โฉมหน้าบรรพบุรุษคนไทยยุคน้ำแข็งตอนปลาย

#โฉมหน้าบรรพบุรุษคนไทยยุคน้ำแข็งตอนปลาย

เมื่อวันที่ ๓๐ มกราคม ๒๕๖๑ รองศาสตราจารย์ ดร.รัศมี ชูทรงเดช (Rasmi Shoocongdej) #SU36/#บค๒๕ “#อาจารย์พี่อิ๋ว“ อาจารย์ประจำภาควิชาโบราณคดี #คณะโบราณคดี #มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้นำสื่อมวลชนลงสำรวจร่องรอยวัฒนธรรม “#ถ้ำผีแมนโลงลงรัก“ แห่งใหม่ ในอำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน ซึ่งได้รับทุนส่งเสริมการวิจัยจาก #สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)

ทั้งนี้ได้ประสบความสำเร็จในการขึ้นรูปหน้าจำลองของผู้หญิงจากโครงกระดูกโบราณในช่วงเวลาสิ้นสุด #ยุคน้ำแข็ง (Ice Age) หรือ #สมัยไพลสโตซีน (Pleistocene : PS; เป็นธรณีกาลระหว่าง ๒.๕๘๘ ล้านปี ถึง ๑.๑๗ หมื่นปี / ก่อนที่มียุคน้ำแข็งเกิดขึ้น) ซึ่งตรงกับปลายยุคน้ำแข็งของยุโรป และโครงกระดูกดังกล่าว ซึ่งเป็น ๑ ใน ๔ โครงกระดูกผู้หญิงที่เสียชีวิตช่วงอายุประมาณ ๒๕ – ๓๕ ปี และมีอายุเก่าแก่ถึง ๑.๓๖๔ หมื่นปี ที่ขุดพบจาก “#แหล่งโบราณคดีเพิงผาถ้ำลอด“ อำเภอปางมะผ้า ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๔๖ นับเป็น #การพบวัฒนธรรมก่อนประวัติศาสตร์เก่าแก่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ความสำเร็จในการขึ้นรูปหน้าจำลองครั้งนี้ ดำเนินการร่วมกับ “ดร.ซูซาน เฮยส์“ (Dr. Susan Hayes) จากมหาวิทยาลัยวอลลองกอง (Wollongong University) ประเทศออสเตรเลีย ที่ต้องเปรียบเทียบจากแฟ้มภาพและเปรียบเทียบคลังกะโหลกศีรษะของผู้หญิงในยุคเดียวกัน จำนวน ๗๒๐ ตัวอย่างจาก ๒๕ ประเทศทั่วโลก

นับเป็นเรื่องน่าตื่นเต้นระดับโลก เพราะการ #ขึ้นรูปหน้า หรือการ #จำลองใบหน้า จากชิ้นกระดูกกะโหลกศีรษะและใบหน้าบางส่วนนี้ นับเป็น #ครั้งแรกของไทยและของโลกที่จะได้เห็นใบหน้าผู้หญิงในยุคปลายสุดของยุคน้ำแข็ง

ก่อนหน้านี้ คณะนักวิจัยได้ประสานให้ “นายวัชระ ประยูรคำ“ (#อาจารย์อ๊อด) #SU/#PSG ประติมากรอิสระ ทดลองปั้นใบหน้าเป็นสามมิติโดยใช้ข้อมูลจาก “นางนัทธมน ภู่รีพัฒน์พงศ์ คงคาสุริยฉาย“ ซึ่งเป็นผู้ขุดค้นโครงกระดูก มาทำการวิเคราะห์และจำลองแบบขึ้นมาด้วยการอาศัยโปรแกรมคอมพิวเตอร์แล้วหล่อเรซินเบื้องต้น ผลวิเคราะห์สรุปว่าหน้าตาของผู้หญิงโบราณรายนี้เป็น “โฮโม เซเปียนส์ เซเปียนส์“ (Homo Sapiens Sepiens) รูปใบหน้ามีโหนกแก้มสูง ดวงตามีรูปร่างคล้ายเมล็ดอัลมอนด์ ผิวสีน้ำตาล ผมน่าจะเป็นสีดำออกน้ำตาล และหน้าตาเหมือนกับผู้หญิงในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

อาจารย์อิ๋ว“ กล่าวว่า ล่าสุดยังสำรวจขุดค้น “แหล่งโบราณคดีถ้ำผีแมนโลงลงรัก“ แห่งใหม่ ซึ่งพบมีโลงไม้และโครงกระดูกมนุษย์จำนวนมาก อายุกว่า ๒ พันปี เป็นหลักฐานทางโบราณคดีและร่องรอยของคนโบราณบนพื้นที่สูงที่ไม่เคยพบมาก่อน เช่น โลงไม้ (ขนาดและรูปทรงต่างๆ) กระดูกคนในโลงไม้ การฝังศพบนพื้นถ้ำ โลงไม้ที่มีการลงลวดลายผิวด้านนอกด้วยยางรัก ซึ่ง “#วัฒนธรรมโลงไม้“ เป็นวัฒนธรรมใหม่ของคน “#ไป่เย่ว“ จากจีนตอนใต้ (ตั้งแต่มณฑลยูนนานถึงชายฝั่งทะเล) และกลุ่มคนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในเบื้องต้นสันนิษฐานว่ามีเชื้อสายเดียวกับ “#คนไท“ โดยดูจากการตกแต่งฟันที่ส่งไปตรวจสอบ

การค้นพบโลงไม้ในถ้ำแห่งนี้ ทีมวิจัยแบ่งจุดสำรวจออกเป็น ๓ ห้องโดยเฉพาะห้องเอ ๑ (A1) ที่มีขนาดเพียงโดย ๘ x ๙ เมตร พบโลงไม้ที่มีความสมบูรณ์ถึง ๒๐ โลง มีช่วงอายุ ๑.๙ – ๑.๖ พันปี โดยเฉพาะพบว่ามีช่วงอายุหลากหลายช่วงวัย ทั้งวัยเด็กและวัยกลางคน ขณะนี้กำลังวิเคราะห์ชิ้นส่วนกระดูก เพื่อ “#ต่อจิ๊กซอว์“ โดยการตรวจสอบดีเอ็นเอเพื่อหาความสัมพันธ์ทางเครือญาติและเชื้อสาย ซึ่งมีแนวโน้มว่าโครงกระดูกที่พบใน “ถ้ำผีแมนโลงลงรัก“ น่าจะมีความสัมพันธ์ทางเครือญาติกัน.

คลิปสัมภาษณ์บางส่วน
https://youtu.be/15SJVLZOlK8

ศึกษาผลงานการวิจัยเพิ่มเติมจากบทความเรื่อง “A Late Pleistocene woman from Tham Lod, Thailand : the influence of today on a face from the past“ ซึ่งตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ “#Antiquity“ ของคณะวิจัย ประกอบด้วย ดร.ซูซาน เฮยส์, รองศาสตราจารย์ ดร.รัศมี ชูทรงเดช, นางนัทธมน ภู่รีพัฒน์พงศ์, ศาสตราจารย์พิเศษสรรใจ แสงวิเชียร และ ดร. ทันตแพทย์หญิงกนกนาฏ จินตกานนท์ http://www.livescience.com/58705-stone-age-woman-had-modern-face.html

ธนาคารไทยแห่งแรก

๓๐ มกราคม ๒๔๔๙ – ๒๕๖๑
วาระครบ ๑๑๑ ปี การสถาปนา
“#ธนาคารไทยพาณิชย์
(SIAM COMMERCIAL BANK : #SCB)
(แรกตั้งชื่อ “#แบงก์สยามกัมมาจล ทุนจำกัด“)
นับเป็น #ธนาคารพาณิชย์ของไทยแห่งแรก
หรือ #ธนาคารไทยแห่งแรก
ปัจจุบัน ผู้ถือหุ้นใหญ่คือ
…#สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์

ป.ล.
อย่าสับสนกับ…
#ธนาคารแห่งแรกในประเทศไทย
เพราะนั่นคือ “#ธนาคารฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้“ (#HSBC)
ซึ่งเป็นธนาคารของชาวต่างประเทศ
ที่เข้ามาดำเนินธุรกิจในประเทศไทย.

มาตรฐานทางจริยธรรม

#มาตรฐานทางจริยธรรม
ของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
และผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ
รวมทั้งผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน
และหัวหน้าหน่วยงานธุรการ
ของศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระ
พ.ศ. ๒๕๖๑

มีผลผูกพันถึงคณะรัฐมนตรี
และสมาชิกรัฐสภา ด้วย

ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา (ฉบับกฤษฎีกา) เล่ม ๑๓๕ ตอนที่ ๕ ก หน้า ๑๓-๑๗ ลงวันที่ ๓๐ มกราคม ๒๕๖๑
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/A/005/13.PDF

๓๐ มกราคม

#วันนี้ในอดีต

เหตุการณ์สำคัญในวันที่ ๓๐ มกราคม…

● พ.ศ. ๒๓๖๒ (ค.ศ. ๑๘๒๐)
เอ็ดเวิร์ด แบรนส์ฟิลด์“ แห่งราชนาวีอังกฤษ #ขึ้นฝั่งที่ทวีปแอนตาร์กติกา

● พ.ศ. ๒๔๙๑ (ค.ศ. ๑๙๔๘)
มหาตมา คานธี“ (Mahatma Gandhi : โมหันทาส กะรัมจันท คานธี : મોહનદાસ કરમચંદ ગાંધી : Mohandas Karamchand Gandhi : 1869-1948) ถูกสังหารด้วยอาวุธปืนจนถึงแก่ความตาย

● พ.ศ. ๒๕๑๕ (ค.ศ. ๑๙๗๒)
เกิดเหตุนองเลือดในเขตบ็อกไซต์ เมืองเดอร์รี ประเทศไอร์แลนด์เหนือ เมื่อทหารพลร่มของสหราชอาณาจักร ยิงผู้ชุมนุมเรียกร้องสิทธิพลเมืองชาวไอริชเสียชีวิตทันที ๑๓ คน ในเหตุการณ์ “#อาทิตย์ทมิฬ“ (Bloody Sunday : Domhnach na Fola).

๒๙ มกราคม

#วันนี้ในอดีต

เหตุการณ์สำคัญในวันที่ ๒๙ มกราคม…

● พ.ศ. ๒๔๒๘ (ค.ศ. ๑๘๘๖)
คาร์ล เบนซ์“ (Karl Friedrich Benz : 1844-1929) #ได้รับสิทธิบัตรรถยนต์ขับเคลื่อนด้วยน้ำมัน

● พ.ศ. ๒๔๔๕ (ค.ศ. ๑๙๐๓)
เมื่อ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช #เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ ขณะเจริญพระชนมายุ ๒๒ พรรษา (ภายหลังทรงราชย์เป็น #พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖) ทรงสำเร็จการศึกษาจากประเทศอังกฤษ ได้เสด็จประพาสต่างประเทศก่อน #เสด็จนิวัตพระนคร

● พ.ศ. ๒๕๑๙ (ค.ศ. ๑๙๗๖)
สวนสนุก “#แดนเนรมิต“ เปิดให้บริการเป็น #วันแรก สร้างประวัติการณ์มีผู้มาเที่ยวชมในวันแรกกว่า ๘ หมื่นคน

● พ.ศ. ๒๕๔๖ (ค.ศ. ๒๐๐๓)
เกิดข่าวลือในประเทศกัมพูชาเกี่ยวกับ “#นครวัด“ จนกลายเป็นชนวนให้ชาวกัมพูชาเข้าใจผิดและก่อการจลาจลในกรุงพนมเปญ โดยได้ #บุกเผาสถานทูตไทยและอาคารพาณิชย์ที่คนไทยเป็นเจ้าของ รัฐบาลไทยส่งเครื่องบินลำเลียงซี-๑๓๐ ไปรับคนไทยกว่า ๕๐๐ คน กลับประเทศ ทำการปิดด่านชายแดน ลดระดับความสัมพันธ์ทางการทูต และเรียกร้องให้ทางการกัมพูชาชี้แจงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น พร้อมทั้งชดใช้ค่าเสียหาย

● พ.ศ. ๒๕๔๘ (ค.ศ. ๒๐๐๕)
#เปิดใช้เที่ยวบินพาณิชย์จากสาธารณรัฐประชาชนจีนไปยังสาธารณรัฐจีนเป็นครั้งแรก นับตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๙๒ โดยออกเดินทางจากเมืองกว่างโจว (จีนแผ่นดินใหญ่) ไปยังกรุงไทเป (จีนไต้หวัน)

● พ.ศ. ๒๕๕๑ (ค.ศ. ๒๐๐๘)
นายสมัคร สุนทรเวช“ (๒๔๗๘-๒๕๕๒) รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง “#นายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรไทย“ (ลำดับที่ ๒๕)

พระพุทธรูปปางพยาบาลภิกษุอาพาธ

#พระพุทธรูปปางพยาบาลภิกษุอาพาธ
ข้างอุโบสถวัดสุทธาราม (วัดใหม่ตาสุด)
ถนนเจริญนคร ๔๖ (ซอยตากสิน ๑๙)
เขตคลองสาน กรุงเทพฯ

พุทธลักษณะ :

“ พระพุทธรูปปางพยาบาลภิกษุอาพาธ อยู่ในพระอิริยาบถประทับ (นั่ง) ชันพระชานุเบื้องขวา (เข่าขวา) พระหัตถ์ขวาประคองภิกษุอาพาธให้นอนบนพระเพลา (หน้าตัก) “

◎ โย ภิกฺขเว มํ อุปฏฺฐเหยฺย โส คิลานํ อุปฏฺฐเหยฺย ฯ

“ ผู้ใด ปรารถนาจะอุปัฏฐากเราตถาคต

ผู้นั้น พึงอุปัฏฐากภิกษุผู้ป่วยไข้ “.

เครดิตภาพ : นายธนาคาร จันทรัค

หมายเหตุ :
เป็นอุปเท่ห์ให้อธิษฐานแก่พระพุทธรูป เพื่อหวังผลให้ผู้ป่วยทุเลาโรคโดยง่าย แต่หากพิจารณาโดยคดีธรรม มุ่งชี้แนะให้สงเคราะห์แก่ผู้ป่วยเจ็บเป็นบุญกิริยา เช่นกับพระตถาคตที่ทรงช่วยพยาบาลแก่ภิกษุอาพาธโดยไม่ถือพระองค์

ปัจจุบันมีผู้สร้างเพื่อหวังโดยอุปเท่ห์ไว้ตามวัดต่างๆ ในหลายภูมิภาค.

๒๘ มกราคม

#วันนี้ในอดีต

เหตุการณ์สำคัญในวันที่ ๒๘ มกราคม…

● พ.ศ. ๒๔๙๘ (ค.ศ. ๑๙๕๕)
#ขบวนรถไฟสายปานามา นำ #ขบวนรถไฟเดินทางข้ามทวีปเป็นครั้งแรกของโลก จากบริเวณคอคอดปานามา ชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติกไปยังชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิก

● พ.ศ. ๒๕๒๙ (ค.ศ. ๑๙๘๖)
เมื่อเวลา ๑๑:๓๙ น. ตามเวลาท้องถิ่นของสหรัฐอเมริกา (๑๖:๓๙ น. ตามเวลามาตรฐาน UTC) เกิดเหตุถังเชื้อเพลิงภายนอกกับเครื่องเร่งความเร็วจรวด (Solid Rocket Booster : SRB) ของ “#กระสวยอวกาศชาเลนเจอร์“ (#Challenger) เกิดแตกออกจากกันหลังจากขึ้นสู่ท้องฟ้าได้เพียง ๗๓ วินาที ทำให้ลูกเรือในภารกิจจำนวน ๗ คน เสียชีวิตทั้งหมด ชิ้นส่วนของกระสวยอวกาศแตกกระจายร่วงลงสู่มหาสมุทรแอตแลนติกนอกชายฝั่งของฟลอริดา

● พ.ศ. ๒๕๕๑ (ค.ศ. ๒๐๐๘)
นายสมัคร สุนทรเวช“ ได้รับการลงมติจากสภาผู้แทนราษฎรให้ดำรงตำแหน่ง #นายกรัฐมนตรีไทยคนที่๒๕.

นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร

๒๘ มกราคม ๒๕๑๑-๒๕๖๑

วาระครบ ๕๐ ปี

การค้นพบ “#นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร

(Princess Sirindhorn Bird)

นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร“ หรือ “นกนางแอ่นตาพอง“ (White-eyed River-Martin) ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า “Pseudochelidon sirintarae“ หรือ “Eurochelidon sirintarae“ เป็นนกจับคอนหนึ่งในสองชนิดของสกุล #นกนางแอ่นแม่น้ำ ในวงศ์นกนางแอ่น พบในช่วงฤดูหนาวบริเวณบึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์ เพียงแห่งเดียวในโลก แต่อาจสูญพันธุ์ไปแล้วตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๒๓

ผู้ค้นพบคือ “นายกิตติ ทองลงยา“ (Kitti Thonglongya) (๒๔๗๑-๒๕๑๗) นักสัตววิทยาอิสระ ซึ่งเป็นบุคคลเดียวกับที่ค้นพบ “#ค้างคาวคุณกิตติ“ (Kitti’s hog-nosed bat, Bumblebee bat : Craseonycteris thonglongyai, 1974) #สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีขนาดเล็กที่สุดในโลก โดยพบตามถ้ำในเขตอุทยานแห่งชาติไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี

นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร“ เป็นนกนางแอ่นขนาดกลาง มีสีดำออกเขียวเหลือบ ตะโพกขาว หางมีขนคู่กลางมีแกนยื่นออกมาเป็นเส้นเรียวแผ่ตรงปลาย วงรอบตาสีขาวหนา ปากสีเหลืองสดออกเขียว ทั้งสองเพศมีลักษณะคล้ายกัน แต่นกวัยอ่อนไม่มีขนหางคู่กลางมีแกนยื่นออกมา สีขนออกสีน้ำตาลมากกว่านกโตเต็มวัย

พฤติกรรมเป็นที่ทราบน้อยมากรวมถึงแหล่งผสมพันธุ์วางไข่ คาดว่าเหมือนนกนางแอ่นชนิดอื่นที่บินจับแมลงกินกลางอากาศ และเกาะคอนนอนตามพืชน้ำในฤดูหนาว

ซาก “นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร“ เก็บรักษาอยู่ที่ พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ยุวกาชาดไทย

๒๗ มกราคม…

คล้ายวันสถาปนา #ยุวกาชาดไทย (๙๖ ปี)

※※※※※※※※※※
กิจการ “#ยุวกาชาด“ เป็นกิจกรรมสำหรับเด็กและเยาวชนอายุระหว่าง ๗ – ๒๕ ปี ได้รับการสถาปนาขึ้นเมื่อวันที่ ๒๗ มกราคม ๒๔๖๕ ตามพระดำริ จอมพลเรือ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ #เจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต #อุปนายกสภากาชาดสยาม (ในขณะนั้น) เพื่อให้สอดคล้องกับสภากาชาดบางประเทศที่ได้จัดตั้ง “กาชาดสำหรับเด็ก“ ขึ้นบ้างแล้ว จึงเห็นควรที่ “#สภากาชาดสยาม“ จะได้จัดตั้งขึ้นบ้าง

แรกเริ่ม กิจการ “ยุวกาชาด“ เกิดขึ้นจากมติที่ประชุม #สหพันธ์สภากาชาด และ #สภาเสี้ยววงเดือนแดงระหว่างประเทศ เมื่อ ค.ศ. ๑๙๑๙ โดยที่ประชุมได้มีข้อเสนอแนะว่า

“…สภากาชาดทุกชาติควรจัดตั้งกาชาดสำหรับเด็ก เพื่อฝึกอบรมเยาวชนให้รู้จักการกินดี อยู่ดี รักษาสุขภาพอนามัย มีเมตตาสงสารเพื่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน ไม่ว่าชาติ ศาสนาใดๆ มีศรัทธา เสียสละ และบำเพ็ญประโยชน์แก่สังคม โดยจัดกิจกรรมและดำเนินการให้สอดคล้องกับระบบการศึกษาของแต่ละประเภท…“

ดังนั้นเมื่อแรกก่อตั้งในสยาม จึงมีชื่อว่า “#กองอนุสภากาชาดสยาม“ โดยที่ “#สภากาชาดสยาม“ ฝากกิจการ “ยุวกาชาด“ ไว้กับกระทรวงศึกษาธิการ ด้วยเหตุผลที่ว่าเป็นกิจการอันเกี่ยวเนื่องกับการศึกษาและกระทรวงศึกษาธิการได้ดูแลกิจการลูกเสืออยู่แล้ว โดย “สภากาชาดสยาม“ เป็นผู้รับผิดชอบเรื่องงบประมาณรายจ่ายประจำปี ต่อมาในพุทธศักราช ๒๔๗๖ กระทรวงศึกษาธิการได้มอบหมายให้ “กรมพลศึกษา“ เป็นผู้ดูแลกิจการ “ยุวกาชาด“ โดยได้จัดสรรข้าราชการส่วนหนึ่งร่วมดำเนินการ มีผู้บริหารสูงสุดเป็นข้าราชการกระทรวงศึกษาธิการ

กิจการ “ยุวกาชาด“ ได้เจริญเติบโตขึ้นตามลำดับ มีการพัฒนา เปลี่ยนแปลง และปรับปรุงใหม่หลายด้านทั้งหลักสูตรการเรียน การสอน การจัดกิจกรรม ข้อบังคับต่างๆ รวมถึงกลุ่มเป้าหมาย เช่น เปลี่ยนชื่อจาก “กองอนุสภากาชาดสยาม“ เป็น “กองอนุกาชาด“, “กองยุวกาชาด“ และ “สำนักงานยุวกาชาด“ ตามลำดับ รวมถึงขยายอายุเด็กและเยาวชนกลุ่มเป้าหมายจาก ๗ – ๑๘ ปี เป็น ๗ – ๒๕ ปี

สภากาชาดไทยและกระทรวงศึกษาธิการได้ดำเนินกิจการ “ยุวกาชาด“ ร่วมกันตลอดมานับจาก พ.ศ. ๒๔๖๕ จนกระทั่ง พ.ศ. ๒๕๔๖ รัฐบาลได้ปฏิรูประบบราชการ มีการยุบรวมหน่วยงานเข้าด้วยกัน ทำให้ “กรมพลศึกษา“ ไปรวมอยู่กับ “กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา“ และให้งานยุวกาชาด ลูกเสือ และสารวัตรนักเรียน ไปอยู่ในบัคับบัญชาของ “สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ“ และยกฐานะเป็น “สำนักการลูกเสือ ยุวกาชาด และกิจการนักเรียน“ โดยได้ย้ายที่ทำงานไปยังกระทรวงศึกษาธิการ “สำนักงานยุวกาชาด สภากาชาดไทย“ จึงได้ย้ายกลับมายังสภากาชาดไทย และมี “นายแพทย์พินิจ กุลละวณิชย์“ เป็นผู้อำนวยการซึ่งนับได้ว่าเป็นผู้อำนวยการสำนักยุวกาชาดคนแรกที่เป็นบุคลากรสภากาชาดไทย

ปัจจุบัน กิจการ “ยุวกาชาด“ จึงอยู่ในความดูแลของ ๒ หน่วยงาน คือ สภากาชาดไทย โดย #สำนักงานยุวกาชาด รับผิดชอบเยาวชนชายหญิง อายุระหว่าง ๑๕ – ๒๕ ปี ที่เรียกว่า “#อาสายุวกาชาด“ และ กระทรวงศึกษาธิการ โดย #สำนักการลูกเสือยุวกาชาดและกิจการนักเรียน รับผิดชอบเยาวชนชายหญิงอายุระหว่าง ๗ – ๑๘ ปี ที่เรียกว่า “#สมาชิกยุวกาชาด“ โดยทั้งสองหน่วยงานยังคงมีการประสานการดำเนินงานร่วมกัน

#ภารกิจของยุวกาชาด :

สำนักงานยุวกาชาด สภากาชาดไทย ได้ดำเนินการร่วมกับหน่วยงานพัฒนาเยาวชนต่างๆ ในการเผยแพร่การกาชาดสู่เยาวชน ตามภารกิจหลัก ๔ ประการ คือ

● มีอุดมคติในศานติสุข (Education for Peace)

● มีความชำนาญในการรักษาอนามัยของตนเอง และของผู้อื่น (Good Health)

● รู้จักบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น (Good Service)

● มีสัมพันธภาพอันดีกับบุคคลทั่วไป (International Friendship)

นอกจากวัตถุประสงค์ “#ยุวกาชาดสากล“ แล้ว ในข้อบังคับสภากาชาดไทยแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๖๘) พุทธศักราช ๒๕๕๐ หมวดที่ ๙ ว่าด้วยยุวกาชาด ยังได้มีการกำหนด #วัตถุประสงค์ยุวกาชาดไทย ซึ่งมี ๖ ประการ คือ

เพื่อฝึกอบรมให้เยาวชนชายและหญิง :

● มีอุดมคติในศานติสุข มีความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

● มีความรู้ ความชำนาญในการรักษาอนามัยของตนเองและของคนอื่นตลอดจนการพัฒนาตนเองทางร่างกาย จิตใจ คุณธรรม และธำรงไว้ซึ่งเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของชาติ

● มีความรู้ ความเข้าใจในหลักการและอุดมการณ์กาชาด มีคุณธรรม จริยธรรม และมีจิตใจเมตตา กรุณาต่อเพื่อนมนุษย์

● บำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น ชุมชน สังคม และประเทศชาติ

● มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

● มีสัมพันธ์ภาพและมิตรภาพที่ดีกับบุคคลทั่วไป

※※※※※※※※※※

◎ #ปฏิทินประวัติการยุวกาชาดไทย
● พ.ศ. ๒๔๖๕
วันที่ ๒๗ มกราคม พ.ศ. ๒๔๖๕ ก่อตั้ง “#กองอนุสภากาชาด“ ขึ้น ตามข้อบังคับสภากาชาดไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๓) ว่าด้วยอนุสภากาชาดสยาม

● พ.ศ. ๒๔๖๖
มีหนังสือพิมพ์รายเดือนสำหรับอนุสภากาชาดขึ้นเป็นฉบับแรกชื่อว่า “#อนุสภากาชาดอุปกรณ์” แจกให้กับอนุกาชาดทุกคน เพื่อเผยแพร่กิจการอนุกาชาด

● พ.ศ. ๒๔๗๖
กระทรวงศึกษาธิการได้มอบให้ #กรมพลศึกษา เป็นผู้ดูแลกองอนุสภากาชาด

● พ.ศ. ๒๔๘๕
สภากาชาดไทยได้เปลี่ยนชื่อ “กองอนุสภากาชาด“ เป็น “#กองอนุกาชาด” โดยตัดคำว่า “สภา” ออกไป

● พ.ศ. ๒๔๙๔
เปลี่ยนชื่อหนังสือพิมพ์รายเดือนจาก “อนุสภากาชาดอุปกรณ์” เป็น “อนุ➕กาชาด” โดยเริ่มนับเป็นวารสารฉบับปฐมฤกษ์ ประจำเดือนกันยายน ๒๔๙๔ ฉบับที่ ๑ ปีที่ ๑

● พ.ศ. ๒๕๒๑
๑๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๒๑ “กองอนุกาชาด” เปลี่ยนชื่อเป็น “#กองยุวกาชาด” และขยายอายุจาก ๗ – ๑๘ ปี เป็น ๗ – ๒๕ ปี จึงรวมถึงนักเรียน นิสิตนักศึกษาที่เรียนอยู่ในระดับอาชีวศึกษา อุดมศึกษา ทั้งในสถานศึกษาและนอกสถานศึกษา นอกจากนี้ ยังรวมถึงเยาวชนผู้ด้อยโอกาสทางการศึกษาอีกด้วย

● พ.ศ. ๒๕๔๖
~ รัฐบาลได้ปฏิรูประบบราชการโดยการปรับปรุงโครงสร้างของกระทรวง ทบวง กรม เสียใหม่ เป็นผลให้กรมพลศึกษา ย้ายจากกระทรวงศึกษาธิการไปสังกัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และให้ภารกิจยุวกาชาด ลูกเสือ และสารวัตรนักเรียน ไปอยู่ในความรับผิดชอบของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ โดยยกฐานะเป็น “สำนักการลูกเสือ ยุวกาชาด และกิจการนักเรียน“ แล้วย้ายที่ทำการไปยังกระทรวงศึกษาธิการ ส่วน “#สำนักงานยุวกาชาด สภากาชาดไทย“ ได้ย้ายที่ทำการกลับมาอยู่ตึกจิรกิติ สภากาชาดไทย

~ ๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ สภากาชาดไทยแต่งตั้ง รองศาสตราจารย์ นายแพทย์พินิจ กุลละวณิชย์ เป็นผู้อำนวยการสำนักงานยุวกาชาด สภากาชาดไทย นับเป็น #ผู้อำนวยการสำนักงานยุวกาชาดคนแรกที่เป็นบุคลากรของสภากาชาดไทย.

ปรับปรุงจาก : http://thaircy.redcross.or.th/redcrossandyouth/redcrossyouthmovement/history-redcrossyouthmovement/

๒๗ มกราคม

#วันนี้ในอดีต

เหตุการณ์สำคัญในวันที่ ๒๗ มกราคม…

● พ.ศ. ๒๔๐๑ (ค.ศ. ๑๘๕๘)
#โปรตุเกสเข้ามาทำสัญญาพระราชไมตรีกับสยาม ในรัชสมัย #พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔

● พ.ศ. ๒๔๓๐ (ค.ศ. ๑๘๘๘)
วันก่อตั้ง “National Geographic Society“ เจ้าของนิตยสาร “#เนชั่นแนลจีโอกราฟิก

● พ.ศ. ๒๔๖๕ (ค.ศ. ๑๙๒๑)
สถาปนากิจการ “#ยุวกาชาดไทย“ ระยะแรกเรียกว่า “#อนุสภากาชาดสยาม

● พ.ศ. ๒๔๘๘ (ค.ศ. ๑๙๔๕)
#กองทัพแดงปล่อยตัวนักโทษ ๗.๕ พันคน ที่นาซีกักขังไว้ในค่ายกักกันเอาส์ชวิตซ์ ประเทศโปแลนด์

● พ.ศ. ๒๔๙๔ (ค.ศ. ๑๙๕๑)
#สหรัฐอเมริกาเริ่มการทดลองระเบิดนิวเคลียร์ในรัฐเนวาดา

● พ.ศ. ๒๕๐๑ (ค.ศ. ๑๙๕๘)
~ วันสถาปนา #โรงเรียนเตรียมทหาร
~ “นายซีอุย แซ่อึ้ง“ ถูกจับที่จังหวัดระยองขณะกำลังทำลายศพเด็กชายวัย ๑๐ ขวบ

● พ.ศ. ๒๕๑๐ (ค.ศ. ๑๙๖๗)
#เกิดเพลิงไหม้ในยานอะพอลโล๑ ที่ศูนย์อวกาศเคนเนดี ทำให้นักบินอวกาศ ๓ คน เสียชีวิต

● พ.ศ. ๒๕๑๖ (ค.ศ. ๑๙๗๓)
#สงครามเวียดนามสิ้นสุดลง หลังมีการลงนามใน “#ข้อตกลงสันติภาพปารีส“ (Paris Peace Accords)

● พ.ศ. ๒๕๑๗ (ค.ศ. ๑๙๗๔)
#เกิดเหตุน้ำในแม่น้ำบริสเบนเอ่อท่วมเมืองบริสเบน ในรัฐควีนส์แลนด์ เครือรัฐออสเตรเลีย โดยถูกบันทึกเป็น #อุทกภัยครั้งใหญ่ที่สุดของเมืองบริสเบนในช่วงศตวรรษที่๒๐

● พ.ศ. ๒๕๑๘ (ค.ศ. ๑๙๗๕)
#ขบวนการชาตินิยมเปอร์โตริโกลอบวางระเบิดสถานบันเทิง ชื่อ “วอลต์สตรีต

● พ.ศ. ๒๕๒๗ (ค.ศ. ๑๙๘๔)
ไมเคิล แจ็คสัน“ นักร้องชาวสหรัฐอเมริกา ได้รับบาดเจ็บเล็กน้อยจากอุบัติเหตุไฟไหม้บริเวณหนังศีรษะ ขณะถ่ายทำโฆษณาเครื่องดื่มอัดลม “เป๊ปซี่“ ที่ชรายน์ออดิทอเรียม รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา

● พ.ศ. ๒๕๔๕ (ค.ศ. ๒๐๐๒)
#เกิดเหตุระเบิดพลีชีพในกรุงเยรูซาเลม ประเทศอิสราเอล มีผู้เสียชีวิต ๑ คน คือสตรีชาวปาเลสไตน์ผู้ก่อเหตุ นับเป็น #ครั้งแรกที่มือระเบิดพลีชีพเป็นสตรี.

ภาพประกอบ : พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ เสด็จออกทรงรับราชทูตยุโรป ณ #พระที่นั่งอนันตสมาคม (องค์เดิม) ซึ่งสร้างและตกแต่งงดงามตามอย่างศิลปะตะวันตก ต่อมา พระบาทสมเด็จพระจุลจิมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ โปรดให้รื้อออกแล้วสร้างขึ้นใหม่ ณ ที่ตั้งปัจจุบันในพระราชวังดุสิต.