ภาพเขียนที่แพงที่สุดในโลก

ภาพเขียนชื่อ…
“#ภาพเหมือนของนายแพทย์กาแชต์
ภาษาดัตช์ : Portret van Dr. Gachet
ภาษาอังกฤษ : Portrait of Dr. Gachet

ผลงานของ “ฟินเซนต์ ฟัน โคค
(Vincent Willem van Gogh : 1853-1890)
ที่คนไทยคุ้นเคยในชื่อ “วินเซนต์ แวนโก๊ะ

ซึ่งเป็น #ภาพเขียนสุดท้ายของแวนโก๊ะ
วาดสำเร็จในเดือนสุดท้ายของชีวิต “แวนโก๊ะ

แวนโก๊ะ“ เขียนภาพนี้
ที่เมืองโอแวร์ซูว์รวซ ใกล้กรุงปารีส
เป็นภาพของ “นายแพทย์ปอล กาแชต์
กับ “ต้นถุงมือจิ้งจอก“ บนโต๊ะ
กาแชต์“ เป็นแพทย์และจิตรกรสมัครเล่น
ที่เข้ามาดูแลและกลายเป็นเพื่อนที่ดี
ของ “แวนโก๊ะ“ ในช่วงเดือนสุดท้ายของชีวิต

“#ต้นถุงมือจิ้งจอก“ (Digitalis, Foxgloves)
เป็นสกุลของไม้รวม ๒๐ ชนิด
ของสมุนไพรที่เป็นพืชสองปี (Perennial plant)
เดิมจัดอยู่ในวงศ์มณเฑียรทอง (Scrophulariaceae)
แต่ภายหลังจัดอยู่ในตระกูลที่ใหญ่กว่า
ในวงศ์เทียนเกล็ดหอย (Plantaginaceae)
เป็นพืชที่สกัดมาใช้รักษาโรคหัวใจบางประเภท
แวนโก๊ะ“ จึงนำมาเป็นเครื่องหมาย
แสดงว่ากาแชต์เป็นนายแพทย์

ภาพนี้ขายออกเป็นครั้งแรก
เมื่อ ค.ศ. ๑๘๙๗ ด้วยราคาเพียง ๓๐๐ ฟรังก์
โดยน้องสะใภ้ของ “แวนโก๊ะ
และมีการขายตกทอดอีกหลายครั้ง

จนถึงครั้งที่ ๔ ใน ค.ศ. ๑๙๑๑
จึงขายตกทอดถึง #หอศิลป์แห่งรัฐแฟรงก์เฟิร์ต
และจัดแสดงอยู่จนถึง ค.ศ. ๑๙๓๓
จึงถูกนำไปซ่อน

ค.ศ. ๑๙๓๗ ภาพเขียนถูกยึด
โดย กระทรวงการส่งเสริมการประเทืองปัญญาของสาธารณชนและการโฆษณาชวนเชื่อ (Ministry of Public Enlightenment and Propaganda)
ของรัฐบาลนาซีเยอรมนี
ทำให้ “แฮร์มันน์ เกอริง
นักการเมืองคนสำคัญในพรรคนาซี
ได้ขายภาพให้แก่นักสะสมงานศิลปะคนหนึ่ง
ในกรุงอัมสเตอร์ดัม
แล้วขายต่อให้กับนักสะสม
ชื่อ “ซีกฟรีด ครามาร์สกี
ซึ่งได้นำภาพเขียนนี้ติดตัวไปด้วย
เมื่อลี้ภัยไปยังนครนิวยอร์ก
โดยมักให้ “พิพิธภัณฑ์ศิลปะเมโทรโพลิทัน
ยืมไปจัดแสดงอยู่บ่อยครั้ง

และครั้งล่าสุด
ขายไปด้วยมูลค่า ๘๒.๕ ล้านดอลลาร์สหรัฐ
โดยเป็นราคาภาพเขียน ๗๕ ล้านดอลลาร์สหรัฐ
กับค่านายหน้าอีก ๑๐ เปอร์เซ็นต์
เมื่อวันที่ ๑๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๓๓ (ค.ศ. ๑๙๙๐)
โดย “ตระกูลครามาร์สกี
ประมูลขายภาพเขียนนี้ที่ห้องประมูลภาพ
คริสตีส์“ (Christie’s Auction) ในนครนิวยอร์ก
ผู้ประมูลได้คือ “ไซโต เรียวเอ
(齊藤 了英 : Saitō Ryōei : 1916-1996)
ประธานกิตติมศักดิ์
บริษัทผลิตกระดาษ “#ไดโชวะ“ ประเทศญี่ปุ่น
(Daishowa Paper Manufacturing)

นับเป็น #ภาพเขียนที่แพงที่สุดในโลก

ภายหลัง “ไซโต เรียวเอ“ ถึงแก่กรรม
ไม่มีการยืนยันว่าภาพเขียนนี้
ตกทอดแก่ผู้ใด

ภาพเหมือนของนายแพทย์กาแชต์
เขียนขึ้นเป็นสองภาพ
ภาพแรกคือภาพที่มีการขายตกทอดกัน
และสันนิษฐานว่าสูญหายแล้ว

ส่วนภาพที่สอง…
ปัจจุบันเก็บรักษาและเป็นสมบัติ
ของ “#พิพิธภัณฑ์ออร์แซ
(Musée d’Orsay : 1986)
ในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส

#VanGogh #แวนโก๊ะ

๑๕ พฤษภาคม

#วันนี้ในอดีต

เหตุการณ์สำคัญในวันที่ ๑๕ พฤษภาคม

● พ.ศ. ๒๑๖๑ (ค.ศ. ๑๖๑๘)
โยฮันเนส เคปเลอร์“ (Johannes Kepler : 1571-1630) นักดาราศาสตร์ นักโหราศาสตร์และนักคณิตศาสตร์ชาวเยอรมัน ได้ยืนยันความถูกต้องของ “#กฎข้อที่สามของการเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์“ (Kepler’s laws of planetary motion) ซึ่ง “เคปเลอร์“ ได้เคยค้นพบกฎข้อนี้ครั้งแรกก่อนหน้าแล้วเมื่อวันที่ ๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๑๖๑ แต่ได้ละความคิดนี้ไปเมื่อได้ทดลองคำนวณความถูกต้องเบื้องต้น “เคปเลอร์“ ได้รับการยกย่องเป็น “#นักฟิสิกส์ดาราศาสตร์ทฤษฎีคนแรก“ แต่ “คาร์ล ซาแกน“ กลับยกย่องในฐานะเป็น “#นักโหราศาสตร์ทางวิทยาศาสตร์คนสุดท้าย

● พ.ศ. ๒๒๙๙ (ค.ศ. ๑๗๕๖)
#สงครามเจ็ดปี : ราชอาณาจักรบริเตนใหญ่ประกาศสงครามกับราชอาณาจักรฝรั่งเศส

● พ.ศ. ๒๓๗๙ (ค.ศ. ๑๘๓๖)
ฟรานซิส เบลี“ (Francis Baily : 1774-1844 ) นักดาราศาสตร์ชาวอังกฤษ สังเกต “#ปรากฏการณ์ลูกปัดของเบลี“ (Baily’s beads) ขณะเกิดสุริยุปราคาวงแหวน

● พ.ศ. ๒๓๙๔ (ค.ศ. ๑๘๕๑)
#พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ซึ่งในปีนั้นตรงกับ “วันวิสาขบูชา“ ด้วย

● พ.ศ. ๒๔๖๑ (ค.ศ. ๑๙๑๘)
#สงครามกลางเมืองในฟินแลนด์ยุติ

● พ.ศ. ๒๔๗๑ (ค.ศ. ๑๙๒๘)
“#มิกกี้เมาส์“ (Mickey Mouse) และ “#มินนี่เมาส์“ (Minnie Mouse) ปรากฏตัวครั้งแรกในภาพยนตร์การ์ตูนเรื่อง “#เพลนเครซี“ (Plane Crazy)

● พ.ศ. ๒๔๗๕ (ค.ศ. ๑๙๓๒)
ทหาร ๙ นาย บุกเข้าสังหาร “ซุโยชิ อินูคาอิ“ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น

● พ.ศ. ๒๔๘๓ (ค.ศ. ๑๙๔๐)
#สงครามโลกครั้งที่สอง : กองทัพเยอรมนีเข้ายึดครองเมืองอัมสเตอร์ดัม และบุกเข้าโจมตีภาคเหนือของประเทศฝรั่งเศส

● พ.ศ. ๒๔๙๑ (ค.ศ. ๑๙๔๘)
#ชาติอาหรับโจมตีอิสราเอล ประกอบด้วย อียิปต,์ ทรานสจอร์แดน, เลบานอน, ซีเรีย, อิรัก และซาอุดีอาระเบีย

● พ.ศ. ๒๕๐๑ (ค.ศ. ๑๙๕๘)
สหภาพโซเวียตส่ง “#ยานสปุตนิก๓“ (#Sputnik3 : Спутник-3 = Satellite 3) ขึ้นสู่อวกาศ

● พ.ศ. ๒๕๐๓ (ค.ศ. ๑๙๖๐)
สหภาพโซเวียตส่ง“#ยานสปุตนิก๔“ (#Sputnik4 : Спутник-4 = Satellite 4) ขึ้นสู่อวกาศ

● พ.ศ. ๒๕๓๑ (ค.ศ. ๑๙๘๘)
การแข่งขัน “Fia Formula 1 World Championship“ (#F1) ที่สนามเซอร์กิต เดอ โมนาโค

● พ.ศ. ๒๕๓๓ (ค.ศ. ๑๙๙๐)
“#ภาพเหมือนของนายแพทย์กาแชต์“ (Portret van Dr. Gachet : Portrait of Dr. Gachet) โดย “ฟินเซนต์ ฟัน โคค“ (Vincent Willem van Gogh : 1853-1890 / คนไทยคุ้นเคยในชื่อวินเซนต์ แวนโก๊ะ“) ถูกจำหน่ายด้วยมูลค่า ๘๒.๕ ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราคาภาพเขียน ๗๕ ล้านดอลลาร์สหรัฐ กับค่านายหน้าอีก ๑๐ เปอร์เซ็นต์) ซึ่งเป็น #ภาพเขียนสุดท้ายของแวนโก๊ะ และเป็น #ภาพเขียนที่แพงที่สุดในโลก

● พ.ศ. ๒๕๔๑ (ค.ศ. ๑๙๙๘)
#องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) เริ่มนำรถปรับอากาศ “#ยูโรทู“ (Euro II) จำนวน ๗๙๗ คัน ให้บริการประชาชนเป็นวันแรก

● พ.ศ. ๒๕๔๗ (ค.ศ. ๒๐๐๔)
“#จำนวนเฉพาะ“ (prime number) ที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เราทราบ (The largest known prime number) คือ “2^24036583 -1“ (หรือจำนวน ๗,๒๓๕,๗๓๓ อักขระ) ถูกค้นพบโดย “จอช ฟินด์ลีย์“ (Josh Findley) โดยได้ความร่วมมือจาก #GIMPS (The Great Internet Mersenne Prime Search) * ล่าสุดเมื่อ ๒๕ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๑ พบว่า #จำนวนเฉพาะใหญ่ที่สุด เท่าที่เราทราบคือ “2^57885161 -1“ ค้นพบโดย “เคอร์ติส คูเปอร์“ (Curtis Cooper) มีจำนวนถึง ๑๗,๔๒๕,๑๗๐ อักขระ

● พ.ศ. ๒๕๕๒ (ค.ศ. ๒๐๐๙)
วันเปิดเดินรถ “#รถไฟฟ้าบีทีเอส“ (#BTS) ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาจากสถานีสะพานตากสินถึงสถานีวงเวียนใหญ่ นับเป็น #ครั้งแรกที่รถไฟฟ้าวิ่งข้ามจากฝั่งพระนครไปฝั่งธนบุรี.