตบอลจำนวน ๓๘ คน เสียชีวิตระหว่างการจลาจลในการแข่งขันฟุตบอลนัดชิงชนะเลิศ “#ยูโรเปียนคัพ“ (European Cup) ณ สนามเฮย์เซล (Heysel Stadium) กรุงบรัสเซลล์ ประเทศเบลเยียม การแข่งขันนี้ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น “#ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก“ (UEFA Champions League : #UCL).

๒๘ พฤษภาคม

#วันนี้ในอดีต

เหตุการณ์สำคัญในวันที่ ๒๘ พฤษภาคม

● ๔๒ ปีก่อนพุทธกาล (๕๘๕ ปีก่อนคริสต์กาล)
สุริยุปราคาที่ทำนายโดย “#เธลีส“ (Θαλής ο Μιλήσιος / Thales of Miletus : 640-546 B.C.) ปรัชญาเมธีชาวกรีก ทำให้สงครามระหว่างชาวลิเดียกับเมเดส สงบลงชั่วคราว

● พ.ศ. ๒๑๓๑ (ค.ศ. ๑๕๘๘)
#กองเรือรบสเปนเดินทางออกจากลิสบอนไปยังช่องแคบอังกฤษ

● พ.ศ. ๒๔๔๘ (ค.ศ. ๑๙๐๕)
#สงครามรัสเซียกับญี่ปุ่น : กองทัพเรือญี่ปุ่นนำโดย “พลเรือเอกโทโกะ เฮฮะชิโร“ ทำลาย “ทัพเรือบอลติก“ ของรัสเซีย

● พ.ศ. ๒๔๖๑ (ค.ศ. ๑๙๑๘)
#วันประกาศอิสรภาพของสาธารณรัฐอาเซอร์ไบจาน

● พ.ศ. ๒๔๗๙ (ค.ศ. ๑๙๓๖)
แอลัน ทัวริง“ (Alan Mathison Turing : 1912-1954) นักคณิตศาสตร์, นักตรรกศาสตร์, นักรหัสวิทยาและวีรบุรุษสงครามชาวอังกฤษ ผู้ได้รับการยอมรับว่าเป็น #บิดาของวิทยาการคอมพิวเตอร์ ได้นำเสนอบทความ “On Computable Numbers with an application to the Entscheidungsproblem“ สำหรับตีพิมพ์

● พ.ศ. ๒๔๘๐ (ค.ศ. ๑๙๓๗)
ประธานาธิบดี “แฟรงกลิน ดี. รูสเวลต์“ แห่งสหรัฐอเมริกา ประกอบพิธีเปิด “#สะพานโกลเดนเกต“ (Golden Gate Bridge) ในนครซานฟรานซิสโกอย่างเป็นทางการ

● พ.ศ. ๒๔๘๓ (ค.ศ. ๑๙๔๐)
#สงครามโลกครั้งที่สอง : ประเทศเบลเยียมประกาศยอมจำนนต่อเยอรมนีอย่างไม่มีเงื่อนไข

● พ.ศ. ๒๕๐๔ (ค.ศ. ๑๙๖๑)
บทความในหนังสือพิมพ์โดย “ปีเตอร์ เบเนนสัน“ (Peter Benenson : 1921-2005) นักกฎหมายชาวอังกฤษ เป็นจุดเริ่มต้นของการก่อตั้ง “#องค์การนิรโทษกรรมสากล“ (Amnesty International : #AI)

● พ.ศ. ๒๕๐๗ (ค.ศ. ๑๙๖๔)
#วันก่อตั้งองค์กรปลดปล่อยปาเลสไตน์ (#PLO)

● พ.ศ. ๒๕๑๓ (ค.ศ. ๑๙๗๐)
#วันก่อตั้งมหาวิทยาลัยศรีปทุม (#SPU) โดย “#สมเด็จพระราชชนนีศรีสังวาลย์“ (พระอิสริยยศในขณะนั้น) พระราชทานนาม “#ศรีปทุม“ ให้เป็นสิริมงคล

● พ.ศ. ๒๕๔๑ (ค.ศ. ๑๙๙๘)
#การทดสอบอาวุธนิวเคลียร์ : ปากีสถานได้ทดสอบอาวุธนิวเคลียร์ ๕ ครั้ง เพื่อตอบโต้การทดสอบอาวุธนิวเคลียร์ของอินเดีย เหตุการณ์นี้ส่งผลให้สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และประเทศอื่นๆ คว่ำบาตรทางเศรษฐกิจกับปากีสถาน

● พ.ศ. ๒๕๔๓ (ค.ศ. ๒๐๐๐)
#แดนเนรมิตปิดให้บริการอย่างเป็นทางการ

● พ.ศ. ๒๕๔๖ (ค.ศ. ๒๐๐๓)
#ประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวฉบับปรับปรุง

● พ.ศ. ๒๕๕๑ (ค.ศ. ๒๐๐๘)
การประชุมครั้งปฐมฤกษ์ของสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญแห่งเนปาล และ #ประกาศเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่สหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตย อันเป็นการ #สิ้นสุดราชวงศ์ชาห์ ที่มีมานานกว่า ๔๕๐ ปี และปกครองเนปาลมานานถึง ๒๔๐ ปี.

๒๗ พฤษภาคม

#วันนี้ในอดีต

เหตุการณ์สำคัญในวันที่ ๒๗ พฤษภาคม

● พ.ศ. ๒๑๘๗ (ค.ศ. ๑๖๔๔)
“#อู๋ซานกุ้ย“ (吳三桂 : Wú Sānguì : 1612-1681) แม่ทัพราชวงศ์หมิง เปิดประตู “#ด่านซันไห่กวน“ (山海关) ให้ทหารแมนจูบุกเข้ากรุงปักกิ่ง เป็น #จุดสิ้นสุดราชวงศ์หมิง

● พ.ศ. ๒๒๔๖ (ค.ศ. ๑๗๐๓)
“#พระเจ้าซาร์ปีเตอร์ที่หนึ่ง“ หรือ “#ปีเตอร์มหาราช“ (Пётр I Великий : 1672-1725) แห่งรัสเซีย #สถาปนานครเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก

● พ.ศ. ๒๔๖๗ (ค.ศ. ๑๙๒๔)
#วันสถาปนากรมการทหารสื่อสาร โดย “พลเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน

● พ.ศ. ๒๔๗๓ (ค.ศ. ๑๙๓๐)
#ตึกไครสเลอร์เปิดใช้งานเป็นวันแรก : “#ตึกไครสเลอร์“ (Chrysler Building) เป็นอาคารที่มีชื่อเสียงตกแต่งตามสถาปัตยกรรม “อาร์ตเดโค“ (Art Deco) ออกแบบโดยสถาปนิกชื่อ “วิลเลียม แวน อเล็น“ (William Van Alen) ตั้งอยู่ด้านตะวันออกของเกาะแมนฮัตตัน บริเวณจุดตัดของถนน ๔๒ (42 Avenue) กับถนนเลกซิงตัน (Lexington Avenue) ในนครนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา มีความสูงทั้งสิ้น ๗๗ ชั้น ด้วยความสูง ๑,๐๔๖ ฟุต กับ ๔.๕ นิ้ว (๓๑๙ เมตร) เคยเป็นตึกสูงที่สุดในโลกนานถึง ๑๑ เดือน (ระหว่าง ๒๗ พฤษภาคม ค.ศ.๑๙๓๐ ถึง ๓๐ เมษายน ค.ศ.๑๙๓๑) จนเมื่อ “ตึกเอ็มไพร์สเตต“ สร้างแล้วเสร็จ และ “ตึกไครสเลอร์“ ได้ผ่านการพิจารณาโดยสถาปนิกร่วมสมัยว่าเป็นหนึ่งในอาคารที่ดีที่สุดในนครนิวยอร์ก เมื่อ ค.ศ.๒๐๐๗

● พ.ศ. ๒๔๘๐ (ค.ศ. ๑๙๓๗)
“#สะพานโกลเดนเกต“ (Golden Gate Bridge) ที่เชื่อมระหว่างนครซานฟรานซิสโกกับเมืองมารินเคาตี ในรัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา เปิดให้ประชาชนเดินเท้าข้ามเป็นครั้งแรก

● พ.ศ. ๒๔๘๔ (ค.ศ. ๑๙๔๑)
#สงครามโลกครั้งที่สอง : “#เรือรบบิสมาร์ก“ (German battleship Bismarck) ของเยอรมนีถูกจมในเขตแอตแลนติกเหนือ มีผู้เสียชีวิต ๒.๓ พันคน

● พ.ศ. ๒๕๐๖ (ค.ศ. ๑๙๖๓)
บ๊อบ ดีแลน“ (Bob Dylan / Robert Allen Zimmerman : 1941) ออกอัลบั้ม “The Freewheelin’ Bob Dylan“ ซึ่งมีเพลง “Blowin’ in the Wind“ รวมอยู่ด้วย

● พ.ศ. ๒๕๐๗ (ค.ศ. ๑๙๖๔)
ชวาหระลาล เนห์รู“ (जवाहरलाल नेहरू : Jawaharlal Nehru : 1889-1964) #รัฐบุรุษอินเดีย และ #นายกรัฐมนตรีคนแรกของอินเดีย ถึงแก่อสัญกรรมในที่ทำงาน เป็นผู้ได้รับการยกย่องเป็น #บิดาแห่งสาธารณรัฐอินเดีย

● พ.ศ. ๒๕๐๘ (ค.ศ. ๑๙๖๕)
#สงครามเวียดนาม : สหรัฐอเมริกาเริ่มต้นทิ้งระเบิดใส่กลุ่มเวียดกง (National Liberation Front) ในประเทศเวียดนามใต้เป็นครั้งแรก

● พ.ศ. ๒๕๒๙ (ค.ศ. ๑๙๘๖)
พลเอกเปรม ติณสูลานนท์“ นายกรัฐมนตรี มีคำสั่งให้ “พลเอกอาทิตย์ กำลังเอก“ พ้นจากตำแหน่ง #ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) คงดำรงตำแหน่ง #ผู้บัญชาการทหารสูงสุด (ผบ.ทสส.) เพียงตำแหน่งเดียว และแต่งตั้งให้ “พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ“ ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบกสืบแทน

● พ.ศ. ๒๕๓๘ (ค.ศ. ๑๙๙๕)
คริสโตเฟอร์ รีฟ“ (Christopher D’Olier Reeve : 1952-2004) นักแสดงชาวอเมริกาผู้มีชื่อเสียงจากภาพยนตร์เรื่อง “#ซูเปอร์แมน“ ประสบอุบัติเหตุตกจากหลังม้าแล้วกลายเป็นอัมพาตนานถึง ๙ ปี จนกระทั่งเสียชีวิต

● พ.ศ. ๒๕๔๒ (ค.ศ. ๑๙๙๙)
#เหตุการณ์ในโคโซโว : “สโลโบดัน มิโลเชวิช“ ถูกฟ้องร้องในข้อหา #ก่ออาชญากรรมสงครามและอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ

● พ.ศ. ๒๕๕๒ (ค.ศ. ๒๐๐๙)
#ลูกแพนด้าจากการผสมเทียมตัวแรก : “#หลินฮุ่ย“ แพนด้ายักษ์ทูตสันถวไมตรีไทย-จีน แห่งสวนสัตว์เชียงใหม่ ได้ตกลูกน้ำหนักประมาณ ๒๐๐ กรัม จำนวน ๑ ตัว จากการผสมเทียมเป็นผลสำเร็จ ภายหลังตั้งชื่อว่า “#หลินปิง“.