๓๐ พฤศจิกายน

#วันนี้ในอดีต
เหตุการณ์สำคัญในวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน

● พ.ศ. ๒๓๙๖ (ค.ศ. ๑๘๕๓)
#สงครามไครเมีย (Crimean War) : เรือรบของจักรวรรดิรัสเซียทำลายกองเรือของจักรวรรดิออตโตมัน

● พ.ศ. ๒๔๑๕ (ค.ศ. ๑๘๗๒)
#การแข่งขันฟุตบอลระหว่างประเทศครั้งแรก มีขึ้นที่เมืองกลาสโกว์ ระหว่างทีมชาติสกอตแลนด์และทีมชาติอังกฤษ

● พ.ศ. ๒๔๗๐ (ค.ศ. ๑๙๒๗)
#ในรัชกาลที่๗ : #สภากรรมการองคมนตรีเปิดประชุมเป็นครั้งแรก ณ ศาลาสหทัยสมาคม ในพระบรมมหาราชวัง มี พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ (พระองค์เจ้ารัชนีแจ่มจรัส) เป็นสภานายก

● พ.ศ. ๒๔๗๔ (ค.ศ. ๑๙๓๑)
โคลัมเบีย เรคคอร์ด“ (Columbia Records) ควบรวมกิจการกับ “เอชเอ็มวี“ (HMV) เป็นบริษัท “#อีเอ็มไอ“ (#EMI)

● พ.ศ. ๒๔๗๖ (ค.ศ. ๑๙๓๓)
#พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้เปลี่ยนนามหน่วยของ “#กรมทหารเรือ“ เป็น “#กองทัพเรือ

● พ.ศ. ๒๔๘๒ (ค.ศ. ๑๙๓๙)
#สงครามฤดูหนาว (Winter War : talvisota : vinterkriget : Советско-финская война /อาจรู้จักกันในชื่อ สงครามโซเวียต-ฟินแลนด์ หรือ สงครามรัสเซีย-ฟินแลนด์) : กองทัพแดงของสหภาพโซเวียตบุกโจมตีฟินแลนด์

● พ.ศ. ๒๔๘๖ (ค.ศ. ๑๙๔๓)
วันก่อตั้ง #วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท. / ปัจจุบันเรียกว่า #สมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์)

● พ.ศ. ๒๔๙๓ (ค.ศ. ๑๙๕๐)
ศาลฎีกาพิพากษาคดี “#หะยีสุหลง“ โดยพิพากษายืนตามศาลชั้นต้น

● พ.ศ. ๒๔๙๗ (ค.ศ. ๑๙๕๔)
สตรีคนหนึ่งได้รับบาดเจ็บจากการถูกอุกกาบาตหนัก ๓.๔ กิโลกรัม ตกใส่ในรัฐแอละแบมา ประเทศสหรัฐอเมริกา ภายหลังจากที่พุ่งทะลุหลังคาไปตกลงบนเครื่องรับวิทยุ แล้วกระดอนไปกระแทกสะโพกและมือของสตรีคนนั้น

● พ.ศ. ๒๕๐๕ (ค.ศ. ๑๙๖๒)
อู ถั่น“ (U Thant : သန့်၊ ဦး : 1909 – 1974) นักการทูตชาวพม่า ได้รับการรับรองจากสมัชชาใหญ่สหประชาชาติให้ดำรงตำแหน่ง #เลขาธิการสหประชาชาติ (UN Secretary-General : #UNSG) เป็นลำดับที่สาม ดำรงตำแหน่งระหว่าง พ.ศ. ๒๕๐๔ – ๒๕๑๔

● พ.ศ. ๒๕๔๒ (ค.ศ. ๑๙๙๙)
#การชุมนุมประท้วงของกลุ่มต่อต้านโลกาภิวัตน์ ที่เมืองซีแอตเติล สหรัฐอเมริกา ขณะมีการประชุม #องค์การการค้าโลก

● พ.ศ. ๒๕๕๕ (ค.ศ. ๒๐๑๒)
นักวิทยาศาสตร์แห่ง #องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งนานาชาติ (#NASA) สามารถตรวจค้นพบ #ธารน้ำแข็งบนขั้วเหนือของดาวพุธ การค้นพบนี้อาจเป็นหลักฐานชิ้นสำคัญที่ยืนยันว่าในต่างดาวอาจมีสิ่งมีชีวิตอยู่ได้และไขข้อสงสัยเรื่องการก่อกำเนิดของน้ำและสิ่งมีชีวิตบนโลกด้วย.

โขนไทย…มรดกโลก

ขอแสดงความยินดี 🎉
#โขนไทยขึ้นทะเบียนมรดกโลกแล้ว

ที่ประชุมประจำปี #คณะกรรมการอนุสัญญาว่าด้วยการสงวนรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ ของ #องค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ซึ่งจัดขึ้นที่เมืองพอร์ตหลุยส์ ประเทศมอริเชียส ระหว่างวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน ถึง ๑ ธันวาคม ๒๕๖๑ โดยมีนาย Prithvirajsing Roopun รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศิลปะและวัฒนธรรม มอริเชียส เป็นประธานกรรมการ พร้อมทั้ง นาง Audrey Azoulay ผู้อำนวยการยูเนสโก เข้าร่วมในพิธีเปิดการประชุม และผู้แทนจาก ๒๔ รัฐภาคีว่าด้วยอนุสัญญาการสงวนรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ ปี ๒๕๔๖ เข้าร่วมด้วย

วาระในการประชุมว่าด้วยการพิจารณา #ขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ ซึ่งหลายประเทศได้ยื่นเสนอต่อองค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ เพื่อขอการคุ้มครองว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ จำนวน ๕๐ รายการ รวมทั้งการเสนอ “โขนไทย” เข้าสู่การพิจารณาด้วย

วันที่ ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๖๑ เวลาประมาณ ๑๙:๓๐ น. (ตามเวลาประเทศไทย) ที่ประชุมคณะกรรมการอนุสัญญาว่าด้วยการสงวนรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของยูเนสโก มีมติเป็นเอกฉันท์ให้ “#โขนไทยได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้” (Thailand: Khon, masked dance drama in Thailand) มีผลคุ้มครองนับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

อนึ่ง คณะกรรมการได้จัดเรียงลำดับการพิจารณาจากรายการเร่งด่วน ซึ่งต้องแสดงให้เห็นถึงความเสี่ยงที่จะสูญหาย เช่น กลุ่มผู้สืบทอดน้อยราย มีการถือปฏิบัติน้อยรายหรือจำกัดพื้นที่ถือปฏิบัติ เป็นต้น การนำเสนอ “โขนไทย” มีกระบวนการบริการจัดการภายในที่ดี มีการสืบทอดถ่ายทอดเป็นระบบ ไม่มีความเสี่ยง จึงไม่เร่งด่วน ต่างจากกรณี “ละครโขน” ของประเทศกัมพูชาที่ได้รับขึ้นเป็นรายการ “เร่งด่วน” เมื่อวันก่อน เนื่องจากรายการของกัมพูชามีการถือปฏิบัติเพียงเฉพาะพื้นที่ รวมถึงสุ่มเสี่ยงต่อการสูญหายเนื่องจากกำลังขาดผู้สืบทอด

ทั้งนี้ #มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมอันจับต้องไม่ได้ หมายถึงรูปแบบวัฒนธรรมซึ่งมีลักษณะจับต้องไม่ได้ อย่างศิลปะ การเล่าเรื่อง การเต้นรำ หรือประเพณีอื่นๆ ที่ต่างจาก “วัฒนธรรมซึ่งจับต้องได้” อย่างโบราณสถานหรือโบราณวัตถุ โดย “โขน” เป็น #รูปแบบวัฒนธรรมจับต้องไม่ได้รายการแรกที่ประเทศไทยยื่นขอให้ยูเนสโกรับรอง

“#โขน” เป็นศิลปะการแสดงชั้นสูงของไทยที่มีความสง่างาม อลังการและอ่อนช้อย การแสดงประเภทหนึ่งที่ใช้ท่ารำตามแบบละครใน แตกต่างเพียงท่ารำที่มีการเพิ่มตัวแสดง เปลี่ยนทำนองเพลงที่ใช้ในการดำเนินเรื่องไม่ให้เหมือนกับละคร แสดงเป็นเรื่องราวโดยลำดับก่อนหลังเหมือนละครทุกประการ ซึ่งไม่เรียกการแสดงเหล่านี้ว่า “ละคร” แต่เรียกว่า “โขน” แทน

สาระสำคัญ :
๑. มีประวัติยาวนานตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา
๒. จากหลักฐานจดหมายเหตุลาลูแบร์ เอกอัครราชทูตฝรั่งเศสในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้มีกล่าวถึงการแสดงโขนว่า เป็นการเต้นออกท่าทาง ประกอบกับเสียงซอและเครื่องดนตรีประเภทต่างๆ ผู้แสดงจะสวมหน้ากากปิดบังใบหน้าตนเองและถืออาวุธ
๓. โขนเป็นจุดศูนย์รวมของศาสตร์และศิลป์หลากหลายแขนงเช่น วรรณกรรม วรรณศิลป์ นาฏศิลป์ คีตศิลป์ หัตถศิลป์
๔. โดยนำเอาวิธีเล่นและการแต่งตัวบางชนิดมาจากการเล่น “#ชักนาคดึกดำบรรพ์”
๕. มีท่าทางการต่อสู้ที่โลดโผน ท่ารำ ท่าเต้น เช่น ท่าปฐมในการไหว้ครูของกระบี่กระบอง รวมทั้งการนำศิลปะการพากย์ การเจรจา หน้าพาทย์และเพลงดนตรีเข้ามาประกอบการแสดง
๖. ในการแสดงโขน ลักษณะสำคัญอยู่ที่ผู้แสดงต้องสวมหัวโขน ซึ่งเป็นเครื่องสวมครอบหุ้มตั้งแต่ศีรษะถึงคอ เจาะรูสองรูบริเวณดวงตาให้สามารถมองเห็น แสดงอารมณ์ผ่านทางการร่ายรำ สร้างตามลักษณะของตัวละครนั้นๆ เช่น ตัวยักษ์ ตัวลิง ตัวเทวดา ฯลฯ ตกแต่งด้วยสี ลงรักปิดทอง ประดับกระจก บ้างก็เรียกว่า “หน้าโขน”

อนึ่ง รัฐบาลไทยเตรียมจัด “#เทศกาลโขน” รองรับโอกาสที่ยูเนสโกประกาศขึ้นทะเบียนโขนเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ โดยกำหนดจัดขึ้นประมาณกลางเดือนธันวาคม ๒๕๖๑ ที่ประชุมจึงได้เห็นชอบโครงการเทศกาลโขน ในฐานะรายการตัวแทนมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ โดยเป็นการดำเนินงานตามพันธกรณีของอนุสัญญาว่าด้วยการสงวนรักษามรดกวัฒนธรรมจับต้องไม่ได้ ค.ศ. ๒๐๐๓ โดยมีแผนงานและกิจกรรมสำหรับเฉลิมฉลอง แบ่งออกเป็น ๓ ส่วน ได้แก่

๑. #กิจกรรมสร้างความภาคภูมิใจ ด้วยการยกย่องเชิดชูเกียรติให้กับบุคคลหรือองค์กรผู้ทำคุณประโยชน์ต่อวงการโขน

๒. #การเผยแพร่องค์ความรู้ในรูปแบบต่างๆ เช่น การเสวนา การผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ จัดพิมพ์หนังสือองค์ความรู้เกี่ยวกับโขน การผลิตสื่อภาพยนตร์แอนิเมชันรามเกียรติ์ ตอน “รามาวตาร” นิทรรศการเผยแพร่ความรู้ รวมทั้งการจัดทำ “คลังข้อมูลโขน” ในรูปแบบดิจิทัล

๓. #มหกรรมการแสดงโขน ใน ๔ ภูมิภาค และในส่วนกลางที่ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย

https://ich.unesco.org/en/RL/khon-masked-dance-drama-in-thailand-01385 #LivingHeritage

#UNESCO #KHON #โขนไทย #THAILAND

#intangibleheritage
#มรดกโลกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ
#อนุสัญญาว่าด้วยการสงวนรักษามรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ

๒๙ พฤศจิกายน

#วันนี้ในอดีต
เหตุการณ์สำคัญในวันที่ ๒๙ พฤศจิกายน

● พ.ศ. ๒๓๒๐ (ค.ศ. ๑๗๗๗)
#วันสถาปนาเมืองซานโฮเซ (San José / ในภาษาสเปนออกเสียงเป็น [ซานโฆเซ] ) เป็น #เมืองอาณานิคมของสเปนแห่งแรกในอัลตาแคลิฟอร์เนีย

● พ.ศ. ๒๓๗๓ (ค.ศ. ๑๘๓๐)
#การปฏิวัติพฤศจิกายน (November Uprising) : การก่อกบฏต่อต้านการปกครองของรัสเซียในโปแลนด์เริ่มต้นขึ้น

● พ.ศ. ๒๔๓๓ (ค.ศ. ๑๘๙๐)
#มีการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติญี่ปุ่นเป็นครั้งแรก (#สภาไดเอทแห่งชาติญี่ปุ่น : The National Diet of Japan : #国会) ภายหลังจากรัฐธรรมนูญญี่ปุ่นมีผลบังคับใช้ ซึ่งเรียกกันว่า “#รัฐธรรมนูญเมจิ” (Meiji Constitution) หรือ “#รัฐธรรมนูญแห่งจักรวรรดิญี่ปุ่น” (Constitution of the Empire of Japan)

● พ.ศ. ๒๔๔๒ (ค.ศ. ๑๘๙๙)
#ก่อตั้งสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนา (Futbol Club Barcelona / #Barça)

● พ.ศ. ๒๔๕๐ (ค.ศ. ๑๙๐๗)
ฟลอเรนซ์ ไนติงเกล” (Florence Nightingale, OM : 1820 – 1910) ชาวอิตาลี เป็น #สตรีคนแรกที่ได้รับอิสริยาภรณ์เชิดชูคุณความดีของอังกฤษ ในขณะมีอายุ ๘๗ ปี เป็นที่รู้จักกันในฐานะ #ผู้บุกเบิกวิชาการพยาบาลสมัยใหม่ และ #นักปฏิรูประบบสุขอนามัยในโรงพยาบาล ได้รับฉายาว่า “#สุภาพสตรีแห่งดวงประทีป“ (Lady of the Lamp)

● พ.ศ. ๒๔๗๒ (ค.ศ. ๑๙๒๙)
พลเรือตรีริชาร์ด อีเวลิน ไบรด์” (Rear Admiral Richard Evelyn Byrd Jr., USN : 1888 – 1957) สามารถ #นำเครื่องบินเดินทางถึงขั้วโลกใต้ได้เป็นครั้งแรก โดยบินจาก Ross Ice Shelf ไปถึงขั้วโลกแล้วบินกลับ โดยใช้เวลา ๑๘ ชั่วโมง ๔๑ นาที

● พ.ศ. ๒๔๙๐ (ค.ศ. ๑๙๔๗)
#สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติลงมติในแผนกำหนดเขตแดนปาเลสไตน์ เพื่อแก้ปัญหาความขัดแย้งระหว่างอาหรับและอิสราเอล

● พ.ศ. ๒๔๙๔ (ค.ศ. ๑๙๕๑)
#รัฐประหาร๒๔๙๔ : จอมพล ป. พิบูลสงคราม #นายกรัฐมนตรีไทยคนที่สาม กระทำการรัฐประหารรัฐบาลตนเองเพื่อกระชับอำนาจทางการเมือง

● พ.ศ. ๒๔๙๖ (ค.ศ. ๑๙๕๓)
#มีการลงมติการประชุมแบ่งแยกดินแดนปาเลสไตน์ (Palestine : دولة فلسطين‎ /Dawlat Filasṭin‎)

● พ.ศ. ๒๕๐๒ (ค.ศ. ๑๙๕๙)
#สงครามเกาหลี (Korean War) : ทหารเกาหลีเหนือและจีนใช้กำลังกดดันกองกำลังสหประชาชาติ จนต้องถอนตัวออกจากเกาหลีเหนือ

● พ.ศ. ๒๕๐๖ (ค.ศ. ๑๙๖๓)
#พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯบรมนาถบพิตร เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วย #สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ ไปยัง #มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และทรงปลูก “#ต้นนนทรี” ซึ่งเป็น #ต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่บริเวณหน้าหอประชุมมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน

● พ.ศ. ๒๕๒๙ (ค.ศ. ๑๙๘๖)
#ชาวเกาหลีเหนือลอบวางระเบิดเครื่องบินของสายการบินเกาหลีใต้ เที่ยวบินที่ ๘๕๘ และเครื่องบินได้ระเบิดเหนือมหาสมุทรอินเดียในเวลาต่อมา

● พ.ศ. ๒๕๓๕ (ค.ศ. ๑๙๙๒)
พิชิต ศิษย์บางพระจันทร์“ (สุภาพ หาญวิชาชัย : ๒๕๐๙) ชนะน็อกยกที่ ๓ ต่อ “โรดอลโฟ บลังโก“ นักมวยชาวโคลัมเบีย ที่เวทีมวยชั่วคราวในห้างอิมพีเรียล สำโรง ได้เป็น #แชมป์มวยโลกรุ่นฟลายเวท (Flyweight) ของ #สหพันธ์มวยนานาชาติ (#IBF) ทำให้ประเทศไทยมีแชมป์มวยโลกอีกครั้ง หลังจากไม่มีแชมป์มวยโลกต่อเนื่องถึง ๒ เดือน นับเป็นแชมป์โลกที่ไม่เคยเสียตำแหน่ง.

๒๘ พฤศจิกายน

#วันนี้ในอดีต
เหตุการณ์สำคัญในวันที่ ๒๘ พฤศจิกายน

● พ.ศ. ๒๔๕๑ (ค.ศ. ๑๙๐๘)
“#โรงเรียนเกษตราธิการ“ ถือกำเนิดขึ้น ณ วังสระปทุม โดยกระทรวงเกษตราธิการรวบรวมโรงเรียน ๓ แห่งคือ #โรงเรียนแผนที่, #โรงเรียนกรมคลอง และ #โรงเรียนวิชาการเพาะปลูก เข้าด้วยกัน

● พ.ศ. ๒๔๕๕ (ค.ศ. ๑๙๑๒)
#แอลเบเนียประกาศเอกราช (🇦🇱 #สาธารณรัฐแอลเบเนีย : Republic of Albania : Republika e Shqipërisë)

● พ.ศ. ๒๔๘๓ (ค.ศ. ๑๙๔๐)
#กรณีพิพาทอินโดจีน (French-Thai War) : ฝรั่งเศสส่งเครื่องบินเข้าโจมตีไทยทางอากาศเป็นครั้งแรกที่จังหวัดนครพนม โดยนักบินไทยนำเครื่องบินขึ้นต่อสู้ เครื่องบินฝรั่งเศสถูกยิงเสียหายหนึ่งลำ

● พ.ศ. ๒๕๐๓ (ค.ศ. ๑๙๖๐)
#มอริตาเนียประกาศเอกราช (🇲🇷 #สาธารณรัฐอิสลามมอริเตเนีย : Islamic Republic of Mauritania : الجمهورية الإسلامية الموريتانية‎ : République Islamique de Mauritanie)

● พ.ศ. ๒๕๑๘ (ค.ศ. ๑๙๗๕)
#พรรคเฟรติลินประกาศให้ติมอร์ตะวันออกเป็นเอกราชจากโปรตุเกส (🇹🇱 #สาธารณรัฐประชาธิปไตยติมอร์-เลสเต“ : Timor-Leste : #ติมอร์ตะวันออก : República Democrática de Timor-Leste)

● พ.ศ. ๒๕๒๕ (ค.ศ. ๑๙๘๒)
ผู้แทนจากประเทศต่างๆ ๘๘ ประเทศ เริ่มการประชุมเกี่ยวกับการค้าโลก ที่กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งต่อมาได้พัฒนาขึ้นเป็น “#องค์การการค้าโลก“ (World Trade Organization : #WTO) เพื่อสร้างความสมดุลให้กับการค้าของโลก

● พ.ศ. ๒๕๓๐ (ค.ศ. ๑๙๘๗)
เกิดเหตุเครื่องบินสายการบินเซาธ์แอฟริกันแอร์เวย์ (South African Airways) เที่ยวบินที่ ๒๙๕ ประสบอุบัติเหตุตกและไฟไหม้บริเวณมหาสมุทรอินเดีย มีผู้เสียชีวิต ๑๕๙ คน

● พ.ศ. ๒๕๓๓ (ค.ศ. ๑๙๙๐)
นายลี กวน ยู“ (李光耀 : Lǐ Guāngyàoหลี่ กวงเย่า : 1923 – 2015) ถ่ายโอนอำนาจและตำแหน่ง #นายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ ให้แก่ผู้นำรุ่นที่สอง “นายโก๊ะ จ๊ก ตง“ (吳作棟 : Wú Zuòdòngอู๋ จั้วต้ง : Gô· Chok-tòng : 1941).

๒๗ พฤศจิกายน

#วันนี้ในอดีต
เหตุการณ์สำคัญในวันที่ ๒๗ พฤศจิกายน

● พ.ศ. ๒๔๓๘ (ค.ศ. ๑๘๙๕)
อัลเฟรด โนเบล“ (Alfred Bernhard Nobel : 1833-1896) ได้เขียนพินัยกรรมโดยระบุว่า หลังจากที่เขาตายลงแล้วให้มีการมอบรางวัลกับบุคคลที่มีผลงานวิจัยโดดเด่น เรียกชื่อในภายหลังว่า “#รางวัลโนเบล“ (#NobelPrize)

● พ.ศ. ๒๔๖๑ (ค.ศ. ๑๙๑๘)
#พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ตั้ง “#กรมสาธารณสุข“ ขึ้นในกระทรวงมหาดไทย แทน “กรมประชาภิบาล“ ที่รับโอนมาจาก “กรมพยาบาล“ กระทรวงธรรมการ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ “พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ กรมหมื่นชัยนาทนเรนทร“ อธิบดีกรมมหาวิทยาลัย ย้ายมาเป็น “#อธิบดีกรมสาธารณสุข“ ที่ตั้งขึ้นใหม่เป็นพระองค์แรก ต่อมาใน พ.ศ. ๒๔๘๕ ได้ยกฐานะ “กรมสาธารณสุข“ ขึ้นเป็น “#กระทรวงสาธารณสุข“ สืบมาจนปัจจุบัน จึงได้ถือวันที่เริ่มมี “กรมสาธารณสุข“ เป็น #วันสถาปนากระทรวงสาธารณสุข ปัจจุบันเรียกเป็น #วันสาธารณสุขแห่งชาติ.

๒๖ พฤศจิกายน

#วันนี้ในอดีต
เหตุการณ์สำคัญในวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน

● พ.ศ. ๒๓๒๑ (ค.ศ. ๑๗๗๘)
ทีมสำรวจนำโดย “เจมส์ คุก“ (James Cook : 1728-1779) #ค้นพบเกาะเมาอี (Maui) เป็นเกาะที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับสองของหมู่เกาะฮาวาย

● พ.ศ. ๒๔๖๕ (ค.ศ. ๑๙๒๒)
โฮเวิร์ด คาร์เตอร์“ (Howard Carter :1874-1939) นักโบราณคดีชาวอังกฤษ และ “ลอร์ดคาร์นาร์วอน“ (Lord Carnarvon : George Edward Stanhope Molyneux Herbert, 5th Earl of Carnarvon, DL :1866-1923) เป็นคนกลุ่มแรกในรอบกว่า ๓ พันปีที่เข้าสู่สุสานฝังพระศพของ “#ฟาโรห์ตุตันคามุน“ (The intact tomb designated #KV62 of the 18th Dynasty Pharaoh, #Tutankhamun who colloquially known as “King Tut” and “the boy king”)

● พ.ศ. ๒๔๖๘ (ค.ศ. ๑๙๒๕)
#พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ เสด็จสวรรคตเวลา ๐๑:๔๕ น. ของคืนวันที่ ๒๕ ต่อวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน ณ พระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน ในหมู่พระมหามณเฑียร พระบรมมหาราชวัง ด้วยพระโรคพระอันตะ (ลำไส้) และ สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์ กรมหลวงสุโขทัยธรรมราชา เสด็จขึ้นทรงราชย์เป็น #พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๗ แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ สืบราชสันตติวงศ์ต่อจากสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช

● พ.ศ. ๒๔๙๓ (ค.ศ. ๑๙๕๐)
#กองทัพปลดแอกประชาชนจีน (Chinese People’s Liberation Army : #PLA : 中国人民解放军 / Zhongguo Renmin Jiěfàngjūn) ในเกาหลีเหนือตอบโต้การโจมตีของทหารเกาหลีใต้และสหรัฐอเมริกา ทำให้ #สงครามเกาหลี (The Korean War in South Korean : 한국전쟁 : 韓國戰爭 / Hanguk Jeonjaeng : The Korean War in North Korean : Chosŏn’gŭl : 조국해방전쟁 : 祖國解放戰爭 / Choguk haebang chŏnjaeng : Fatherland : Liberation War) ยืดเยื้อยาวนานกว่าที่คาดกันไว้.

ภาพประกอบ : พระบรมฉายาลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ครั้งยังดำรงพระยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร ลงสีจากภาพเก่าขาวดำโดย Wongsakorn Sebastian Thoongtong

๒๕ พฤศจิกายน…

#วันนี้ในอดีต
เหตุการณ์สำคัญในวันที่ ๒๕ พฤศจิกายน

● พ.ศ. ๒๔๑๑ (ค.ศ. ๑๘๖๘)
#พระราชพิธีอุปราชาภิเษก สถาปนา “#พระองค์เจ้ายอดยิ่งบวรยศ“ (๒๓๘๑ – ๒๔๒๘) พระราชโอรสใน #พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ขึ้นเป็น “#กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ“ นับเป็น #กรมพระราชวังบวรสถานมงคลพระองค์สุดท้ายแห่งรัตนโกสินทร์

● พ.ศ. ๒๔๗๙ (ค.ศ. ๑๙๓๖)
เยอรมนีและญี่ปุ่นลงนามใน “#กติกาสัญญาต่อต้านโคมินเทิร์น“ (Anti-Comintern Pact)

● พ.ศ. ๒๕๑๓ (ค.ศ. ๑๙๗๐)
มิชิมะ ยุกิโอะ“ (三島 由紀夫 /Mishima Yukio เป็นนามปากกาของฮิราโอกะ คิมิตาเกะ” : 平岡 公威 /Hiraoka Kimitake : 1925 – 1970) นักเขียนชาวญี่ปุ่น ทำการ “#เซ็ปปุกุ“ (切腹 / seppuku หรือ #ฮารากิริ : 腹切り/ harakiri : #การคว้านท้องตัวเองตาย) โดยเป็นนักเขียนชาตินิยม เรียกตัวเองว่าเป็น “#ซามูไรคนสุดท้าย“ ผลงานได้รับการเสนอเข้าชิงรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรมถึงสามครั้ง

● พ.ศ. ๒๕๑๘ (ค.ศ. ๑๙๗๕)
#ซูรินามประกาศเอกราช (🇸🇷 #สาธารณรัฐซูรินาม : Republic of Suriname : Republiek Suriname)

● พ.ศ. ๒๕๓๐ (ค.ศ. ๑๙๘๗)
“#พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นนีนา“ (Typhoon Nina) เป็นพายุไต้ฝุ่นระดับ ๕ มีระดับความเร็ว ๑๖๕ ไมล์ต่อชั่วโมง(หรือ ๒๖๕.๖๕ กิโลเมตรต่อชั่วโมง) พัดขึ้นฝั่งที่ประเทศฟิลิปปินส์ มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย ๑,๐๓๖ คน ซึ่งเป็น #พายุที่มีความรุนแรงที่สุดลูกหนึ่งที่พัดเข้าสู่ประเทศฟิลิปปินส์.

๒๔ พฤศจิกายน

#วันนี้ในอดีต
เหตุการณ์สำคัญในวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน

● พ.ศ. ๒๑๘๒ (ค.ศ. ๑๖๓๙)
เจเรไมอาห์ ฮอร์รอกส์“ (Jeremiah Horrox : 2161-2184) สังเกต #ปรากฏการณ์ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์ได้เป็นครั้งแรก (Transit of Venus) จากบ้านใกล้เมืองเพรสตัน แคว้นอังกฤษ

● พ.ศ. ๒๔๐๒ (ค.ศ. ๑๘๕๙)
หนังสือ “The Origin of Species“ โดย “ชาร์ล ดาร์วิน“ (Charles Robert Darwin FRS : 1809 – 1882) นักธรรมชาติวิทยาชาวอังกฤษ วางจำหน่ายเป็นครั้งแรกและหมดลงในเวลาอันรวดเร็ว

● พ.ศ. ๒๔๒๒ (ค.ศ. ๑๘๗๙)
#ประหารชีวิตพระปรีชากลการ (สำอาง อมาตยกุล : ๒๓๘๔ – ๒๔๒๒) อดีต #เจ้ากรมกระษาปณ์สิทธิการ ก่อนไปรับตำแหน่ง #เจ้าเมืองปราจีนบุรี (๒๔๑๙ – ๒๔๒๒) ซึ่งต้องคดียักยอกเงินหลวง ๑ หมื่นชั่ง

● พ.ศ. ๒๕๐๖ (ค.ศ. ๑๙๖๓)
ลี ฮาร์วีย์ ออสวอลด์“ (Lee Harvey Oswald : 1939 – 1963) ผู้ต้องสงสัยใน #คดีฆาตกรรมประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา (จอห์น เอฟ. เคนเนดี) ได้ถูกยิงโดย “แจ็ก รูบี“ (Jacob Leon Rubenstien : 1911 – 1967) ขณะตำรวจนำตัวออกเดินทางไปยังเรือนจำในเมืองดัลลัส รัฐเทกซัส เหตุเกิดขึ้นในขณะมีการถ่ายทอดสดไปทั่วประเทศ

● พ.ศ. ๒๕๐๗ (ค.ศ. ๑๙๖๔)
#วันก่อตั้งแนวร่วมสมาพันธ์กู้ชาติ (United National Liberation Front) เป็นกลุ่มที่ก่อความรุนแรงในรัฐมณีปุระทางตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย #เพื่อเรียกร้องเอกราชให้รัฐมณีปุระ

● พ.ศ. ๒๕๓๑ (ค.ศ. ๑๙๘๘)
“#ศูนย์พัฒนาประมงน้ำจืดสุราษฎร์ธานี“ #เพาะพันธุ์ปลาตะพัดได้สำเร็จเป็นครั้งแรกในประเทศไทย (#ปลาตะพัด/#ปลามังกร/#ปลาอะโรวาน่า : Malayan bonytongue fish/Arowana/Asian arowana/Arawana/ชื่อวิทยาศาสตร์ : Scleropages formosus) ซึ่งเป็นปลาน้ำจืดหายากใกล้สูญพันธุ์ได้สำเร็จเป็นครั้งแรกในประเทศไทย

● พ.ศ. ๒๕๔๓ (ค.ศ. ๒๐๐๐)
#นักสู้เสรีกัมพูชาก่อการจลาจลในกรุงพนมเปญ มีการปะทะกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ มีผู้เสียชีวิต ๒๐๐ คน.

๒๓ พฤศจิกายน

#วันนี้ในอดีต
เหตุการณ์สำคัญในวันที่ ๒๓ พฤศจิกายน

● พ.ศ. ๒๑๘๗ (ค.ศ. ๑๖๔๔)
จอห์น มิลตัน“ (John Milton : 1608 – 1674) กวีชาวอังกฤษ ตีพิมพ์แผยแพร่ “#Areopagitica“ จุลสารซึ่งอภิปรายเกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพในการพูด และต่อต้านการเซ็นเซอร์สิ่งพิมพ์ในช่วง #สงครามกลางเมืองอังกฤษ (English Civil War)

● พ.ศ. ๒๔๓๓ (ค.ศ. ๑๘๙๐)
#สมเด็จพระราชินีนาถวิลเฮลมินาแห่งเนเธอร์แลนด์เสด็จขึ้นทรงราชย์ (HM Queen Wilhelmina of the Netherlands : 1880 – 1962)

● พ.ศ. ๒๔๖๗ (ค.ศ. ๑๙๒๔)
ข่าวการค้นพบ “#กาแล็กซีแอนดรอเมดา“ (#Andromeda Galaxy) ดาราจักรชนิดก้นหอย จากการสังเกต “#เนบิวลา“ (#Nebula) ของ “เอ็ดวิน ฮับเบิล“ (Edwin Powell Hubble : 1889 – 1953) ได้รับการเผยแพร่เป็นครั้งแรก

● พ.ศ. ๒๔๗๙ (ค.ศ. ๑๙๓๖)
#นิตยสารไลฟ์ออกจำหน่ายเป็นฉบับแรก (#LIFE)

● พ.ศ. ๒๕๐๖ (ค.ศ. ๑๙๖๓)
“#ดอกเตอร์ฮู“ (Dr.WHO) ซีรีส์ทางโทรทัศน์โดยสถานีวิทยุโทรทัศน์บีบีซี (#BBC : British Broadcasting Corperation) เริ่มการออกอากาศเป็นครั้งแรก นับเป็น #ละครโทรทัศน์แนวไซไฟที่ออกอากาศเป็นเวลานานที่สุดในโลกในปัจจุบัน

● พ.ศ. ๒๕๑๔ (ค.ศ. ๑๙๗๑)
#สาธารณรัฐประชาชนจีนเข้าเป็นสมาชิกถาวรในคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ (#UNSC : United Nations Security Council) แทนไต้หวัน (Taiwan)

● พ.ศ. ๒๕๒๓ (ค.ศ. ๑๙๘๐)
#เกิดแผ่นดินไหวหลายระลอกทางใต้ของประเทศอิตาลี มีผู้เสียชีวิต ๔.๘ พันคน

● พ.ศ. ๒๕๓๙ (ค.ศ. ๑๙๙๖)
เครื่องบินโดยสารโบอิง 767-260ER ของ “#สายการบินเอธิโอเปีย“ (Ethiopian Airlines) เที่ยวบินที่ ๙๖๑ ตกใกล้กับประเทศคอโมโรสในมหาสมุทรอินเดีย หลังเกิดเหตุจี้เครื่องบิน มีผู้เสียชีวิต ๑๒๕ คน จากจำนวนผู้โดยสาร ๑๗๕ คน

● พ.ศ. ๒๕๔๖ (ค.ศ. ๒๐๐๓)
นายเอดูอาร์ด เชวาร์ดนาดเซ“ (ედუარდ ამბროსის ძე შევარდნაძე : Эдуа́рд Амвро́сиевич Шевардна́дзе : 1928 – 2014) ลาออกจากตำแหน่ง #ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐจอร์เจีย (🇬🇪 Georgia : საქართველო : Sakartvelo) ภายหลังเกิดเหตุการณ์ชุมนุมประท้วงครั้งใหญ่เพื่อคัดค้านผลการเลือกตั้งประธานาธิบดี

● พ.ศ. ๒๕๕๐ (ค.ศ. ๒๐๐๗)
“#ลูกเสือโคร่งจีนใต้” (#เสือโคร่งเซียะเหมิน : 华南虎 /หัวหนันหู่) ตัวแรกถือกำเนิดในประเทศแอฟริกาใต้ นับเป็น #ลูกเสือโคร่งจีนใต้ตัวแรกที่เกิดนอกประเทศจีน.

๒๒ พฤศจิกายน

#วันนี้ในอดีต
เหตุการณ์สำคัญในวันที่ ๒๒ พฤศจิกายน

● พ.ศ. ๒๔๖๖ (ค.ศ. ๑๙๒๓)
ก่อตั้ง “#สวนงู” (Siam Serpentarium) ขึ้นใน “#สถานเสาวภา” สภากาชาดสยาม นับเป็น #สวนงูแห่งที่สองของโลก ถัดจากในประเทศบราซิล และเป็น #สวนงูแห่งแรกในทวีปเอเชีย

● พ.ศ. ๒๔๘๖ (ค.ศ. ๑๙๔๓)
#เลบานอนได้รับเอกราชจากฝรั่งเศส (🇱🇧 Republic of Lebanon / Lebanese Republic : جمهورية لبنان‎)

● พ.ศ. ๒๕๐๖ (ค.ศ. ๑๙๖๓)
การลอบสังหาร “นายจอห์น เอฟ. เคนเนดี“ (John Fitzgerald Kennedy : JFK : 1917-1963) #ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาคนที่๓๕ ถูกลอบสังหารบนรถเปิดประทุนระหว่างการเยือนเมืองดัลลัสในรัฐเทกซัส และเสียชีวิตที่โรงพยาบาลในอีกครึ่งชั่วโมงต่อมา จากนั้น “นายลินดอน บี. จอห์นสัน“ (Lyndon Baines Johnson : LBJ : 1908-1973) จึงได้ทำพิธีสาบานตนเข้ารับตำแหน่ง #ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาคนที่๓๖ ในวันเดียวกันบนเครื่องบินประจำตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา (POTUS Air Force One)

● พ.ศ. ๒๕๑๐ (ค.ศ. ๑๙๖๗)
#คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ (UNSC : United Nations Security Council) ผ่านความเห็นชอบข้อมติที่ ๒๔๒ หลังสิ้นสุด #สงครามหกวัน ระหว่างอิสราเอลกับอียิปต์ จอร์แดน และซีเรีย

● พ.ศ. ๒๕๑๘ (ค.ศ. ๑๙๗๕)
เจ้าชายฮวน คาร์ลอส“ (Prince Juan Carlos : 1938) ได้รับการประกาศให้ดำรงตำแหน่ง “#ประมุขแห่งสเปน“ และทรงรับบรมราชาภิเษกเป็น “#สมเด็จพระราชาธิบดีฮวนคาร์ลอสที่หนึ่ง“ (Juan Carlos I) ภายหลังการถึงแก่อสัญกรรมของ “นายพลฟรันซิสโก ฟรังโก“ (Francisco Paulino Hermenegildo Teódulo Franco y Bahamonde Salgado Pardo/Francisco Franco หรือ “#ท่านผู้นำ” : El Coudillo/เอลโกว์ดีโย : 1892-1975) นับเป็น #การฟื้นฟูสถาบันพระมหากษัตริย์ในสเปนขึ้นมาใหม่ และทรงสละราชสมบัติเมื่อ พ.ศ. ๒๕๕๗

● พ.ศ. ๒๕๓๑ (ค.ศ. ๑๙๘๘)
#เกิดเหตุโคลนถล่มและซุงจากการลักลอบทำลายป่า หลากเข้าสู่หมู่บ้านที่ตำบลกะทูน อำเภอพิปูน จังหวัดนครศรีธรรมราช มีผู้เสียชีวิตถึง ๗๐๐ คน เหตุการณ์ครั้งนั้นส่งผลให้มี #การยกเลิกสัมปทานป่าไม้ทั่วประเทศ

● พ.ศ. ๒๕๓๓ (ค.ศ. ๑๙๙๐)
นางมาร์กาเรต แทตเชอร์“ (Baroness Margaret Thatcher / ชื่อเดิม “มาร์กาเรต ฮิลดา โรเบิตส์“ : 1925-2013) ประกาศ #ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร ซึ่งดำรงตำแหน่งมาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๒๒

● พ.ศ. ๒๕๓๖ (ค.ศ. ๑๙๙๓)
#สายการบินกาตาร์แอร์เวย์เปิดให้บริการเป็นครั้งแรก (Quatar Airways)

● พ.ศ. ๒๕๓๘ (ค.ศ. ๑๙๙๕)
~ #เกิดเพลิงไหม้ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลชิดลม อาคารบางส่วนถล่มลงมา มีผู้เสียชีวิต ๔ ศพ และต้องปิดซ่อมแซมนานถึง ๒ ปี
~ ภาพยนตร์เรื่อง “#ทอยสตอรี“ (Toy Story) นำออกฉายเป็นครั้งแรกในประเทศสหรัฐอเมริกา นับเป็น #ภาพยนตร์เรื่องแรกที่สร้างด้วยโปรแกรมอะนิเมชันทั้งเรื่อง

● พ.ศ. ๒๕๔๐ (ค.ศ. ๑๙๙๗)
มีการนำเถ้ากระดูกของ “อัศนี พลจันทร“ (๒๔๖๑ – ๒๕๓๐)(“#นายผี“) กลับสู่แผ่นดินไทย

● พ.ศ. ๒๕๔๘ (ค.ศ. ๒๐๐๕)
~ บริษัท #ไมโครซอฟท์ วางจำหน่ายเครื่องเล่นวิดีโอเกม “#เอกซ์บ็อกซ์๓๖๐“ (#Xbox360) ในทวีปอเมริกาเหนือ
~ “นางแองเกลา เมอร์เคล“ (Angela Dorothea Merkel : 1954) หัวหน้าพรรคสหภาพประชาธิปไตยคริสเตียนแห่งเยอรมนี (Christlich Demokratische Union Deutschlands : #CDU / เซเดอู) สาบานตนเข้ารับตำแหน่ง #นายกรัฐมนตรีแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (Bundeskanzler : German Chancellor) นับเป็น #นายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของเยอรมนี.