๓๑ ธันวาคม

#วันนี้ในอดีต
เหตุการณ์สำคัญในวันที่ ๓๑ ธันวาคม

● พ.ศ. ๒๑๔๓ (ค.ศ. ๑๖๐๐)
#สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่หนึ่ง (Queen Elizabeth I : 1533 – 1603) แห่งอังกฤษ มีพระบรมราชานุญาตให้ก่อตั้ง “#บริษัทอินเดียตะวันออก” (East Indian Company)

● พ.ศ. ๒๔๐๐ (ค.ศ. ๑๘๕๗)
#สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย (Queen Victoria : 1819 – 1901) ทรงเลือก “#กรุงออตตาวา” (Ottawa) เป็น #เมืองหลวงของอาณานิคมแคนาดา ของเครือจักรภพอังกฤษ

● พ.ศ. ๒๔๒๑ (ค.ศ. ๑๘๗๘)
นายคาร์ล เบนซ์” (Karl Friedrich Benz : 1844 – 1929) ขณะทำงานในมันน์ไฮม์ ประเทศเยอรมนี ได้ยิน #จดสิทธิบัตรเครื่องยนต์แก๊สสองจังหวะที่เชื่อถือได้ครั้งแรก (#Gasoline) และได้รับสิทธิบัตรในปีถัดมา

● พ.ศ. ๒๔๒๒ (ค.ศ. ๑๘๗๙)
นายโทมัส เอดิสัน” (Thomas Alva Edison : 1847 – 1931) #สาธิตหลอดไส้ร้อนแบบธรรมดาต่อสาธารณะเป็นครั้งแรก ในเมนโลพาร์ก รัฐนิวเจอร์ซีย์ ประเทศสหรัฐอเมริกา

● พ.ศ. ๒๔๕๐ (ค.ศ. ๑๙๐๗)
“#ไทม์สแควร์” (Times square) ในนครนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา จัดกิจกรรม #เฉลิมฉลองวันสิ้นปีพร้อมกับลูกบอลไทม์สแควร์เป็นครั้งแรก

● พ.ศ. ๒๔๙๔ (ค.ศ. ๑๙๕๑)
#แผนการณ์มาร์แชลสิ้นสุดลง (Marshall Plan / ชื่อเรียกอย่างเป็นทางการคือ “แผนงานฟื้นฟูยุโรป” : European Recovery Programme : ERP)

● พ.ศ. ๒๕๐๒ (ค.ศ. ๑๙๕๙)
นายฟีเดล กัสโตร” (Fidel Alejandro Castro Ruz : 1926 – 2016) ก่อการปฏิวัติในคิวบาเป็นผลสำเร็จ แล้ว #เปลี่ยนคิวบาเป็นประเทศในระบอบคอมมิวนิสต์

● พ.ศ. ๒๕๓๔ (ค.ศ. ๑๙๙๑)
องค์กรอย่างเป็นทางการทั้งหมดของ “#สหภาพโซเวียต” (Soviet Union : สหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต : Сою́з Сове́тских Социалисти́ческих Респу́блик / CCCP : Union of Soviet Socialist Republics / USSR) ยุติการปฏิบัติ และ #สหภาพโซเวียตยุบเลิกอย่างเป็นทางการ

● พ.ศ. ๒๕๓๕ (ค.ศ. ๑๙๙๒)
#เชโกสโลวาเกียยุบอย่างสันติ ซึ่งเรียกขานเหตุการณ์ว่าเป็น “#การหย่ากำมะหยี่” (Velvet Divorce) แล้วสถาปนา “#สาธารณรัฐเช็กและสโลวัก” (สาธารณรัฐเชโกสโลวาเกีย : Republic of Czechoslovakia / ปัจจุบันแยกออกเป็นสองประเทศคือ 🇨🇿 #สาธารณรัฐเช็ก : Czech Republic : Česká republika หรือเช็กเกีย” : Czechia : Česko และ 🇸🇰 #สาธารณรัฐสโลวัก : Slovak Republic : Slovenská republika หรือสโลวาเกีย” : Slovakia : Slovensko)

● พ.ศ. ๒๕๔๑ (ค.ศ. ๑๙๙๘)
กลไกอัตราแลกเปลี่ยนยุโรปหยุดมูลค่าของสกุลเงินท้องถิ่นใน “#ยูโรโซน” (#Eurozone) และ #จัดตั้งมูลค่าเงินใหม่ในทวีปยุโรป เป็นสกุล “#ยูโร” (EURO : EUR : )

● พ.ศ. ๒๕๔๒ (ค.ศ. ๑๙๙๙)
นายวลาดีมีร์ ปูติน” (Владимир Владимирович Путин : Vladimir Vladimirovich Putinr : 1952) ดำรงตำแหน่ง #ประธานาธิบดีสหพันธรัฐรัสเซีย หลังจาก “นายบอริส เยลต์ซิน” ลาออก

● พ.ศ. ๒๕๔๗ (ค.ศ. ๒๐๐๔)
“#ไทเป๑๐๑” (Taipei 101) ในย่านซินยี่ กรุงไทเป ประเทศไต้หวัน เปิดใช้อย่างเป็นทางการ เคยเป็น #ตึกสูงที่สุดในโลก ในช่วงเวลาหนึ่ง

● พ.ศ. ๒๕๔๘ (ค.ศ. ๒๐๐๕)
องค์กร “International Earth Rotation and Reference Systems Service (#IERS) กำหนดให้ใช้ “#อธิกวินาที” (Leap Second) ในนาทีสุดท้ายของวันที่ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ ตามเวลาสากลเชิงพิกัด เป็นครั้งแรกในรอบ ๗ ปี ทำให้นาทีสุดท้ายของปีมี ๖๑ วินาที

● พ.ศ. ๒๕๔๙ (ค.ศ. ๒๐๐๖)
#เหตุระเบิดในกรุงเทพมหานคร : เกิดเหตุระเบิดพร้อมกันหลายพื้นที่ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ส่งผลต่อกิจกรรมการนับเวลาถอยหลังส่งท้ายปีในหลายแห่ง.

๓๐ ธันวาคม

#วันนี้ในอดีต
เหตุการณ์สำคัญในวันที่ ๓๐ ธันวาคม

● พ.ศ. ๒๓๙๖ (ค.ศ. ๑๘๕๓)
ประเทศสหรัฐอเมริกาชำระเงิน ๑๐ ล้านดอลลาร์สหรัฐให้กับประเทศเม็กซิโก เพื่อซื้อที่ดิน ๓ หมื่นตารางไมล์ ทางใต้ของแม่น้ำกิลา (Gila River) และตะวันตกของแม่น้ำริโอแกรนด์ (Rio Grande River)

● พ.ศ. ๒๔๗๐ (ค.ศ. ๑๙๒๗)
ญี่ปุ่นเปิดการจราจร “#รถไฟใต้ดินสายกิงซะ” (Ginza Line) ในกรุงโตเกียว นับเป็น #เส้นทางรถไฟใต้ดินสายแรกในทวีปเอเชีย

● พ.ศ. ๒๕๐๘ (ค.ศ. ๑๙๖๕)
นายเฟอร์ดินันด์ อี. มาร์กอส” (Ferdinand Emmanuel Edralin Marcos : 1917 – 1989) ดำรงตำแหน่ง #ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ เป็นคนที่สอง

● พ.ศ. ๒๕๐๙ (ค.ศ. ๑๙๖๖)
ชาติชาย เชี่ยวน้อย” (นริศ เชี่ยวน้อย : ๒๔๘๕ – ๒๕๖๑) ชนะทีเคโอยก ๙ ต่อ “วอลเตอร์ แม็คโกแวน” นักมวยชาวอังกฤษ ที่สนามมวยชั่วคราวภายในสนามกีฬาในร่ม หัวหมาก (Indoor Stadium) ได้เป็น #แชมป์มวยโลกรุ่นฟลายเวต ของสภามวยโลก (#WBC) ครั้งนั้นได้รับพระมหากรุณาธิคุณล้นพ้นจาก #พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนินเป็นการส่วนพระองค์ทอดพระเนตรการชกมวยด้วย “ชาติชาย เชี่ยวน้อย” ได้รับฉายาในวงการมวยสากลอาชีพว่าเป็น “#มาร์เซียโน่น้อยแห่งเอเชีย” นับเป็น #แชมป์มวยโลกชาวไทยคนที่สอง

● พ.ศ. ๒๕๔๕ (ค.ศ. ๒๐๐๒)
ภราดร ศรีชาพันธุ์” (๒๕๒๒) เป็น “แชมป์เทนนิสเอทีพีทัวร์” (#ATP Championship) เป็นรายการที่สามในการเล่นอาชีพ จากรายการ “เชนไนโอเพน” ที่เมืองเชนไน ประเทศอินเดีย.

๒๙ ธันวาคม

#วันนี้ในอดีต
เหตุการณ์สำคัญในวันที่ ๒๙ ธันวาคม

● พ.ศ. ๒๓๘๘ (ค.ศ. ๑๘๔๕)
#สหรัฐอเมริกาผนวกสาธารณรัฐเท็กซัสเป็นรัฐที่๒๘ (Texas : TX)

● พ.ศ. ๒๔๕๔ (ค.ศ. ๑๙๑๑)
นายแพทย์ซุน ยัตเซ็น” (Dr. Sun Yat-sen : 孫文 ซุนเหฺวิน/ 孫逸仙 ซุนอี้เซียน : 1866 – 1925) ได้รับเลือกตั้งเป็น #ประธานาธิบดีสาธารณรัฐจีน (คนแรก) #ซุนยัตเซ็น

● พ.ศ. ๒๔๘๐ (ค.ศ. ๑๙๓๗)
#รัฐอิสระไอริช (Irish Free State) เปลี่ยนชื่อเป็น #สาธารณรัฐไอร์แลนด์ (🇮🇪 Republic of Ireland : Poblacht na hÉireann) เมื่อมีการรับรองรัฐธรรมนูญฉบับใหม่

● พ.ศ. ๒๔๘๒ (ค.ศ. ๑๙๓๙)
#สงครามโลกครั้งที่สอง : เครื่องบินทิ้งระเบิด ๔ เครื่องยนต์ใบพัด “#บี๒๔” (Consolidated B-24 Liberator) ขึ้นบินเป็นครั้งแรก.

๒๘ ธันวาคม

#วันนี้ในอดีต
เหตุการณ์สำคัญในวันที่ ๒๘ ธันวาคม

● พ.ศ. ๑๖๐๘ (ค.ศ. ๑๐๖๕)
#พิธีอภิเษกอารามเวสต์มินสเตอร์ (Westminster Abbey) ในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ

● พ.ศ. ๒๓๑๐ (ค.ศ. ๑๗๖๗)
#พระยาวชิรปราการ (สิน) (พระยาตากสิน) ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ไทย ทรงพระนามว่า “#สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี” ขณะมีพระชนมพรรษา ๓๓ พรรษา และทรงสถาปนา “#กรุงธนบุรีศรีมหาสมุทร” เป็นราชธานีในเวลาต่อมา (เมื่อวันที่ ๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๓๑๓) แต่นิยมออกพระนามว่า “#สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

● พ.ศ. ๒๓๘๙ (ค.ศ. ๑๘๔๖)
#สหรัฐอเมริกาผนวกไอโอวาเป็นรัฐที่๒๙ (Iowa : IA)

● พ.ศ. ๒๔๑๐ (ค.ศ. ๑๘๖๗)
#สหรัฐอเมริกาเข้าครอบครองหมู่เกาะมิดเวย์ (Midway Atoll / Midway Islands) ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกตอนเหนือ ที่ได้ชื่อว่า “มิดเวย์” เนื่องจากมีที่ตั้งอยู่เกือบกึ่งกลางระยะทางระหว่างทวีปอเมริกากับทวีปเอเชีย

● พ.ศ. ๒๔๒๒ (ค.ศ. ๑๘๗๙)
เกิดเหตุ #ทางรถไฟข้ามแม่น้ำเทย์ในเมืองดันดีถล่มลง (อยู่ในประเทศสกอตแลนด์) มีผู้โดยสารเสียชีวิตทั้งหมด ๗๕ คน

● พ.ศ. ๒๔๓๘ (ค.ศ. ๑๘๙๕)
นักประดิษฐ์สองพี่น้องชาวฝรั่งเศส “ออกัสต์ และ หลุยส์ ลูมิแอร์” [ Auguste Marie Louis Nicolas Lumière (1862 – 1954); Louis Jean Lumière (1864 – 1948) ] ฉายภาพเคลื่อนไหวขึ้นจอ ซึ่งเรียกในขณะนั้นว่า “#ซีเนมาโตกราฟ” (#Cinematograph) สู่สายตาสาธารณชนเป็นครั้งแรก ด้วยการเช่าสถานที่ห้องโถงใต้ดินร้านกาแฟกร็องด์คาเฟต์ ในโรงแรมสคริบบ์ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส โดยเก็บเงินค่าเข้าชม นับเป็น…#การฉายภาพยนตร์ขึ้นจอครั้งแรกของโลก และนับเป็น #วันกำเนิดภาพยนตร์โลก

● พ.ศ. ๒๕๑๕ (ค.ศ. ๑๙๗๒)
#พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ตั้งการ “#พระราชพิธีสถาปนาสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช” มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมสถาปนา “สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ บรมขัติยราชกุมาร” ขึ้นเป็น “สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร” ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม นับเป็น #สยามมกุฎราชกุมารพระองค์ที่สามในประวัติศาสตร์พระราชพงศาวดารไทย ปัจจุบันทรงสืบราชสันตติวงศ์รับราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ ๑๐ แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ เฉลิมพระปรมาภิไธยว่า “#สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร”.

๒๗ ธันวาคม

#วันนี้ในอดีต
เหตุการณ์สำคัญในวันที่ ๒๗ ธันวาคม

● พ.ศ. ๑๐๘๐ (ค.ศ. ๕๓๗)
#จักรพรรดิจัสติเนียนที่หนึ่ง แห่งจักรวรรดิไบแซนไทน์ ทรงประกอบพิธีเปิด “#วิหารอายาโซเฟีย” [เรียกชื่อต่างกันไปในภาษาต่างๆ; อังกฤษ : Hagia Sophia (ฮาเจียโซเฟีย), ตุรกี : Ayasofya (อายาโซเฟีย), กรีกโบราณ : Ἁγία Σοφία (ฮากีอาโซพีอา), ละติน : SANCTA SAPIENTIA (ซางก์ตาซาปีเอนเตีย)] เดิมเป็นศาสนสถานสำคัญในศาสนาคริสต์นิกายอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์นานถึงหนึ่งพันปี ต่อมา #สุลต่านเมห์เหม็ดที่สอง แห่งจักรวรรดิออตโตมัน เปลี่ยนเป็น “มัสยิด” ในศาสนาอิสลาม ปัจจุบันคือ “#พิพิธภัณฑ์อายาโซเฟีย” (Ayasofya Museum) ตั้งอยู่ในนครอิสตันบูล สาธารณรัฐตุรกี เคยเป็น #สิ่งก่อสร้างใหญ่ที่สุดในโลก จนถึง พ.ศ. ๒๐๖๓ เมื่อ “อาสนวิหารเซบียา” สร้างเสร็จ โดยสร้างวิหารเป็นครั้งที่สามทับบนที่ตั้งเดิมของวิหารที่ถูกทำลายไปจากเหตุจลาจลก่อนหน้านั้น ในวงวิชาการประวัติศาสตร์สากลมักเรียกเป็น “#สิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคกลาง

● พ.ศ. ๒๓๗๔ (ค.ศ. ๑๘๓๑)
ชาร์ล ดาร์วิน” (Charles Robert Darwin, FRS : 1809 – 1882) เดินทางออกจากเมืองพลีมัท ประเทศอังกฤษ ด้วย “เรือบีเกิล” (Beagle) เป็น #จุดเริ่มต้นการเดินทางสู่ทวีปอเมริกาใต้ #นับเป็นช่วงเวลาสำคัญในประวัติศาสตร์ของมวลมนุษยชาติ

● พ.ศ. ๒๔๑๗ (ค.ศ. ๑๘๗๔)
#สมัยรัชกาลที่ห้า : #เกิดเหตุเพลิงไหม้ภายในพระบรมมหาราชวัง กลายเป็นประเด็นความขัดแย้งระหว่าง “วังหลวง” กับ “วังหน้า” ในเวลาต่อมา

● พ.ศ. ๒๔๘๘ (ค.ศ. ๑๙๔๕)
นานาชาติให้สัตยาบันใน “#ความตกลงเบรตตันวูดส์” (Bretton Woods System) ที่เมืองเบรตตันวูดส์ รัฐนิวแฮมป์เชียร์ ประเทศสหรัฐอเมริกา อันนำไปสู่การก่อตั้ง “#กองทุนการเงินระหว่างประเทศ” (International Monetary Fund : #IMF) และ “#ธนาคารระหว่างประเทศเพื่อการบูรณะและการพัฒนา“ (International Bank for Reconstruction and Development : #IBRD / World Bank)

● พ.ศ. ๒๔๙๒ (ค.ศ. ๑๙๔๙)
#สมเด็จพระราชินีนาถยูเลียนาแห่งเนเธอร์แลนด์ ทรงลงพระปรมาภิไธยใน “#เอกสารสละอำนาจอธิปไตยเหนือดัตช์อีสต์อินดิส” ปัจจุบัน คือ #ประเทศอินโดนีเซีย เป็นผลให้ #การประกาศเอกราชของอินโดนีเซีย ฝ่ายเดียวเมื่อวันที่ ๑๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๘ มีผลสมบูรณ์ แต่คงมีความขัดแย้งในบางสารัตถะ การสละอำนาจจึงเป็นการถ่ายโอนอำนาจผ่านสหประชาชาติ ต่อมาสหประชาชาติได้โอนอำนาจการปกครองในพื้นที่พิพาทแก่ประเทศอินโดนีเซียในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๐๖

● พ.ศ. ๒๕๑๑ (ค.ศ. ๑๙๖๘)
#โครงการอพอลโล่ : ยาน “#Apollo8” กลับถึงโลกลงสู่มหาสมุทรแปซิฟิก นับเป็น #ยานที่มีมนุษย์ลำแรกที่ออกจากแรงโน้มถ่วงของโลกและกลับมายังโลกได้

● พ.ศ. ๒๕๔๘ (ค.ศ. ๒๐๐๕)
#ขบวนการอาเจะห์เสรีประกาศยกเลิกกองกำลังติดอาวุธ ในประเทศอินโดนีเซีย (#ขบวนการอาเจะห์เสรี : Gerakan Aceh Merdeka : #GAM หรือ #แนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติอาเจะฮ์สุมาตรา : Aceh Sumatra National Liberation Front)

● พ.ศ. ๒๕๕๓ (ค.ศ. ๒๐๑๐)
#อุบัติเหตุบนทางยกระดับอุตราภิมุข : เกิดเหตุรถยนต์ส่วนบุคคล (#ฮอนด้าซีวิค) ชนรถตู้สาธารณะ (ต.๑๑๘) บนทางยกระดับอุตราภิมุข (#ดอนเมืองโทลเวย์) โดยผู้ก่อเหตุเป็นเยาวชน มีผู้เสียชีวิตรวม ๙ ราย บาดเจ็บ ๕ ราย และมีกระแสวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางในสังคมออนไลน์ ในส่วนคดีอาญา ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำคุก ๓ ปี รอลงอาญา ๔ ปี ให้บำเพ็ญประโยชน์ ๔๘ ชั่วโมงต่อปี และห้ามขับรถจนกว่าจะมีอายุครบ ๒๕ ปี ส่วนประกอบ ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้จำเลยทั้งสามร่วมกันชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ประกอบด้วย ค่าไร้อุปการะ และค่ารักษาพยาบาลรวมถึงค่าอื่นๆ ให้กับโจทก์ร่วมรวม ๒๘ คน (ครอบครัวของผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บแต่ละคน) ในจำนวนเงินแตกต่างกันตามสภาพ รวมเป็นเงิน ๓๐ ล้านบาทเศษ พร้อมดอกเบี้ย ร้อยละ ๗.๕ ต่อปี และศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เหลือ ๑๙ ล้านบาทเศษ.

๒๖ ธันวาคม

#วันนี้ในอดีต
เหตุการณ์สำคัญในวันที่ ๒๖ ธันวาคม

● พ.ศ. ๒๔๓๑ (ค.ศ. ๑๘๘๘)
การแข่งขันฟุตบอลใน “#วันเปิดกล่องของขวัญ” (Boxing Day) เริ่มต้นเป็นคู่แรก “เปรสตันนอร์ธเอนด์” ชนะ “ดาร์บีเคาน์ตี” ไปด้วยคะแนน ๕ ต่อ ๐ ประตู

● พ.ศ. ๒๔๔๑ (ค.ศ. ๑๘๙๘)
ปีแยร์และมารี กูรี” (Pierre Curie : 1859 – 1906 / Marie Skłodowska-Curie : 1867 – 1934) คู่สามีนักฟิสิกส์ชาวฝรั่งเศสและภริยานักเคมีชาวโปแลนด์ #ประกาศการค้นพบธาตุเรเดียม (Radium : Ra) ซึ่งเป็นธาตุเคมีชนิดใหม่ในยุคนั้น มีเลขอะตอม ๘๘ “#เรเดียม” เป็นธาตุโลหะแอลคาไลน์เอิร์ท ขณะบริสุทธิ์จะมีสีขาวและจะดำลงเมื่อสัมผัสกับอากาศ ในธรรมชาติพบอยู่กับ “แร่ยูเรเนียม” โดยที่ #เรเดียมเป็นธาตุกัมมันตรังสีชนิดเข้มข้น

● พ.ศ. ๒๔๘๖ (ค.ศ. ๑๙๔๓)
เรือประจัญบาน “#ชานฮอสต์” (Scharnhorst) ของกองทัพเรือเยอรมนี ซึ่งตั้งชื่อเป็นเกียรติแก่ “จอมพล Gerhard von Scharnhorst” (Gerhard Johann David von Scharnhorst : 1755 – 1813) แห่งกองทัพปรัสเซีย ถูกจมลงโดยกองเรือรบสัมพันธมิตรบริเวณใกล้ North Cape

● พ.ศ. ๒๕๐๓ (ค.ศ. ๑๙๖๐)
#วันสถาปนาแนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติเวียดนามใต้

● พ.ศ. ๒๕๓๔ (ค.ศ. ๑๙๙๑)
#สภาโซเวียตแห่งเชื้อชาติประกาศยุบตัวเองและสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต (#USSR)

● พ.ศ. ๒๕๔๖ (ค.ศ. ๒๐๐๓)
#แผ่นดินไหวที่เมืองบาม ประเทศอิหร่าน ระดับแมกนิจูด ๖.๗ ทำให้มีผู้เสียชีวิตมากกว่า ๓ หมื่นคน

● พ.ศ. ๒๕๔๗ (ค.ศ. ๒๐๐๔)
#แผ่นดินไหวในมหาสมุทรอินเดีย ระดับแมกนิจูด ๙.๑ – ๙.๓ ทำให้เกิด “#คลื่นสึนามิ” (#Tsunami) คร่าชีวิตประชาชนตามชายฝั่งมหาสมุทรไปมากกว่า ๒.๓ – ๒.๘ แสนคน รวมทั้งชายฝั่งทะเลอันดามันและชายฝั่งตะวันตกในประเทศไทยด้วย

● พ.ศ. ๒๕๔๙ (ค.ศ. ๒๐๐๖)
#แผ่นดินไหวในทะเลใกล้กับประเทศไต้หวัน ระดับแมกนิจูด ๗.๑ ส่งผลให้ระบบโทรคมนาคมของประเทศในเอเชียตะวันออกหลายประเทศขัดข้อง มีผู้เสียชีวิต ๒ คน.

ภาพประกอบ : #สวนอนุสรณ์สึนามิบ้านน้ำเค็ม (Ban Nam Khem Tsunami Memorial Park) อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา ประเทศไทย.

๒๕ ธันวาคม

#วันนี้ในอดีต
เหตุการณ์สำคัญในวันที่ ๒๕ ธันวาคม

● พ.ศ. ๒๔๘๗ (ค.ศ. ๑๙๔๔)
#สหรัฐอเมริกายึดเกาะเลย์เตคืนจากญี่ปุ่นได้ทั้งหมด

● พ.ศ. ๒๕๐๕ (ค.ศ. ๑๙๖๒)
นายกำพล วัชรพล” (๒๔๖๒ – ๒๕๓๙) ก่อตั้ง “#หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ” แทน “หนังสือพิมพ์ข่าวภาพ” โดย #หนังสือพิมพ์ไทยรัฐฉบับแรกออกวางจำหน่าย ในวันที่ ๒๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๐๕ แล้วเริ่มแทรกภาพสีเป็น “#ไทยรัฐสารพัดสี” เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๘ ปัจจุบันนับเป็น #หนังสือพิมพ์ไทยที่มีอายุยืนยาวที่สุด ต่อมาใน พ.ศ. ๒๕๖๐ องค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (#UNESCO) ได้ประกาศยกย่องให้เป็น “#บุคคลสำคัญของโลก” ผู้มีผลงานดีเด่นด้านการศึกษาและด้านการสื่อสารมวลชน ในโอกาสครบรอบ ๑๐๐ ปีชาตกาลนายกำพล วัชรพล ในวันที่ ๒๑ ธันวาคม ๒๕๖๒

● พ.ศ. ๒๕๓๒ (ค.ศ. ๑๙๘๙)
#สงครามในอัฟกานิสถานของโซเวียต : กองทัพโซเวียตบุกถึงกรุงคาบูล

● พ.ศ. ๒๕๓๔ (ค.ศ. ๑๙๙๑)
#สหภาพโซเวียตล่มสลายลง ภายหลัง “มีฮาอิล กอร์บาชอฟ” #ประธานาธิบดีสหภาพโซเวียตลาออกจากตำแหน่ง

● พ.ศ. ๒๕๔๖ (ค.ศ. ๒๐๐๓)
#ระเบิดพลีชีพในปากีสถาน : เกิดเหตุเมื่อรถบรรทุกสองคันระหว่างขบวนรถยนต์ของประธานาธิบดีปากีสถาน “เปอร์เวซ มูชาร์ราฟ” แล่นผ่านเมืองราวัลปินดี มีผู้เสียชีวิต ๑๔ คน.

ภาพประกอบ : เป็น “หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ” ฉบับที่อัญเชิญพระบรมฉายาลักษณ์ “#ในหลวงรัชกาลที่๙”…“#ขึ้นหน้าปก” เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๗.

๒๔ ธันวาคม

#วันนี้ในอดีต
เหตุการณ์สำคัญในวันที่ ๒๔ ธันวาคม

● พ.ศ. ๒๓๒๐ (ค.ศ. ๑๗๗๗)
กัปตันเจมส์ คุก” (James Cook : 1728 – 1779) #ค้นพบเกาะคิริติมาตี (Kiritimati / เป็นเกาะในประเทศคิริบาส เป็นเกาะหนึ่งในหมู่เกาะไลน์ ทางตอนกลางของมหาสมุทรแปซิฟิก และทางตอนใต้ของหมู่เกาะฮาวาย) เป็น #เกาะปะการังวงแหวนอะทอลล์ใหญ่ที่สุดในมหาสมุทรแปซิฟิก

● พ.ศ. ๒๔๔๙ (ค.ศ. ๑๙๐๖)
เรจินัลด์ เฟสเซนเดน” (Reginald Aubrey Fessenden : 1866 – 1932) นักประดิษฐ์ชาวสหรัฐอเมริกา (เกิดในแคนาดา แต่มีบิดาเป็นชาวสหรัฐอเมริกา) #แพร่สัญญาณวิทยุออกอากาศเป็นครั้งแรก

● พ.ศ. ๒๔๕๗ (ค.ศ. ๑๙๑๔)
#ทหารอังกฤษและเยอรมันหยุดการต่อสู้กันในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง เพื่อเฉลิมฉลองเทศกาลคริสต์มาส เป็น #จุดเริ่มต้นของการพักรบระหว่างคริสต์มาส

● พ.ศ. ๒๔๘๓ (ค.ศ. ๑๙๔๐)
รัฐบาลไทยโดย “จอมพล ป. พิบูลสงคราม” #นายกรัฐมนตรีไทยคนที่สาม เปลี่ยน “#วันขึ้นปีใหม่” ของประเทศไทยจากวันที่ ๑ เมษายน เป็นวันที่ ๑ มกราคม นับตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๘๔ เป็นต้นไป เพื่อให้สอดคล้องกับนานาอารยประเทศ ดังนั้น พ.ศ. ๒๔๘๓ จึงมีเพียง ๙ เดือน ตามประกาศพระบรมราชโองการในพระปรมาภิไธย “#สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล” ลงวันที่ ๒๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๔ (ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๕๘ หน้า ๓๑-๓๓ ลงวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๔)

● พ.ศ. ๒๕๑๗ (ค.ศ. ๑๙๗๔)
#พายุไซโคลนเทรซีพัดเข้าทำลายเมืองดาร์วิน ประเทศออสเตรเลีย (Cyclone Tracy)

● พ.ศ. ๒๕๒๒ (ค.ศ. ๑๙๗๙)
#กองทัพโซเวียตทำการรุกรานอัฟกานิสถาน

● พ.ศ. ๒๕๓๔ (ค.ศ. ๑๙๙๑)
“#สหพันธรัฐรัสเซีย” (🇷🇺 Russian Federation : Росси́йская Федера́ция) เข้าแทนที่ “#สหภาพโซเวียต” (Soviet Union : #สหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต : Сою́з Сове́тских Социалисти́ческих Респу́блик / CCCP : Union of Soviet Socialist Republics / #USSR) ใน #สหประชาชาติ

● พ.ศ. ๒๕๕๕ (ค.ศ. ๒๐๑๒)
#มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ค้นพบว่าสาหร่ายขนาดเล็กผลิตเป็นน้ำมันไบโอดีเซลได้จริง.

๒๓ ธันวาคม

#วันนี้ในอดีต
เหตุการณ์สำคัญในวันที่ ๒๓ ธันวาคม

● พ.ศ. ๒๔๓๕ (ค.ศ. ๑๘๙๒)
อังกฤษประกาศจุดยืนของตนต่อฝรั่งเศสว่าจะไม่ขยายอิทธิพลไปไกลกว่าแม่น้ำโขง

● พ.ศ. ๒๔๘๔ (ค.ศ. ๑๙๔๑)
#สงครามโลกครั้งที่สอง : #ญี่ปุ่นยกพลขึ้นบกที่เกาะเวกเป็นผลสำเร็จ

● พ.ศ. ๒๔๙๑ (ค.ศ. ๑๙๔๘)
พลเอกฮิเดกิ โทโจ” (東條英機, 東条 英機 / Tōjō Hideki : 1884 – 1948) อดีตนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น #ถูกประหารชีวิตด้วยการแขวนคอในฐานความผิดเป็นอาชญากรสงคราม

● พ.ศ. ๒๔๙๗ (ค.ศ. ๑๙๕๔)
~ เปิดฉายรอบปฐมทัศน์ภาพยนตร์ของวอลต์ดีสนีย์ เรื่อง “#ใต้ทะเลสองหมื่นโยชน์” (20,000 Leagues Under the sea)

~ “ดร. โจเซฟ อี. เมอเรย์” (Dr. Joseph Edward Murray, M.D. : 1919 – 2012) ศัลยแพทย์ชาวสหรัฐอเมริกา #บุคคลแรกผู้ประสบความสำเร็จในการปลูกถ่ายไตแก่ฝาแฝดด้วยไตจากผู้ที่มิได้เป็นฝาแฝด ที่โรงพยาบาลปีเตอร์ เบนต์ บริกแฮม (Peter Bent Brigham Hospital) ในเมืองบอสตัน รัฐแมสซาชูเซตส์ ต่อมาได้รับ “#รางวัลโนเบล” (#NobelPrize) สาขาสรีรวิทยาและการแพทย์ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๓ ร่วมกับ “อี. โดนัลด์ โทมัส” (Edward Donnall “Don” Thomas : 1920 – 2012) แพทย์และนักโลหิตวิทยาชาวสหรัฐอเมริกา จากผลงานนี้

● พ.ศ. ๒๕๑๕ (ค.ศ. ๑๙๗๒)
ผู้รอดชีวิต ๑๖ คน จากเหตุเครื่องบินตกที่เทือกเขาแอนเดส พ.ศ. ๒๕๑๕ (เครื่องบินของกองทัพอากาศอุรุกวัย แบบ “Fairchild FH-227” เที่ยวบินที่ ๕๗๑ ขึ้นบินเมื่อวันที่ ๑๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๕) ที่ต้องติดค้างอยู่บนภูเขาที่ปกคลุมด้วยหิมะนานถึง ๗๓ วัน จึงได้รับการช่วยเหลือ

● พ.ศ. ๒๕๒๙ (ค.ศ. ๑๙๘๖)
เครื่องบิน “Rutan Voyager” ลงจอดอีกครั้ง หลังจากที่สามารถ #บินรอบโลกโดยไม่มีการลงจอดหรือเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศ ใช้เวลาบินทั้งหมด ๙ วัน ๓ นาที ๔๔ วินาที ในการบิน ปัจจุบันยานลำนี้จัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์อากาศยานและอวกาศยานแห่งชาติ ในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ประเทศสหรัฐอเมริกา

● พ.ศ. ๒๕๔๕ (ค.ศ. ๒๐๐๒)
#อากาศยานไร้นักบิน (Unmanned Aerial Vehicle : #UAV) รุ่น MQ-1 Predator ของกองทัพอากาศสหรัฐอเมริกา ถูกยิงตกโดยเครื่องบิน MiG-25 ของกองทัพอิรัก.

๒๒ ธันวาคม

#วันนี้ในอดีต
เหตุการณ์สำคัญในวันที่ ๒๒ ธันวาคม

● พ.ศ. ๒๔๐๗ (ค.ศ. ๑๘๖๔)
#สงครามกลางเมืองอเมริกา (American Civil War) : “กองทัพแห่งสหภาพ” ของ “นายพลวิลเลียม ทีคัมเซห์ เชอร์แมน” (Major General William Tecumseh Sherman : 1820 – 1891) เข้า #ยึดครองเมืองซาวันนาห์ ที่รัฐจอร์เจีย

● พ.ศ. ๒๔๒๘ (ค.ศ. ๑๘๘๕)
นายอิโตะ ฮิโระบุมิ” (伊藤 博文 : 1841-1909) ดำรงตำแหน่ง #นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นคนแรก และดำรงตำแหน่งใน ๔ วาระ (ค.ศ. 1885-1888/1892-1896/1898/1900-1901) เป็น #ผู้ก่อตั้งพรรคริกเก็นเซยูไก (#立憲政友会) อันเป็นรากฐานของ “#พรรคเสรีประชาธิปไตย” (Liberal Democratic Party : #自由民主党/Jiyū-Minshutō : #LDP หรือ #พรรคจิมินโต : #自民党/Jimintō) ซึ่งเป็นพรรครัฐบาลของญี่ปุ่นอย่างยาวนานจนถึงปัจจุบัน ได้รับการยกย่องเป็น #รัฐบุรุษญี่ปุ่น ผู้หนึ่งใน #สมัยเมจิ (#明治時代 : Meiji-jidai /เมจิจิได)

● พ.ศ. ๒๔๓๑ (ค.ศ. ๑๘๘๘)
ฝรั่งเศสและสยามทำสัญญา ๙ ข้อ เรื่อง “#เมืองสิบสองจุไท” ทำให้ #สยามเสียแคว้นสิบสองจุไทให้ฝรั่งเศส

● พ.ศ. ๒๔๖๕ (ค.ศ. ๑๙๒๒)
#วันก่อตั้งสหภาพโซเวียต (Soviet Union : #สหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต : Сою́з Сове́тских Социалисти́ческих Респу́блик / CCCP : Union of Soviet Socialist Republics / #USSR) ซึ่งประกอบด้วย #สหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซีย, #ยูเครน, #ไบโลรัสเซีย และ #คอเคเซีย

● พ.ศ. ๒๕๐๗ (ค.ศ. ๑๙๖๔)
เครื่องบิน “Lockheed SR-71 Blackbird” ขึ้นบินเป็นครั้งแรก

● พ.ศ. ๒๕๓๔ (ค.ศ. ๑๙๙๑)
เขาทราย แกแล็คซี่” (สุระ แสนคำ : ๒๕๐๒) สร้างสถิติ #ป้องกันแชมป์มวยโลกได้มากที่สุดในเอเชีย และ #ป้องกันแชมป์มวยโลกรุ่นซูเปอร์ฟลายเวตได้สูงสุด เมื่อป้องกัน “#แชมป์มวยโลกรุ่นจูเนียร์แบนตัมเวต” ของ #สมาคมมวยโลก (#WBA) ครั้งที่ ๑๙ โดยชนะคะแนน “อาร์มันโด คาสโตร” ที่สนามเทพหัสดิน ภายในสนามกีฬาแห่งชาติ กรุงเทพมหานคร

● พ.ศ. ๒๕๔๔ (ค.ศ. ๒๐๐๑)
~ วันเกิดของ “#ซีซี” ซึ่งเป็น #สัตว์เลี้ยงโคลนนิงตัวแรกของโลก
~ #รัฐบาลชั่วคราวของอัฟกานิสถานจัดตั้งขึ้นที่กรุงคาบูล.