๓๑ ธันวาคม

#วันนี้ในอดีต
เหตุการณ์สำคัญในวันที่ ๓๑ ธันวาคม…

● พ.ศ. ๒๑๔๓ (ค.ศ. ๑๖๐๐)
#สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่หนึ่ง (1533-1603) แห่งอังกฤษ มีพระบรมราชานุญาตให้ก่อตั้ง “#บริษัทอินเดียตะวันออก“ (East Indian Company)

● พ.ศ. ๒๔๐๐ (ค.ศ. ๑๘๕๗)
#สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย (1819-1901) ทรงเลือก “#กรุงออตตาวา“ เป็น #เมืองหลวงของอาณานิคมแคนาดา ของเครือจักรภพอังกฤษ

● พ.ศ. ๒๔๒๑ (ค.ศ. ๑๘๗๘)
“นายคาร์ล เบนซ์“ (Karl Friedrich Benz : 1844-1929) ขณะทำงานในมันน์ไฮม์ ประเทศเยอรมนี ได้ยิน #จดสิทธิบัตรเครื่องยนต์แก๊สสองจังหวะที่เชื่อถือได้ครั้งแรก (#Gasoline) และได้รับสิทธิบัตรในปีถัดมา

● พ.ศ. ๒๔๒๒ (ค.ศ. ๑๘๗๙)
“นายโทมัส เอดิสัน“ (Thomas Alva Edison : 1847-1931) #สาธิตหลอดไส้ร้อนแบบธรรมดาต่อสาธารณะเป็นครั้งแรก ในเมนโลพาร์ก รัฐนิวเจอร์ซีย์ ประเทศสหรัฐอเมริกา

● พ.ศ. ๒๔๕๐ (ค.ศ. ๑๙๐๗)
#ไทม์สแควร์“ ในนครนิวยอร์ก จัดกิจกรรม #เฉลิมฉลองวันสิ้นปีพร้อมกับลูกบอลไทม์สแควร์เป็นครั้งแรก

● พ.ศ. ๒๔๙๔ (ค.ศ. ๑๙๕๑)
#แผนการณ์มาร์แชลสิ้นสุดลง

● พ.ศ. ๒๕๐๒ (ค.ศ. ๑๙๕๙)
“นายฟีเดล กัสโตร“ (Fidel Alejandro Castro Ruz : 1926-2016) ก่อการปฏิวัติในคิวบาเป็นผลสำเร็จ แล้ว #เปลี่ยนคิวบาเป็นประเทศในระบอบคอมมิวนิสต์

● พ.ศ. ๒๕๓๔ (ค.ศ. ๑๙๙๑)
องค์กรอย่างเป็นทางการทั้งหมดของ “สหภาพโซเวียต“ (#USSR) ยุติการปฏิบัติ และ #สหภาพโซเวียตยุบเลิกอย่างเป็นทางการ

● พ.ศ. ๒๕๓๕ (ค.ศ. ๑๙๙๒)
#เชโกสโลวาเกียยุบอย่างสันติ ซึ่งเรียกขานเหตุการณ์ว่าเป็น “#การหย่ากำมะหยี่“ แล้วสถาปนา “#สาธารณรัฐเช็กและสโลวาเกีย

● พ.ศ. ๒๕๔๑ (ค.ศ. ๑๙๙๘)
กลไกอัตราแลกเปลี่ยนยุโรปหยุดมูลค่าของสกุลเงินท้องถิ่นใน “#ยูโรโซน“ (#Eurozone) และ #จัดตั้งมูลค่าเงินใหม่ในทวีปยุโรป เป็นสกุล “#ยูโร“ (#EURO : #EUR : €)

● พ.ศ. ๒๕๔๒ (ค.ศ. ๑๙๙๙)
“นายวลาดีมีร์ ปูติน“ (Владимир Владимирович Путин : Vladimir Vladimirovich Putinr : 1952) ดำรงตำแหน่ง #ประธานาธิบดีสหพันธรัฐรัสเซีย หลังจาก “นายบอริส เยลต์ซิน“ ลาออก

● พ.ศ. ๒๕๔๗ (ค.ศ. ๒๐๐๔)
#ไทเป๑๐๑“ ในย่านซินยี่ กรุงไทเป ประเทศไต้หวัน เปิดใช้อย่างเป็นทางการ  เคยเป็น #ตึกสูงที่สุดในโลก ในช่วงเวลาหนึ่ง

● พ.ศ. ๒๕๔๘ (ค.ศ. ๒๐๐๕)
องค์กร “International Earth Rotation and Reference Systems Service (#IERS) กำหนดให้ใช้ “#อธิกวินาที“ ในนาทีสุดท้ายของวันที่ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ ตามเวลาสากลเชิงพิกัด เป็นครั้งแรกในรอบ ๗ ปี ทำให้นาทีสุดท้ายของปีมี ๖๑ วินาที

● พ.ศ. ๒๕๔๙ (ค.ศ. ๒๐๐๖)
#เหตุระเบิดในกรุงเทพมหานคร : เกิดเหตุระเบิดพร้อมกันหลายพื้นที่ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ส่งผลต่อกิจกรรมการนับเวลาถอยหลังส่งท้ายปีในหลายแห่ง.

๓๐ ธันวาคม

#วันนี้ในอดีต
เหตุการณ์สำคัญในวันที่ ๓๐ ธันวาคม…

● พ.ศ. ๒๓๙๖ (ค.ศ. ๑๘๕๓)
ประเทศสหรัฐอเมริกาชำระเงิน ๑๐ ล้านดอลลาร์สหรัฐให้กับประเทศเม็กซิโก เพื่อซื้อที่ดิน ๓ หมื่นตารางไมล์ ทางใต้ของแม่น้ำกิลาและตะวันตกของแม่น้ำริโอแกรนด์

● พ.ศ. ๒๔๗๐ (ค.ศ. ๑๙๒๗)
ญี่ปุ่นเปิดการจราจร “#รถไฟใต้ดินสายกิงซะ“ ในกรุงโตเกียว นับเป็น #เส้นทางรถไฟใต้ดินสายแรกในทวีปเอเชีย

● พ.ศ. ๒๕๐๘ (ค.ศ. ๑๙๖๕)
“นายเฟอร์ดินันด์ อี. มาร์กอส“ (Ferdinand Emmanuel Edralin Marcos : 1917-1989) ดำรงตำแหน่ง #ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ เป็นคนที่สอง

● พ.ศ. ๒๕๐๙ (ค.ศ. ๑๙๖๖)
“ชาติชาย เชี่ยวน้อย“ (นริศ เชี่ยวน้อย : ๒๔๘๕) ชนะทีเคโอยก ๙ ต่อ “วอลเตอร์ แม็คโกแวน“ นักมวยชาวอังกฤษ ที่สนามมวยชั่วคราวภายในสนามกีฬาในร่ม หัวหมาก (Indoor Stadium) ได้เป็น #แชมป์มวยโลกรุ่นฟลายเวต ของสภามวยโลก (#WBC) ครั้งนั้นได้รับพระมหากรุณาธิคุณล้นพ้นจาก #พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนินเป็นการส่วนพระองค์ทอดพระเนตรการชกมวยด้วย  “ชาติชาย เชี่ยวน้อย“ ได้รับฉายาในวงการมวยสากลอาชีพว่าเป็น “#มาร์เซียโน่น้อยแห่งเอเชีย“ นับเป็น #แชมป์มวยโลกชาวไทยคนที่สอง

● พ.ศ. ๒๕๔๕ (ค.ศ. ๒๐๐๒)
“ภราดร ศรีชาพันธุ์“ (๒๕๒๒) เป็น “แชมป์เทนนิสเอทีพีทัวร์“ (#ATP Championship) เป็นรายการที่สามในการเล่นอาชีพ จากรายการ “เชนไนโอเพน“ ที่เมืองเชนไน ประเทศอินเดีย.

โรงภาพยนตร์สกาลา

อาคาร…#โรงภาพยนตร์สกาลา
ออกแบบโดย…
พันเอกจิระ ศิลป์กนก (Chira Silpakanok)
เมื่อพุทธศักราช ๒๕๑๑

นอกจากนี้
ยังมีผลงานสำคัญอีก อาทิ
#ตึกสันติไมตรี ภายในทำเนียบรัฐบาล
#โรงแรมอินทรารีเจ้นท์ ถนนราชปรารภ

ชาตะ : ๗ พฤษภาคม ๒๔๗๑
มตะ : ๒๕ มกราคม ๒๕๕๖

ท่านเป็นนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
(สถ.จุฬาฯ ๒๔๘๙)

นอกจากการรับราชการทหาร
ในสังกัด #กรมยุทธโยธาทหารบก (ยย.ทบ.)
ท่านเคยดำรงตำแหน่ง
#นายกสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์

เครดิต : Pirasri Povatong

#SaveSCALA

๒๙ ธันวาคม

#วันนี้ในอดีต
เหตุการณ์สำคัญในวันที่ ๒๙ ธันวาคม…

● พ.ศ. ๒๓๘๘ (ค.ศ. ๑๘๔๕)
#สหรัฐอเมริกาผนวกสาธารณรัฐเท็กซัสเป็นรัฐที่๒๘

● พ.ศ. ๒๔๕๔ (ค.ศ. ๑๙๑๑)
“นายแพทย์ซุน ยัตเซ็น“ ได้รับเลือกตั้งเป็น #ประธานาธิบดีคนแรกของสาธารณรัฐจีน #ซุนยัตเซ็น

● พ.ศ. ๒๔๘๐ (ค.ศ. ๑๙๓๗)
#รัฐอิสระไอริช (Irish Free State) เปลี่ยนชื่อเป็น #สาธารณรัฐไอร์แลนด์ เมื่อมีการรับรองรัฐธรรมนูญฉบับใหม่

● พ.ศ. ๒๔๘๒ (ค.ศ. ๑๙๓๙)
#สงครามโลกครั้งที่สอง : เครื่องบินทิ้งระเบิด ๔ เครื่องยนต์ใบพัด “#บี๒๔“ (Consolidated B-24 Liberator) ขึ้นบินเป็นครั้งแรก.

๒๘ ธันวาคม

#วันนี้ในอดีต

เหตุการณ์สำคัญในวันที่ ๒๘ ธันวาคม…

● พ.ศ. ๑๖๐๘ (ค.ศ. ๑๐๖๕)
#พิธีอภิเษกอารามเวสต์มินสเตอร์ (Westminster Abbey) ในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ

● พ.ศ. ๒๓๑๐ (ค.ศ. ๑๗๖๗)
#พระยาวชิรปราการ (สิน) (พระยาตากสิน) ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ไทย ทรงพระนามว่า “#สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี“ ขณะมีพระชนมพรรษา ๓๓ พรรษา และทรงสถาปนา “#กรุงธนบุรีศรีมหาสมุทร“ เป็นราชธานีในเวลาต่อมา (เมื่อวันที่ ๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๓๑๓)  แต่นิยมออกพระนามว่า “#สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

● พ.ศ. ๒๓๘๙ (ค.ศ. ๑๘๔๖)
#สหรัฐอเมริกาผนวกไอโอวาเป็นรัฐที่๒๙

● พ.ศ. ๒๔๑๐ (ค.ศ. ๑๘๖๗)
#สหรัฐอเมริกาเข้าครอบครองหมู่เกาะมิดเวย์ (Midway Atoll / Midway Islands) ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกตอนเหนือ ที่ได้ชื่อว่า “มิดเวย์“ เนื่องจากมีที่ตั้งอยู่เกือบกึ่งกลางระยะทางระหว่างทวีปอเมริกากับทวีปเอเชีย

● พ.ศ. ๒๔๒๒ (ค.ศ. ๑๘๗๙)
เกิดเหตุ #ทางรถไฟข้ามแม่น้ำเทย์ในเมืองดันดีถล่มลง (อยู่ในประเทศสกอตแลนด์) มีผู้โดยสารเสียชีวิตทั้งหมด ๗๕ คน

● พ.ศ. ๒๔๓๘ (ค.ศ. ๑๘๙๕)
นักประดิษฐ์สองพี่น้องชาวฝรั่งเศส “ออกัสต์ และ หลุยส์ ลูมิแอร์“ [ Auguste Marie Louis Nicolas Lumière (1862-1954); Louis Jean Lumière (1864-1948) ] ฉายภาพเคลื่อนไหวขึ้นจอ ซึ่งเรียกในขณะนั้นว่า “#ซีเนมาโตกราฟ“ (#Cinematograph) สู่สายตาสาธารณชนเป็นครั้งแรก ด้วยการเช่าสถานที่ห้องโถงใต้ดินร้านกาแฟกร็องด์คาเฟต์ ในโรงแรมสคริบบ์ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส โดยเก็บเงินค่าเข้าชม นับเป็น…#การฉายภาพยนตร์ขึ้นจอครั้งแรกของโลก และนับเป็น #วันกำเนิดภาพยนตร์โลก

● พ.ศ. ๒๕๑๕ (ค.ศ. ๑๙๗๒)
#พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ตั้งการ “#พระราชพิธีสถาปนาสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช“ มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมสถาปนา “สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ บรมขัติยราชกุมาร“ ขึ้นเป็น “สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร“ ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม  นับเป็น #สยามมกุฎราชกุมารพระองค์ที่สามในประวัติศาสตร์พระราชพงศาวดารไทย  ปัจจุบันทรงสืบราชสันตติวงศ์รับราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ ๑๐ แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ เฉลิมพระปรมาภิไธยว่า “#สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร“.

หมดหวัง!

สำนวนในภาษาอังกฤษ

ที่ว่า…

Don’t hold your breath. “

ความหมายโดยตรง = อย่ากลั้นหายใจ!

ความหมายโดยนัย = #อย่าไปหวังอะไรเลย!

ฮ่าฮ่าฮ่า #หมดหวัง!

๒๗ ธันวาคม

#วันนี้ในอดีต
เหตุการณ์สำคัญในวันที่ ๒๗ ธันวาคม…

● พ.ศ. ๑๐๘๐ (ค.ศ. ๕๓๗)
#จักรพรรดิจัสติเนียนที่หนึ่ง แห่งจักรวรรดิไบแซนไทน์ ทรงประกอบพิธีเปิด “#วิหารอายาโซเฟีย“ [เรียกชื่อต่างกันไปในภาษาต่างๆ; อังกฤษ : Hagia Sophia (ฮาเจียโซเฟีย), ตุรกี : Ayasofya (อายาโซเฟีย), กรีกโบราณ : Ἁγία Σοφία (ฮากีอาโซพีอา), ละติน : SANCTA SAPIENTIA (ซางก์ตาซาปีเอนเตีย)] เดิมเป็นศาสนสถานสำคัญในศาสนาคริสต์นิกายอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์นานถึงหนึ่งพันปี ต่อมา #สุลต่านเมห์เหม็ดที่สอง แห่งจักรวรรดิออตโตมัน เปลี่ยนเป็น “มัสยิด“ ในศาสนาอิสลาม  ปัจจุบันคือ “#พิพิธภัณฑ์อายาโซเฟีย“ (Ayasofya Museum) ตั้งอยู่ในนครอิสตันบูล สาธารณรัฐตุรกี  เคยเป็น #สิ่งก่อสร้างใหญ่ที่สุดในโลก จนถึง พ.ศ. ๒๐๖๓ เมื่อ “อาสนวิหารเซบียา“ สร้างเสร็จ โดยสร้างวิหารเป็นครั้งที่สามทับบนที่ตั้งเดิมของวิหารที่ถูกทำลายไปจากเหตุจลาจลก่อนหน้านั้น ในวงวิชาการประวัติศาสตร์สากลมักเรียกเป็น “#สิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคกลาง

● พ.ศ. ๒๓๗๔ (ค.ศ. ๑๘๓๑)
“ชาร์ล ดาร์วิน“ (Charles Robert Darwin, FRS : 1809-1882) เดินทางออกจากเมืองพลีมัท ประเทศอังกฤษ ด้วย “เรือบีเกิล“ เป็น #จุดเริ่มต้นการเดินทางสู่ทวีปอเมริกาใต้ #นับเป็นช่วงเวลาสำคัญในประวัติศาสตร์ของมวลมนุษยชาติ

● พ.ศ. ๒๔๑๗ (ค.ศ. ๑๘๗๔)
#สมัยรัชกาลที่ห้า : #เกิดเหตุเพลิงไหม้ภายในพระบรมมหาราชวัง กลายเป็นประเด็นความขัดแย้งระหว่าง “วังหลวง“ กับ “วังหน้า“ ในเวลาต่อมา

● พ.ศ. ๒๔๘๘ (ค.ศ. ๑๙๔๕)
นานาชาติให้สัตยาบันใน “#ความตกลงเบรตตันวูดส์“ (Bretton Woods System) ที่เมืองเบรตตันวูดส์ รัฐนิวแฮมป์เชียร์ ประเทศสหรัฐอเมริกา อันนำไปสู่การก่อตั้ง “#กองทุนการเงินระหว่างประเทศ“ (International Monetary Fund : #IMF) และ “#ธนาคารระหว่างประเทศเพื่อการบูรณะและการพัฒนา“ (International Bank for Reconstruction and Development : #IBRD / World Bank)

● พ.ศ. ๒๔๙๒ (ค.ศ. ๑๙๔๙)
#สมเด็จพระราชินีนาถยูเลียนาแห่งเนเธอร์แลนด์ ทรงลงพระปรมาภิไธยใน “#เอกสารสละอำนาจอธิปไตยเหนือดัตช์อีสต์อินดิส“ ปัจจุบัน คือ #ประเทศอินโดนีเซีย เป็นผลให้ #การประกาศเอกราชของอินโดนีเซีย ฝ่ายเดียวเมื่อวันที่ ๑๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๘ มีผลสมบูรณ์  แต่คงมีความขัดแย้งในบางสารัตถะ การสละอำนาจจึงเป็นการถ่ายโอนอำนาจผ่านสหประชาชาติ ต่อมาสหประชาชาติได้โอนอำนาจการปกครองในพื้นที่พิพาทแก่ประเทศอินโดนีเซียในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๐๖

● พ.ศ. ๒๕๑๑ (ค.ศ. ๑๙๖๘)
#โครงการอพอลโล่ : ยาน “#Apollo8“ กลับถึงโลกลงสู่มหาสมุทรแปซิฟิก นับเป็น #ยานที่มีมนุษย์ลำแรกที่ออกจากแรงโน้มถ่วงของโลกและกลับมายังโลกได้

● พ.ศ. ๒๕๔๘ (ค.ศ. ๒๐๐๕)
#ขบวนการอาเจะห์เสรีประกาศยกเลิกกองกำลังติดอาวุธ ในประเทศอินโดนีเซีย (#ขบวนการอาเจะห์เสรี : Gerakan Aceh Merdeka : #GAM หรือ #แนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติอาเจะฮ์สุมาตรา : Aceh Sumatra National Liberation Front)

● พ.ศ. ๒๕๕๓ (ค.ศ. ๒๐๑๐)
#อุบัติเหตุบนทางยกระดับอุตราภิมุข : เกิดเหตุรถยนต์ส่วนบุคคล (#ฮอนด้าซีวิค) ชนรถตู้สาธารณะ (ต.๑๑๘) บนทางยกระดับอุตราภิมุข (#ดอนเมืองโทลเวย์) โดยผู้ก่อเหตุเป็นเยาวชน มีผู้เสียชีวิตรวม ๙ ราย บาดเจ็บ ๕ ราย และมีกระแสวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางในสังคมออนไลน์  ในส่วนคดีอาญา ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำคุก ๓ ปี รอลงอาญา ๔ ปี ให้บำเพ็ญประโยชน์ ๔๘ ชั่วโมงต่อปี และห้ามขับรถจนกว่าจะมีอายุครบ ๒๕ ปี  ส่วนประกอบ ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้จำเลยทั้งสามร่วมกันชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ประกอบด้วย ค่าไร้อุปการะ และค่ารักษาพยาบาลรวมถึงค่าอื่นๆ ให้กับโจทก์ร่วมรวม ๒๘ คน (ครอบครัวของผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บแต่ละคน) ในจำนวนเงินแตกต่างกันตามสภาพ รวมเป็นเงิน ๓๐ ล้านบาทเศษ พร้อมดอกเบี้ย ร้อยละ ๗.๕ ต่อปี และศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เหลือ ๑๙ ล้านบาทเศษ.

สองทศวรรษ…ไททานิค

Congratulations! 🎆🎉👏

เดือนธันวาคม ๒๕๖๐ เป็นวาระครบ ๒๐ ปี ของภาพยนตร์เรื่อง “#ไททานิค“ (#TITANIC : 1997)

● ฉายในประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ ๑๙ ธันวาคม ๒๕๔๐

● ฉายในประเทศไทย เมื่อวันที่ ๒๔ ธันวาคม ๒๕๔๐

● ฉายในระบบสามมิติและไอแมกซ์ (3D & IMAX) เมื่อวันที่ ๕ เมษายน ๒๕๕๕

กำกับภาพยนตร์ : เจมส์ คาเมรอน

อำนวยการสร้าง : เจมส์ คาเมรอน / จอน แลนเดา

เขียนบทภาพยนตร์ : เจมส์ คาเมรอน

นำแสดง : ลีโอนาโด ดิคาปริโอ / เคท วินสเลท

ผู้จัดจำหน่ายและเผยแพร่ :

ทั่วโลก : ทเวนตีส์เซ็นจูรีฟ็อกซ์

อเมริกาและแคนาดา : พาราเมาต์พิกเจอส์

#สองทศวรรษไททานิค #2decadesofTITANIC #ชู้รักเรือล่ม

๒๖ ธันวาคม

#วันนี้ในอดีต…เหตุการณ์สำคัญในวันที่ ๒๖ ธันวาคม…

● พ.ศ. ๒๔๓๑ (ค.ศ. ๑๘๘๘)

การแข่งขันฟุตบอลใน “#วันเปิดกล่องของขวัญ“ (Boxing Day) เริ่มต้นเป็นคู่แรก “เปรสตันนอร์ธเอนด์“ ชนะ “ดาร์บีเคาน์ตี“ ไปด้วยคะแนน ๕ ต่อ ๐ ประตู

● พ.ศ. ๒๔๔๑ (ค.ศ. ๑๘๙๘)

“ปีแยร์และมารี กูรี“ #ประกาศการค้นพบธาตุเรเดียม (Radium : Ra) ซึ่งเป็นธาตุเคมีชนิดใหม่ในยุคนั้น มีเลขอะตอม ๘๘  “#เรเดียม“ เป็นธาตุโลหะแอลคาไลน์เอิร์ท ขณะบริสุทธิ์จะมีสีขาวและจะดำลงเมื่อสัมผัสกับอากาศ ในธรรมชาติพบอยู่กับ “แร่ยูเรเนียม“ โดยที่ #เรเดียมเป็นธาตุกัมมันตรังสีชนิดเข้มข้น

● พ.ศ. ๒๔๘๖ (ค.ศ. ๑๙๔๓)

เรือประจัญบาน “#ชานฮอสต์“ (Scharnhorst) ของกองทัพเรือเยอรมนี ซึ่งตั้งชื่อเป็นเกียรติแก่ “จอมพล Gerhard von Scharnhorst“ แห่งกองทัพปรัสเซีย ถูกจมลงโดยกองเรือรบสัมพันธมิตรบริเวณใกล้ North Cape

● พ.ศ. ๒๕๐๓ (ค.ศ. ๑๙๖๐)

#วันสถาปนาแนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติเวียดนามใต้

● พ.ศ. ๒๕๓๔ (ค.ศ. ๑๙๙๑)

#สภาโซเวียตแห่งเชื้อชาติประกาศยุบตัวเองและสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต (#USSR)

● พ.ศ. ๒๕๔๖ (ค.ศ. ๒๐๐๓)

#แผ่นดินไหวที่เมืองบาม ประเทศอิหร่าน ระดับแมกนิจูด ๖.๗ ทำให้มีผู้เสียชีวิตมากกว่า ๓ หมื่นคน

● พ.ศ. ๒๕๔๗ (ค.ศ. ๒๐๐๔)

#แผ่นดินไหวในมหาสมุทรอินเดีย ระดับแมกนิจูด ๙.๑ – ๙.๓  ทำให้เกิด “#คลื่นสึนามิ“ (#Tsunami) คร่าชีวิตประชาชนตามชายฝั่งมหาสมุทรไปมากกว่า ๒.๓ – ๒.๘ แสนคน รวมทั้งชายฝั่งทะเลอันดามันและชายฝั่งตะวันตกในประเทศไทยด้วย

● พ.ศ. ๒๕๔๙ (ค.ศ. ๒๐๐๖)

#แผ่นดินไหวในทะเลใกล้กับประเทศไต้หวัน ระดับแมกนิจูด ๗.๑ ส่งผลให้ระบบโทรคมนาคมของประเทศในเอเชียตะวันออกหลายประเทศขัดข้อง มีผู้เสียชีวิต ๒ คน.

ภาพประกอบ : #สวนอนุสรณ์สึนามิบ้านน้ำเค็ม (Ban Nam Khem Tsunami Memorial Park) อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา ประเทศไทย  และมัสยิดแห่งหนึ่งบริเวณชายฝั่งอะเจห์ ประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นสิ่งปลูกสร้างอย่างเดียวที่รอดพ้นจากพิบัติภัย “#สึนามิ“ ในครั้งนั้น.

๒๕ ธันวาคม

#วันนี้ในอดีต

เหตุการณ์สำคัญในวันที่ ๒๕ ธันวาคม…

● พ.ศ. ๒๔๘๗ (ค.ศ. ๑๙๔๔)
#สหรัฐอเมริกายึดเกาะเลย์เตคืนจากญี่ปุ่นได้ทั้งหมด

● พ.ศ. ๒๕๐๕ (ค.ศ. ๑๙๖๒)
“นายกำพล วัชรพล“ ก่อตั้ง “#หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ“ แทน “หนังสือพิมพ์ข่าวภาพ“ โดย #หนังสือพิมพ์ไทยรัฐฉบับแรกออกวางจำหน่าย ในวันที่ ๒๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๐๕  แล้วเริ่มแทรกภาพสีเป็น “#ไทยรัฐสารพัดสี“ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๘  ปัจจุบันนับเป็น #หนังสือพิมพ์ไทยที่มีอายุยืนยาวที่สุด

● พ.ศ. ๒๕๓๒ (ค.ศ. ๑๙๘๙)
#สงครามในอัฟกานิสถานของโซเวียต : กองทัพโซเวียตบุกถึงกรุงคาบูล

● พ.ศ. ๒๕๓๔ (ค.ศ. ๑๙๙๑)
#สหภาพโซเวียตล่มสลายลง ภายหลัง “มีฮาอิล กอร์บาชอฟ“ #ประธานาธิบดีสหภาพโซเวียตลาออกจากตำแหน่ง

● พ.ศ. ๒๕๔๖ (ค.ศ. ๒๐๐๓)
#ระเบิดพลีชีพในปากีสถาน : เกิดเหตุเมื่อรถบรรทุกสองคันระหว่างขบวนรถยนต์ของประธานาธิบดีปากีสถาน “เปอร์เวซ มูชาร์ราฟ“ แล่นผ่านเมืองราวัลปินดี  มีผู้เสียชีวิต ๑๔ คน.

ภาพประกอบ : เป็น “หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ“ ฉบับที่อัญเชิญพระบรมฉายาลักษณ์ “#ในหลวงรัชกาลที่๙“…“#ขึ้นหน้าปก“ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๑.