๓๐ มีนาคม

#วันนี้ในอดีต
เหตุการณ์สำคัญในวันที่ ๓๐ มีนาคม

● พ.ศ. ๒๔๐๙ (ค.ศ. ๑๘๖๗)
วิลเลียม เอช. ซูเวิร์ด” (William Henry Seward : 1801 – 1872) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศแห่งสหรัฐอเมริกา #เริ่มการเจรจาซื้อดินแดนอะแลสกาจากประเทศรัสเซีย

● พ.ศ. ๒๔๔๒ (ค.ศ. ๑๘๙๙)
#พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้จัดตั้ง “#โรงเรียนสำหรับฝึกหัดวิชาข้าราชการฝ่ายพลเรือน” อันเป็นจุดกำเนิดของ “#จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” ซึ่งเป็น #มหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศไทย

● พ.ศ. ๒๔๕๔ (ค.ศ. ๑๙๑๒)
ผู้แทนประเทศโมร็อกโกลงนามใน “#สนธิสัญญาเฟซ” (Treaty of Fez : معاهدة فاس‎) มีผลทำให้ #ประเทศโมร็อกโกลายเป็นรัฐในอารักขาของประเทศฝรั่งเศส

● พ.ศ. ๒๔๘๒ (ค.ศ. ๑๙๔๐)
#สงครามโลกครั้งที่สอง : ญี่ปุ่นแต่งตั้ง “วางจิงเว่ย” (汪精衛 : 1883 – 1944) เป็นผู้นำรัฐบาลหุ่นในประเทศจีน (Nanjing Regime)

● พ.ศ. ๒๔๘๗ (ค.ศ. ๑๙๔๕)
สงครามโลกครั้งที่สอง : ทหารโซเวียตเข้ารุกรานประเทศออสเตรีย

● พ.ศ. ๒๔๙๗ (ค.ศ. ๑๙๕๔)
#ประเทศแคนาดาเปิดบริการระบบรถไฟฟ้าใต้ดินแห่งแรก หลังจากใช้เวลาก่อสร้างนาน ๕ ปี

● พ.ศ. ๒๕๒๔ (ค.ศ. ๑๙๘๑)
โรนัลด์ เรแกน” (Ronald Wilson Reagan : 1911 – 2004) #ประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา (คนที่ ๔๐) ถูกยิงที่หน้าอกได้รับบาดเจ็บในความพยายามลอบสังหารที่กรุงวอชิงตัน ดี.ซี.

● พ.ศ. ๒๕๒๙ (ค.ศ. ๑๙๘๖
#กลุ่มติดอาวุธปาเลสไตน์วางระเบิดท่าอากาศยานในกรุงเอเธนส์ ประเทศกรีซ เป็นผลให้มีชาวสหรัฐเสียชีวิต ๔ คน

● พ.ศ. ๒๕๔๓ (ค.ศ. ๒๐๐๐)
เปิดการจราจรบน #สะพานพระราม๓ เป็นวันแรก

● พ.ศ. ๒๕๔๕ (ค.ศ. ๒๐๐๒)
#เกิดเหตุระเบิดในศาสนสถานของศาสนาฮินดูในรัฐชัมมูและกัษมีระ (#แคชเมียร์) ประเทศอินเดีย มีผู้เสียชีวิต ๑๐ คน โดยที่ “กลุ่มแนวร่วมอิสลาม” ออกมาอ้างความรับผิดชอบ.

๒๙ มีนาคม

#วันนี้ในอดีต
เหตุการณ์สำคัญในวันที่ ๒๙ มีนาคม

● พ.ศ. ๒๑๘๐ (ค.ศ. ๑๖๓๘)
ชาวสวีเดนตั้งถิ่นฐานโดยใช้ชื่อว่า “#นิวสวีเดน” (New Sweden) ใกล้กับอ่าวเดลาแวร์ นับเป็น #อาณานิคมแห่งแรกของสวีเดนในทวีปอเมริกา

● พ.ศ. ๒๓๙๑ (ค.ศ. ๑๘๔๙)
#สหราชอาณาจักรผนวกรัฐปัญจาบ ที่อยู่ระหว่างอินเดียกับปากีสถาน เข้าเป็นส่วนหนึ่งของอาณานิคม

● พ.ศ. ๒๕๑๖ (ค.ศ. ๑๙๗๓)
#สงครามเวียดนาม : #พลรบหน่วยสุดท้ายของสหรัฐอเมริกาถอนกำลังออกจากประเทศเวียดนามใต้

● พ.ศ. ๒๕๑๗ (ค.ศ. ๑๙๗๔)
“#ยานมาริเนอร์๑๐” (#Mariner10 Spacecraft) ขององค์การนาซา เป็น #ยานอวกาศลำแรกที่โคจรเข้าใกล้ดาวพุธ.

๒๘ มีนาคม

#วันนี้ในอดีต
เหตุการณ์สำคัญในวันที่ ๒๘ มีนาคม

● พ.ศ. ๑๓๘๗ (ค.ศ. ๘๔๕)
#ชนเผ่าไวกิงบุกล้อมกรุงปารีส เพื่อเรียกค่าไถ่มูลค่ามหาศาล

● พ.ศ. ๒๓๔๔ (ค.ศ. ๑๘๐๒)
ไฮน์ริช วิลเฮล์ม มัททอยส์ โอลเบอรส์” นักดาราศาสตร์ชาวเยอรมัน ค้นพบ “#พัลลัส” (#2Pallas : Παλλάς : #ดาวเคราะห์น้อยดวงที่สอง)

● พ.ศ. ๒๔๗๓ (ค.ศ. ๑๙๓๐)
#สาธารณรัฐตุรกี (Türkiye Cumhuriyeti : Republic of Turkey) เปลี่ยนแปลงชื่อ #กรุงคอนสแตนติโนเปิล (Constantinople) เป็น #กรุงอิสตันบูล (Istanbul)

● พ.ศ. ๒๔๘๑ (ค.ศ. ๑๙๓๙)
จอมพลฟรานซิสโก ฟรังโก” (Francisco Paulino Hermenegildo Teódulo Franco y Bahamonde Salgado Pardo : Francisco Franco : 1892 – 1975) นำกำลังเข้ายึดครองกรุงมาดริดได้เป็นผลสำเร็จ นับเป็นการ #ยุติสงครามกลางเมืองในประเทศสเปน

● พ.ศ. ๒๕๐๗ (ค.ศ. ๑๙๖๔)
เป็นวันจำหน่ายหนังสือพิมพ์ “#แนวหน้าแห่งยุคเดลินิวส์” ฉบับปฐมฤกษ์ ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นหนังสือพิมพ์ “#เดลินิวส์” มาจนถึงปัจจุบัน

● พ.ศ. ๒๕๒๒ (ค.ศ. ๑๙๗๙)
#เกิดความล้มเหลวของระบบทำความเย็นในเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์บนเกาะทรีไมล์ ใกล้กับเมืองแฮร์ริสเบิร์ก รัฐเพนซิลเวเนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา จนเกิดการรั่วไหลของสารกัมมันตรังสี

● พ.ศ. ๒๕๔๘ (ค.ศ. ๒๐๐๕)
เกิดแผ่นดินไหวขนาด ๘.๗ บริเวณนอกชายฝั่งเกาะสุมาตราของประเทศอินโดนีเซีย เป็น #เหตุการณ์แผ่นดินไหวที่มีความรุนแรงมาก เป็นอันดับรองจาก พ.ศ. ๒๕๐๓.

๒๗ มีนาคม

#วันนี้ในอดีต
เหตุการณ์สำคัญในวันที่ ๒๗ มีนาคม

● พ.ศ. ๒๓๓๖ (ค.ศ. ๑๗๙๔)
#วันสถาปนากองทัพเรือสหรัฐอเมริกา

● พ.ศ. ๒๔๐๔ (ค.ศ. ๑๘๖๑)
#อิตาลีประกาศตั้งกรุงโรมเป็นเมืองหลวง

● พ.ศ. ๒๔๕๔ (ค.ศ. ๑๙๑๒)
#พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้รวม #กรมช่าง (จากกรมโยธา) กระทรวงโยธาธิการ และ #กรมพิพิธภัณฑ์ กระทรวงธรรมการ ขึ้นเป็น…#กรมศิลปากร

● พ.ศ. ๒๔๕๖ (ค.ศ. ๑๙๑๔)
#ท่าอากาศยานนานาชาติกรุงเทพ เปิดบริการเป็นวันแรก (#สนามบินดอนเมือง) แทนที่ #สนามบินสระปทุม ซึ่งมีพื้นที่จำกัดคับแคบ เป็น #สนามบินแห่งแรกของประเทศสยาม

● พ.ศ. ๒๔๕๗ (ค.ศ. ๑๙๑๕)
#กระทรวงกลาโหม มีคำสั่งที่ ๒๙๑/๒๖๘๒๖ ลงวันที่ ๒๗ มีนาคม ๒๔๕๗ ให้ยกฐานะ #แผนกการบิน ในสังกัด #กองทัพบก ที่จัดตั้งขึ้นเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๔๕๖ เป็น “#กองบินทหารบก” อันเป็นต้นกำเนิดของ #กองทัพอากาศ ในภายหลัง

● พ.ศ. ๒๔๙๒ (ค.ศ. ๑๙๔๙)
#โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการ

● พ.ศ. ๒๕๐๑ (ค.ศ. ๑๙๕๘)
นายนิกิตา ครุสชอฟ” (Никита Сергеевич Хрущёв : Nikita Sergeyevich Khrushchev : 1894 – 1971) ขึ้นดำรงตำแหน่ง #นายกรัฐมนตรีสหภาพโซเวียต

● พ.ศ. ๒๕๐๗ (ค.ศ. ๑๙๖๔)
#แผ่นดินไหววันศุกร์ประเสริฐในเมืองแองเคอเรจ รัฐอะแลสกา ประเทศสหรัฐอเมริกา และทำให้เกิดคลื่นสึนามิ

● พ.ศ. ๒๕๑๒ (ค.ศ. ๑๙๖๙)
จัดตั้ง #วิทยาลัยวิชาการศึกษาพระนคร ที่อำเภอบางเขน จังหวัดพระนคร บนที่ดินของวัดพระศรีมหาธาตุวรวิหาร บริเวณเดียวกับ #วิทยาลัยครูพระนคร ต่อมาคือ “มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ บางเขน” (มศว บางเขน) ใน พ.ศ. ๒๕๑๗ และยุบรวมกับวิทยาเขตอื่นในพื้นที่กรุงเทพมหานครเมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๖ เป็นอันสิ้นสุดสถาบันการศึกษาแห่งนี้

● พ.ศ. ๒๕๒๐ (ค.ศ. ๑๙๗๗)
#ภัยพิบัติที่ท่าอากาศยานเตเนรีเฟ : เครื่องบินโดยสารโบอิง ๗๔๗ สองลำ ชนกันบนรันเวย์ภายในท่าอากาศยานบนเตเนรีเฟในหมู่เกาะคานารีของประเทศสเปน ทำให้มีผู้เสียชีวิต ๕๘๓ คน เป็นหนึ่งใน #อุบัติเหตุทางอากาศยานที่ร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์การบินของโลก

● พ.ศ. ๒๕๒๓ (ค.ศ. ๑๙๘๐)
#แท่นขุดเจาะน้ำมันในทะเลเหนือพังลง ทำให้มีผู้เสียชีวิต ๑๒๓ คน

● พ.ศ. ๒๕๓๖ (ค.ศ. ๑๙๙๓)
นายเจียง เจ๋อหมิน” (江澤民 : Jiāng Zémín : 1926) ดำรงตำแหน่ง #ประธานาธิบดีสาธารณรัฐประชาชนจีน…ลำดับที่ ๕

● พ.ศ. ๒๕๔๒ (ค.ศ. ๑๙๙๙)
เครื่องบินเอฟ ๑๑๗ รุ่น เอ (นามเรียกขานทางวิทยุVega31”) หมายเลขเครื่องบิน ๘๒-๐๘๐๖ ถูกยิงตก ๑ ลำ โดยกองทัพยูโกสลาเวีย ใน #สงครามโคโซโว และเสียหายอีก ๑ ลำ แต่ยังคงบินกลับฐานได้ เหตุครั้งนี้สันนิษฐานว่ากองทัพยูโกสลาเวียได้ทำเรดาร์ขึ้นใหม่ที่มีความยาวคลื่นมากขึ้น จึงสามารถติดตามเครื่องบินเอฟ ๑๑๗ ที่เป็น #เครื่องบินสะท้อนคลื่นเรดาร์ต่ำ โดยนักบินสามารถดีดตัวออกมาจากเครื่องบินลำที่ถูกยิง และมีหน่วยกู้ภัยมารับตัวกลับได้ แต่ซากเครื่องบินถูกฝ่ายตรงข้ามยึดไป คาดว่าเทคโนโลยีอาจถูกลอกเลียนแบบไปได้บ้าง

● พ.ศ. ๒๕๔๕ (ค.ศ. ๒๐๐๒)
#เหตุการณ์ระเบิดพลีชีพที่นาทันยา ประเทศอิสราเอล ทำให้มีผู้เสียชีวิต ๓๐ คน.

๒๖ มีนาคม

#วันนี้ในอดีต
เหตุการณ์สำคัญในวันที่ ๒๖ มีนาคม

● พ.ศ. ๒๒๔๙ (ค.ศ. ๑๗๐๗)
ราชอาณาจักรอังกฤษและราชอาณาจักรสกอตแลนด์ ผนวกกันเป็น #ราชอาณาจักรบริเตนใหญ่ (Kingdom of Great Britain)

● พ.ศ. ๒๔๑๓ (ค.ศ. ๑๘๗๑)
ฝรั่งเศสก่อตั้ง “#หน่วยการปกครองท้องถิ่นปารีส” (le conseil de Paris)

● พ.ศ. ๒๔๓๙ (ค.ศ. ๑๘๙๗)
#พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ #เปิดการเดินรถไฟเป็นปฐมฤกษ์ จากกรุงเทพฯ ไปยังเมืองนครราชสีมา ภายหลัง #การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) กำหนดให้เป็น #วันกำเนิดกิจการรถไฟไทย

● พ.ศ. ๒๔๕๙ (ค.ศ. ๑๙๑๗)
#พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ประดิษฐาน “#โรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว” ขึ้นเป็น “#จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” นับเป็น #สถาบันอุดมศึกษาแห่งแรกของประเทศไทย

● พ.ศ. ๒๕๑๐ (ค.ศ. ๑๙๖๗)
จิม ทอมป์สัน” (Jim Thompson / James Harrison Wilson Thompson : 1906 – 1967?) นักธุรกิจชาวสหรัฐอเมริกา ผู้ได้ฉายาว่า “#ราชาไหมไทย” หายตัวไปอย่างลึกลับในเขตป่าประเทศมาเลเซีย

● พ.ศ. ๒๕๑๓ (ค.ศ. ๑๙๗๐)
สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง ๓” (#ช่อง๓) เริ่มออกอากาศเป็นครั้งแรก

● พ.ศ. ๒๕๒๐ (ค.ศ. ๑๙๗๗)
#กบฏ๒๖มีนาคม : กลุ่มทหารส่วนหนึ่งนำโดย “พลเอกฉลาด หิรัญศิริ” ก่อการล้มล้างรัฐบาล “นายธานินทร์ กรัยวิเชียร” แต่ไม่สำเร็จ และมีการสังหาร “พลเอกอรุณ ทวาทศิน” ขณะนั้นดำรงยศเป็นพลตรี ในตำแหน่งผู้บัญชาการกองพลที่ ๑ รักษาพระองค์ (พล ๑ รอ.) ภายหลังนายกรัฐมนตรีใช้อำนาจตามมาตรา ๒๑ แห่งธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช ๒๕๑๙ สั่งประหารชีวิต “นายฉลาด หิรัญศิริ” ซึ่งถูกถอดยศแล้ว

● พ.ศ. ๒๕๒๒ (ค.ศ. ๑๙๗๙)
ผู้นำประเทศอิสราเอล ประเทศอียิปต์ และประเทศสหรัฐอเมริกา ร่วมลงนามใน “#สนธิสัญญาสันติภาพอิสราเอลกับอียิปต์” ณ ทำเนียบขาว กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นการยุติสงครามที่ยาวนาน ๓๐ ปี

● พ.ศ. ๒๕๔๒ (ค.ศ. ๑๙๙๙)
“#หนอนเมลิสซา” (#Melissa) โจมตีระบบอีเมลทั่วโลก.

๒๕ มีนาคม

#วันนี้ในอดีต
เหตุการณ์สำคัญในวันที่ ๒๕ มีนาคม

● พ.ศ. ๒๑๙๗ (ค.ศ. ๑๖๕๕)
คริสตียาน เฮยเคินส์” (Christiaan Huygens : 1629 – 1695) นักคณิตศาสตร์ นักดาราศาสตร์ นักฟิสิกส์ และนักประดิษฐ์นาฬิกาชาวดัตช์ ค้นพบ “#ไททัน” (#Titan) ซึ่งเป็น #ดวงจันทร์บริวารขนาดใหญ่ที่สุดของดาวเสาร์

● พ.ศ. ๒๔๓๔ (ค.ศ. ๑๘๙๒)
#พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ มีพระบรมราชโองการให้ตั้ง #กระทรวงยุติธรรม (แรกตั้งสะกดว่า “#ยุตติธรรมเปลี่ยนเป็น “#ยุติธรรมเมื่อวันที่ ๑๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๙๕)

● พ.ศ. ๒๕๐๐ (ค.ศ. ๑๙๕๗)
เยอรมนีตะวันตก เนเธอร์แลนด์ ลักเซมเบิร์ก อิตาลี ฝรั่งเศส และเบลเยียม ลงนามใน “#สนธิสัญญาแห่งโรม” (Treaties of Rome) เพื่อก่อตั้ง “#ประชาคมเศรษฐกิจยุโรป” (European Economic Community : #EEC)

● พ.ศ. ๒๕๑๑ (ค.ศ. ๑๙๖๘)
วันก่อตั้ง #ขบวนการประชาชนมาเลเซีย (Gerakan Ra’ayat Malaysia)

● พ.ศ. ๒๕๓๘ (ค.ศ. ๑๙๙๕)
วอร์ด คันนิงแฮม” (Howard G. “Ward” Cunningham : 1949) สร้าง “#วิกิ” (#WIKI) แห่งแรก.

๒๔ มีนาคม

#วันนี้ในอดีต
เหตุการณ์สำคัญในวันที่ ๒๔ มีนาคม

● พ.ศ. ๒๑๔๕ (ค.ศ. ๑๖๐๓)
“#พระเจ้าเจมส์ที่หกแห่งสกอตแลนด์” (King James VI of Scotland) ขึ้นทรงราชย์เป็นพระมหากษัตริย์อังกฤษ พระนามว่า “#พระเจ้าเจมส์ที่หนึ่งแห่งอังกฤษ” (King James I of England : 1566 – 1625)

● พ.ศ. ๒๓๙๗ (ค.ศ. ๑๘๕๕)
ในรัชสมัย #พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ “เซอร์จอห์น เบาว์ริง” (Sir John Bowring : 1792 – 1872) เป็นผู้แทนราชสำนักอังกฤษ และคณะ เดินทางด้วยเรือรบจากฮ่องกงถึงปากน้ำอ่าวไทย เพื่อเจรจาทางเศรษฐกิจกับสยาม อันเป็นต้นกำเนิด “#สนธิสัญญาเบาว์ริง” (Bowring Treaty) มีผลให้สยามต้องเสียอำนาจอธิปไตยทางการศาล โดยที่คนในบังคับอังกฤษมีสิทธิสภาพนอกอาณาเขตในสยาม นอกจากนี้ยังเป็นการเปิดการค้าเสรีกับต่างประเทศ นับเป็นการ #สิ้นสุดของการผูกขาดการค้ากับต่างประเทศโดยกรมพระคลังสินค้าของสยาม สนธิสัญญานี้มีผลใช้บังคับอยู่นานกว่า ๗๐ ปี ในปลายรัชกาลพระราชทานบรรดาศักดิ์ให้เป็นที่ “พระยาสยามานุกูลกิจ สยามมิตรมหายศ” และทรงแต่งตั้งให้เป็นอัครราชทูตสยามประจำอังกฤษและยุโรปด้วย

● พ.ศ. ๒๔๒๔ (ค.ศ. ๑๘๘๒)
เฮนริช แฮร์มานน์ โรเบิร์ต คอค” หรือ “โรเบิร์ต คอค” (Heinrich Hermann Robert Koch : 1843 – 1910) แพทย์ชาวเยอรมัน ประกาศการ #ค้นพบเชื้อโรคที่เป็นสาเหตุของวัณโรค (Mycobacterium tuberculosis) และได้พัฒนาการสกัดสารชื่อ “#ทูเบอร์คูลิน” (#Tuberculin) ซึ่งช่วยในการตรวจสอบเชื้อวัณโรคได้

● พ.ศ. ๒๔๗๗ (ค.ศ. ๑๙๓๔)
รัฐบัญญัติไทดิงส์-แม็กดัฟฟี” มีผลบังคับใช้ ซึ่งเป็นกฎหมายกำหนดการปกครองตนเองและประกาศเอกราชจากสหรัฐอเมริกาของฟิลิปปินส์ เป็นระยะเวลาสิบปี

● พ.ศ. ๒๔๙๓ (ค.ศ. ๑๙๕๐)
#สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช (เมื่อยังมิได้บรมราชาภิเษก) #เสด็จนิวัตพระนคร โดยประทับ “#เรือหลวงศรีอยุธยา“ ที่กองทัพเรือจัดถวายเป็นเรือพระราชพาหนะ เสด็จพระราชดำเนินจากประเทศสวิตเซอร์แลนด์นิวัตประเทศไทย พร้อมด้วย “หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร” พระคู่หมั้น

● พ.ศ. ๒๕๑๙ (ค.ศ. ๑๙๗๖)
#กำลังทหารอาร์เจนตินาก่อรัฐประหารขับไล่ประธานาธิบดีอิสซาเบล เปรอง” (Isabel Martínez de Perón : 1931) ออกจากตำแหน่ง ซึ่งเป็น #ประธานาธิบดีอาร์เจนตินา (คนที่ ๔๒) และเป็น #ประธานาธิบดีสตรีคนแรกของโลก

● พ.ศ. ๒๕๓๒ (ค.ศ. ๑๙๘๙)
เรือบรรทุกน้ำมัน “เอกซ์ซอน วัลเดซ” (Exxon Valdez) ปล่อยน้ำมันมากกว่า ๑๑ ล้านแกลลอน ลงสู่อ่าวพรินซ์วิลเลียม รัฐอะแลสกา ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นเหตุให้เกิดภัยพิบัติต่อสิ่งแวดล้อม

● พ.ศ. ๒๕๔๔ (ค.ศ. ๒๐๐๑)
เริ่มวางจำหน่าย #Mac OS X v10.0 “#Cheetah

● พ.ศ. ๒๕๕๑ (ค.ศ. ๒๐๐๘)
#พรรคสหภูฏาน (Druk Phuensum Tshogpa : DPP : Bhutan United Party) ได้รับเลือกตั้งจำนวน ๔๕ จาก ๔๗ ที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎรภูฏาน ซึ่งเป็น #การเลือกตั้งทั่วไปครั้งแรกของประเทศภูฏานจิกมี ทินเลย์” (Lyonpo Jigmi Yoeser Thinley : 1952) หัวหน้าพรรคสหภูฏาน จึงได้ดำรงตำแหน่ง #นายกรัฐมนตรีภูฏาน เป็นคนแรก

● พ.ศ. ๒๕๕๘ (ค.ศ. ๒๐๑๕)
นักบินร่วมของสายการบิน “#เยอรมันวิงส์” (German Wings) เที่ยวบินที่ ๙๕๒๕ #เจตนาชนอากาศยานในการฆ่าคนหมู่และฆ่าตัวตาย ในเทือกเขาแอลป์ฝรั่งเศส ผู้โดยสารและลูกเรือทั้ง ๑๕๐ คน เสียชีวิตทั้งหมด.

๒๓ มีนาคม

#วันนี้ในอดีต
เหตุการณ์สำคัญในวันที่ ๒๓ มีนาคม

● พ.ศ. ๒๓๑๗ (ค.ศ. ๑๗๗๕)
#การปฏิวัติอเมริกา : “แพทริก เฮนรี” (Patrick Henry : 1736 – 1799) รัฐบุรุษแห่งสหรัฐอเมริกา กล่าวถ้อยคำว่า “ให้เสรีภาพแก่ข้าพเจ้า หรือมิฉะนั้นก็ให้ความตายแก่ข้าพเจ้า” (Give me liberty or give me death) ในการเรียกร้องอิสรภาพจากจักรวรรดิอังกฤษ

● พ.ศ. ๒๓๔๓ (ค.ศ. ๑๘๐๑)
“#สมเด็จพระจักรพรรดิอเล็กซานเดอร์ที่หนึ่ง” หรือ “#พระเจ้าซาร์อเล็กซานเดอร์ที่หนึ่ง” (อะเลคซันดร์ ปาวโลวิช : Александр Павлович : 1777 – 1825) ขึ้นทรงราชย์ ภายหลังจากพระราชบิดา คือ “#สมเด็จพระจักรรรดิพอลที่หนึ่ง” ถูกลอบปลงพระชนม์ในห้องบรรทมที่พระราชวังเซนต์ไมเคิล

● พ.ศ. ๒๓๖๙ (ค.ศ. ๑๘๒๗)
#วันแห่งชัยชนะของท้าวสุรนารี : “#คุณหญิงโม” ภริยาปลัดเมืองนครราชสีมา นำกำลังราษฎรออกสู้รบได้รับชัยชนะจากข้าศึก ในคราวที่ “#เจ้าอนุวงศ์แห่งเวียงจันทน์” ยกทัพมายึดครองเมืองนครราชสีมา ภายหลังได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น “#ท้าวสุรนารี

● พ.ศ. ๒๔๔๙ (ค.ศ. ๑๙๐๔)
#ฝรั่งเศสทำสัญญากับไทยเพื่อคืนจังหวัดตราดและดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง โดยแลกเปลี่ยนกับพระตะบอง เสียมราฐ และศรีโสภณ

● พ.ศ. ๒๔๖๑ (ค.ศ. ๑๙๑๙)
เบนิโต มุสโสลินี” (Benito Amilcare Andrea Mussolini : 1883 – 1945) ก่อตั้ง “#ลัทธิฟาสซิสต์” (#Fascism) ที่เมืองมิลาน ประเทศอิตาลี

● พ.ศ. ๒๔๙๙ (ค.ศ. ๑๙๕๖)
#ปากีสถานปกครองแบบสาธารณรัฐอิสลามแห่งแรกของโลก ภายใต้เครือจักรภพอังกฤษ

● พ.ศ. ๒๕๒๖ (ค.ศ. ๑๙๘๓)
นายโรนัลด์ เรแกน” (Ronald Wilson Reagan : 1911 – 2004) #ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา เสนอแผนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อสกัดขีปนาวุธของศัตรู ชื่อว่า “#ระบบป้องกันขีปนาวุธทางยุทธศาสตร์” (Strategic Defense Initiative) หรือ “#สตาร์วอร์ส

● พ.ศ. ๒๕๓๙ (ค.ศ. ๑๙๙๖)
นายหลี่ เติงฮุย” (李登輝 : Lǐ Dēnghuī : 1923) ได้รับเลือกตั้งเป็น #ประธานาธิบดีไต้หวัน ใน #การเลือกตั้งโดยตรงครั้งแรกของประเทศไต้หวัน

● พ.ศ. ๒๕๔๔ (ค.ศ. ๒๐๐๑)
#รัสเซียทำลายสถานีอวกาศเมียร์ (Мир : MIR) ในชั้นบรรยากาศ ชิ้นส่วนที่เหลือของสถานีอวกาศตกลงในทะเลทางตอนใต้ของมหาสมุทรแปซิฟิก ใกล้เกาะฟิจิ

● พ.ศ. ๒๕๕๔ (ค.ศ. ๒๐๑๑)
#จังหวัดบึงกาฬ มีสถานภาพทางกฎหมายอย่างเป็นทางการ เมื่อ “#พระราชบัญญัติตั้งจังหวัดบึงกาฬ พ.ศ. ๒๕๕๔” มีผลบังคับใช้ตามกฎหมาย นับเป็น #จังหวัดที่๗๗ของไทย โดยแยกออกมาจากจังหวัดหนองคาย.

๒๒ มีนาคม

#วันนี้ในอดีต
เหตุการณ์สำคัญในวันที่ ๒๒ มีนาคม

● พ.ศ. ๒๒๗๗ (ค.ศ. ๑๗๓๕)
#สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงพระราชสมภพ (สวรรคต ๖ เมษายน พ.ศ. ๒๓๒๕)

● พ.ศ. ๒๓๒๗ (ค.ศ. ๑๗๘๕)
#พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงประกอบพิธีอัญเชิญ #พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร (#พระแก้วมรกต) ไปประดิษฐาน ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง

● พ.ศ. ๒๔๓๑ (ค.ศ. ๑๘๘๙)
ก่อตั้ง #สโมสรฟุตบอลเชฟฟิลด์ยูไนเต็ด (Sheffield United F.C.) ในประเทศอังกฤษ

● พ.ศ. ๒๔๘๘ (ค.ศ. ๑๙๔๕)
ก่อตั้ง “#สันนิบาตอาหรับ” (جامعة الدول العربية : The League of Arab States) ในการประชุมที่กรุงไคโร ประเทศอียิปต์

● พ.ศ. ๒๕๑๐ (ค.ศ. ๑๙๖๗)
ศาลฎีกามีคำพิพากษาในคดีระหว่างพนักงานอัยการ กับ “พิมล กาฬสีห์” และ “นภาพันธ์ กาฬสีห์” ที่รู้จักกันว่า “#คดีตุ๊กตา” ซึ่ง “พิมล กาฬสีห์” นักเขียนการ์ตูน นามปากกว่า “#ตุ๊กตา” เป็นจำเลยที่ ๑ และภริยาเป็นจำเลยที่ ๒ โดยวินิจฉัยว่า #หญิงก็เป็นตัวการร่วมกระทำความผิดฐานข่มขืนหญิงได้

● พ.ศ. ๒๕๓๕ (ค.ศ. ๑๙๙๒)
#เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ : ประเทศไทยจัดการเลือกตั้งทั่วไป ผลปรากฏว่าพรรคการเมือง ๕ พรรค ซึ่งมี “#พรรคสามัคคีธรรม” ของ “นายณรงค์ วงศ์วรรณ” (๒๔๖๘) เป็นแกนนำ ได้คะแนนเสียงเพียงพอที่จะจัดตั้งรัฐบาล แต่ นายณรงค์ วงศ์วรรณ มีข้อกล่าวหาพัวพันค้ายาเสพติด จนสหรัฐอเมริกางดออกวีซ่าให้ “พลเอกสุจินดา คราประยูร” (๒๔๗๖) จึงได้ดำรงตำแหน่งเป็น #นายกรัฐมนตรีไทยคนที่๑๙ แทนในเวลาต่อมา

● พ.ศ. ๒๕๓๖ (ค.ศ. ๑๙๙๓)
#อินเทลเริ่มจำหน่ายเพนเทียม (80586) ซึ่งเป็นไมโครโพรเซสเซอร์รุ่นแรกในตระกูลนี้

● พ.ศ. ๒๕๕๔ (ค.ศ. ๒๐๑๑)
พระราชบัญญัติตั้งจังหวัดบึงกาฬ พ.ศ. ๒๕๕๔ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา มีผลให้ “#จังหวัดบึงกาฬ” ได้รับการจัดตั้งขึ้นในวันต่อมา (๒๓ มีนาคม ๒๕๕๔)

● พ.ศ. ๒๕๕๕ (ค.ศ. ๒๐๑๒)
“#แอ็งกรีเบิดส์สเปซ” (Angry Birds Space) ประกาศเปิดตัวอย่างเป็นทางการ.

๒๑ มีนาคม

#วันนี้ในอดีต
เหตุการณ์สำคัญในวันที่ ๒๑ มีนาคม

● พ.ศ. ๒๓๔๖ (ค.ศ. ๑๘๐๔)
ฝรั่งเศสกำหนดให้ใช้ “#ประมวลกฎหมายนโปเลียน” (Code Napoléon หรือเดิมเรียก Code civil des Français) เป็นกฎหมายแพ่งของประเทศ

● พ.ศ. ๒๔๗๗ (ค.ศ. ๑๙๓๕)
“#เปอร์เซีย” (#Persia) ประกาศใช้ชื่อเรียกประเทศอย่างเป็นทางการว่า “#อิหร่าน“ (#Iran : ایران‎ /อ่านว่า อีรอน)

● พ.ศ. ๒๕๐๖ (ค.ศ. ๑๙๖๓)
#สหรัฐอเมริกาปิดใช้งานทัณฑสถานบนเกาะอัลคาทราซ (Alcatraz Island หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าThe Rock”) ที่ตั้งอยู่ในอ่าวซานฟรานซิสโก รัฐแคลิฟอร์เนีย

● พ.ศ. ๒๕๓๓ (ค.ศ. ๑๙๙๐)
#นามิเบียได้รับเอกราชจากแอฟริกาใต้ (🇳🇦 #สาธารณรัฐนามิเบีย : Republic of Namibia)

● พ.ศ. ๒๕๔๙ (ค.ศ. ๒๐๐๖)
เปิดใช้งาน “#ทวิตเตอร์” (#twitter™) เป็นครั้งแรก เป็นบริการเครือข่ายสังคมออนไลน์จำพวก “#ไมโครบล็อก” (#microblog) โดยผู้ใช้สามารถส่งข้อความยาวไม่เกิน ๒๘๐ ตัวอักษร เรียกการส่งข้อความนี้ว่า “#ทวีต” (tweet : ซึ่งแปลว่า เสียงนกร้อง)

● พ.ศ. ๒๕๕๗ (ค.ศ. ๒๐๑๔)
#การเลือกตั้งทั่วไป๒๕๕๗ : ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า พระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎรที่กำหนดให้จัดเลือกตั้งเมื่อวันที่ ๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๗ ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ เพราะไม่สามารถจัดเลือกตั้งให้แล้วเสร็จทั่วประเทศได้ภายในวันเดียวตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๐๘ วรรคสอง และเมื่อพระราชกฤษฎีกาในส่วนที่เกี่ยวกับการเลือกตั้งไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ การเลือกตั้งจึงไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญไปด้วย.