หมุดแผนที่โลก

#หมุดโลก

◎ ปักหมุดตรึงเป็นสื่อดิจิทัล
ต่างเรียกกันว่า “หมุดโลก“ ทำแผนที่
เพียงสามแห่งในเอเชียช่วยบ่งชี้
คุณค่าทวีควรรักษาระมัดระวัง

◎ อย่าปีนป่ายขูดทำลายคะนองเล่น
อย่าเห็นเป็นที่สนุกเป็นบ้าหลัง
รู้คุณค่าน่านิยมอยู่ยืนยัง
หมุดแผนที่โลก“ อยู่ยั้งยั่งยืนเอย ๚ะ๛

ตึก หน้าพระลาน
๑๑ เมษายน ๒๕๖๑ / ๑๙:๐๖ น.

※※※※※※※※※※

“#หมุดแผนที่โลก“ หรือ “หมุดโลก“…ที่ #จังหวัดอุทัยธานี คือหมุดสามเหลี่ยมชั้นที่ ๑ หมายเลข ๙๑

เป็น ๑ ใน ๓ หมุดโลกที่อยู่ในทวีปเอเชีย
ตั้งอยู่บน #เขาสะแกกรัง ห่างจากวัดสังกัสรัตนคีรี ๕๐๐ เมตร อีกสองแห่งคือใน #ประเทศอินเดีย (๙๐) และ #ประเทศเวียดนาม (๙๒)

ข้อมูลแผนที่ทหารเรียกว่า “หมุดหลักฐานแผนที่หมายเลข ๓๐๐๑“ ชื่อหมุด “#OTRI91“ (โอทีอาร์ไอเก้าหนึ่ง)

พิกัดละติจูดที่ ๑๕ องศา ๒๒ ลิบดา ๕๖.๐๔๘๗ ฟิลิบดา เหนือ / ลองจิจูดที่ ๑๐๐ องศา ๐๐ ลิบดา ๕๙.๑๙๐๖ ฟิลิบดา ตะวันออก / ความสูงยีออยด์ (N) มีค่า -๒๒.๔๖ เมตร

กล่าวคือ ใน พ.ศ. ๒๕๑๘ #องค์การแผนที่ กระทรวงกลาโหม สหรัฐอเมริกา (Defense Mapping Agency Hydrographic/Topographic Center : #DMAHTC) ได้ปรับแก้และย้ายศูนย์กำเนิดของพื้นหลักฐานจากเขากะเลียนเปอร์ ประเทศอินเดีย มาเป็นที่เขาสะแกกรัง จังหวัดอุทัยธานี การปรับแก้ครั้งนั้นใช้เทคนิคการรังวัดจาก “#ดาวเทียมดอปเปลอร์“ (Doppler Satellite) จำนวน ๙ สถานี ซึ่งตำแหน่งสัมพัทธ์ที่ได้จากการรังวัดดาวเทียมมีความถูกต้องสูงกว่าที่ได้จากงาน “#โครงข่ายสามเหลี่ยม“ เป็นจุดควบคุมโครงข่ายสามเหลี่ยม ประกอบด้วย หมุดสามเหลี่ยมจำนวน ๔๒๖ สถานี เรียกผลลัพธ์จากการปรับแก้โครงข่ายสามเหลี่ยม ในครั้งนั้นว่า “#พื้นหลักฐาน“ (#Indian1975)

แม้หมุดโลกจะไม่สวยงาม โดยสกัดรูปวงกลมลงบนแผ่นหินเมื่อวันที่ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๐๘ โดย #กรมแผนที่ทหาร (ผท.) นายทหารผู้รับผิดชอบคือ “พันโทสอาด นิตยพันธ์“ แต่นับว่ามีความสำคัญในการ #รังวัดทำแผนที่ประเทศไทย และยังเป็นจุดชมวิวที่สวยงาม

เครดิตภาพ : Satiya Phantuyee
www.facebook.com/preaw.sz

ใส่ความเห็น